ศปช.เตือน 13-24 ต.ค.เตรียมรับมือน้ำทะเลหนุน

'ศปช.'เตรียมรับมือน้ำทะเลหนุน สั่งบริหารการระบายน้ำเขื่อนเจ้าพระยา ให้สมดุลบรรเทาความเดือดร้อน0ประชาชน ด้าน 'ศปช.ส่วนหน้า' เดินหน้าฟื้นฟู เชียงราย-เชียงใหม่ ตามแผน

10 ต.ค.2567 - นายจิรายุ ห่วงทรัพย์ โฆษกศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย วาตภัย และดินโคลนถล่ม (ศปช.) และ ศปช. ส่วนหน้า เปิดเผยว่า ตามที่ได้ประกาศแจ้งเตือนให้พื้นที่ลุ่มต่ำริมแม่น้ำเจ้าพระยา ให้เฝ้าระวังน้ำทะเลหนุนสูงในช่วงวันที่ 13-24 ต.ค.67 ประกอบกับปัจจุบันพื้นที่ลุ่มต่ำ และพื้นที่นอกคันกั้นน้ำเริ่มได้รับผลกระทบจากการระบายน้ำเขื่อนเจ้าพระยาที่ระดับ 2,200 ลบ.ม./วินาที ทำให้เกิดความกังวลว่าในช่วงน้ำทะเลหนุน จะเป็นการซ้ำเติมสถานการณ์พื้นที่ลุ่มต่ำริมแม่น้ำเจ้าพระยานั้น ในที่ประชุม ศปช.ได้เน้นย้ำให้ กรมชลประทาน ร่วมกับ สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) วางแผนบริหารจัดการน้ำทั้งระบบ ทำให้ระดับน้ำเหนือเขื่อนเจ้าพระยาเริ่มชะลอตัวลง นำไปสู่การปรับลดการระบายน้ำของเขื่อนเจ้าพระยา และในวันเดียวกันนี้ 15.00 น. จะมีการปรับลดการระบายน้ำลงอีกเหลือที่ระดับ 2,100 ลบ.ม./วินาที ซึ่งจะช่วยลดระดับน้ำที่เข้าท่วมในพื้นที่ลุ่มต่ำริมแม่น้ำเจ้าพระยา ริมคลองบางบาล โผงเผง แม่น้ำน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา และลดความเสี่ยงของพื้นที่นอกคันกั้นน้ำในพื้นที่ จ.นนทบุรี ปทุมธานี และกรุงเทพมหานคร

นายจิรายุ กล่าวอีกว่า จากการติดตามการคาดการณ์ฝนจากกรมอุตุนิยมวิทยา พบว่าขณะนี้มีพื้นที่ 16 จังหวัดทางภาคตะวันตกและภาคใต้ที่ต้องเฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำล้นตลิ่ง ได้แก่ ราชบุรี เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ระนอง พังงา ภูเก็ต สุราษฎร์ธานี กระบี่ นครศรีธรรมราช ตรัง สตูล พัทลุง สงขลา ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส

“ในพื้นที่ 16 จังหวัดข้างต้น ได้มีการเตรียมเครื่องสูบน้ำ 552 เครื่องเข้าไปเตรียมความพร้อมจุดเสี่ยงน้ำท่วมซ้ำซาก พร้อมเตรียมเครื่องจักร เครื่องผลักดันน้ำ รวม 1,100 หน่วย พร้อมให้ความช่วยเหลือประชาชนทันที” นายจิรายุ กล่าว

นายจิรายุ เปิดเผยอีกว่า นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม ในฐานะ ผอ.ศปช. มอบหมายให้ น.ส.ธีรรัตน์ สำเร็จวาณิชย์ รมช.มหาดไทย ในฐานะประธาน ศปช. ส่วนหน้า และ พล.อ.ณัฐพล นาคพาณิชย์ รมช.กลาโหม ในฐานะที่ปรึกษา ศปช.ส่วนหน้า ลงพื้นที่ติดตามความคืบหน้าการฟื้นฟู อ.แม่สาย และ อ.เมือง จ.เชียงราย ที่ขณะนี้ได้ระดมเครื่องจักรจากทุกภาคส่วนเข้าช่วยทำการตักดินโคลนและทำความสะอาดบ้านเรือน พร้อมฟื้นฟูพื้นที่สาธารณะและเส้นทางสัญจร ซึ่งขณะนี้ทุกอย่างเดินหน้าตามแผน คาดว่าภายในสิ้นเดือนต.ค.ชาวเชียงรายจะได้กลับมาใช้ชีวิตตามปกติและเดินหน้าเศรษฐกิจกันอีกครั้ง

“เมื่อเช้าวันที่ 10 ต.ค.ที่ประชุม ศปช. ได้รับรายงานว่า ในพื้นที่ อ.เมืองเชียงราย มีความคืบหน้าไปแล้ว 93% โดยมี 2 ชุมชนที่ดำเนินการฟื้นฟูแล้วเสร็จ คือ ชุมชนวังดิน และชุมชนแควหวาย ส่วนในพื้นที่ อ.แม่สาย ดำเนินการแล้วเสร็จ 1 จุดคือ หมู่บ้านปิยะพร แต่ยังมีบางจุดที่มีข้อจำกัดในการทำงาน เช่น หัวฝาย สายลมจอย เกาะทราย และไม้ลุงขน ซึ่งได้ขอให้หน่วยงานรับผิดชอบแจ้งข้อจำกัดเพื่อจะได้เร่งช่วยกันฟื้นฟูพื้นที่ดังกล่าวต่อไป” นายจิรายุ กล่าว

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เขื่อนเจ้าพระยา ปรับลดระบายน้ำ ลดผลกระทบพื้นที่น้ำท่วม น้ำทะเลหนุนสูงช่วง 13 ต.ค.นี้

นายวัชระ ไกรสัย ผู้อำนวยการสำนักงานชลประทานที่ 12 เปิดเผยว่า จากสถานการณ์แม่น้ำเจ้าพระยา ที่ไหลผ่านสถานีวัดน้ำ C2. จังหวัดนครสวรรค์ มีปริมาณทรงตัว ประกอบกับ แม่น้ำสะแกกรัง จ.อุทัยธานี