5 องค์กรปชต. เรียกร้อง ส.ส.เร่งพิจารณาแนวทางการตรา พรบ.นิรโทษกรรม

4 ต.ค.2567 - คณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตย (ครป.) สถาบันสังคมประชาธิปไตย (Social Democracy Think Tank) มูลนิธิองค์กรกลางเพื่อประชาธิปไตย คณะกรรมการญาติวีรชนพฤษภา’ 35
มูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนา ออกแถลงการณ์ ระบุว่า ตามที่คณะรัฐมนตรี นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้แถลงนโยบายต่อรัฐสภา เมื่อวันที่ 12 กันยายน 2567 ที่ว่า “ประเทศไทยเราเผชิญกับความไร้เสถียรภาพทางการเมืองมาอย่างยาวนาน อันเป็นผลจากการรัฐประหาร ความขัดแย้งแบ่งขั้วที่รุนแรง รวมถึงการถอดถอนรัฐบาลออกจากอำนาจในแบบที่คาดเดาไม่ได้ ส่งผลให้ความเชื่อมั่นต่อเศรษฐกิจและการลงทุนในประเทศไทย ได้รับผลกระทบกระเทือนอย่างรุนแรงโดยไม่อาจหลีกเลี่ยงได้”

คณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตย (ครป.) และองค์กรประชาธิปไตย เห็นว่า การดำเนินการเพื่อแก้ไขปัญหาข้างต้นของฝ่ายการเมือง ทั้งรัฐบาล สภาผู้แทนราษฎร และวุฒิสภานั้น เป็นไปด้วยความล่าช้าและผิดไปจากคำมั่นสัญญา ซึ่งพรรคการเมืองต่าง ๆ เคยให้ไว้แก่ประชาชนในช่วงการหาเสียงเลือกตั้งที่ผ่านมา กรณีที่ชัดเจนที่สุดคือ การจัดทำรัฐธรรมนูญใหม่ทั้งฉบับโดยสภาร่างรัฐธรรมนูญ (สสร.) ที่มาจากการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชน ล่าช้าออกไปมาก และมีทีท่าว่าจะไม่ทันภายในวาระของสภาผู้แทนราษฎรชุดปัจจุบัน

ยิ่งไปกว่านั้น แม้รัฐบาลและฝ่ายการเมืองต่าง ๆ จะตระหนักว่า “ประเทศไทยเราเผชิญกับความไร้เสถียรภาพทางการเมืองและความขัดแย้งแบ่งขั้วอุดมการณ์ที่รุนแรงมาอย่างยาวนาน” แต่ฝ่ายการเมืองกลับไม่ได้มีทิศทางที่ชัดเจนว่าจะแก้ไขความขัดแย้งทั้งในอดีต ปัจจุบัน และอนาคตอย่างไร อีกทั้ง ยังมีแนวโน้มว่าการพิจารณาแนวทางการตราพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมซึ่งเป็นเครื่องมือหนึ่งในการแก้ไขความขัดแย้งจะเป็นไปด้วยความล่าช้าอีกเช่นกัน

ดังนั้น ด้วยการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ 26 ปีที่ 2 ครั้งที่ 29 (สมัยสามัญประจำปีครั้งที่หนึ่ง)วันพฤหัสบดีที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2567 ซึ่งมีวาระการพิจารณา “รายงานของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาแนวทางการตราพระราชบัญญัตินิรโทษกรรม” ซึ่งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาเสร็จแล้วนั้น ครป. ขอเรียกร้องให้สภาผู้แทนราษฎรเร่งเดินหน้าพิจารณารายงานฉบับดังกล่าวโดยไม่รีรอ เพื่อเป็นไปตามเจตนารมณ์ของรัฐบาลฝ่ายการเมืองต่าง ๆ และประชาชน ที่ต้องการจะแก้ไขความขัดแย้ง ตลอดจนคืนความยุติธรรมให้แก่ผู้ถูกกล่าวหา ผู้ต้องหา จำเลย หรือนักโทษคดีการเมือง โดยเฉพาะผู้ที่ถูกดำเนินคดีอันเนื่องมาจากการทำกิจกรรมทางการเมืองโดยสงบ สันติ และปราศจากอาวุธ ตลอดจนนักโทษทางความคิด ความเชื่อ หรือผู้ที่ถูกกลั่นแกล้งดำเนินคดีเพราะเหตุผลทางการเมือง

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'วิษณุ' การันตีรัฐบาลมีแหล่งที่มาเงิน อยู่ในคำแถลงนโยบาย

นายวิษณุ เครืองาม อดีตที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกรณีที่มีบุคคลนิรนามไปยื่นคำร้องต่อผู้ตรวจการแผ่นดิน ว่าการแถลงนโยบายต่อรัฐสภา

วิพากษ์นโยบายรัฐบาลขาดการนิรโทษกรรมสมานฉันท์ปชช. หากรบ.ฉ้อฉลจะไม่มีใครออกมาต่อสู้อีก

ที่อนุสรณ์สถาน 14 ตุลา สภาที่ 3 และคณะกรรมการญาติวีรชนพฤษภา’35 จัดเสวนาวิพากษ์วิจารณ์ตรวจสอบนโยบายรัฐบาลแพทองธาร ชินวัตร โดยมี นายอดุลย์ เขียวบริบูรณ์ ประธานคณะกรรมการญาติวีรชนพฤษภา’35 กล่าวเปิดงาน

'จุลพันธ์' แจงแนวคิดภาษีรูปแบบใหม่ Negative income tax คืนภาษีผู้มีรายได้น้อย

นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ลุกขึ้นชี้แจงนโยบายการศึกษาระบบภาษีรูปแบบใหม่ หรือ negative income tax ว่า แนวความคิดนี้ เป็นแนวความคิดที่ถูกนำมาบรรจุในแนวนโยบายแห่งรัฐ

'ชวน' อบรมรัฐบาลแพทองธาร ต้องให้เกียรติข้าราชการ ยึดหลักซื่อสัตย์ไม่เอาตำแหน่งมาเป็นราคา

นายชวน หลีกภัย สส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ อภิปรายว่า เมื่อวันที่ 12 ก.ย.66 ได้เคยอภิปรายนโยบายรัฐบาลนายเศรษฐา ทวีสิน อดีตนายกฯ วันนั้นเป็นการพูดในฐานะฝ่ายค้าน ส่วนวันนี้พูดในฐานะรัฐบาล แต่ไม่ว่าตนจะอยู่พรรคใดก็ตาม