อดีตบิ๊ก ศรภ.วิเคราะห์เหตุ สว.หัก สส.ปมกฎหมายประชามติ

02 ต.ค.2567 - พล.ท.นันทเดช เมฆสวัสดิ์ อดีตหัวหน้าศูนย์ปฏิบัติการพิเศษ ศูนย์รักษาความปลอดภัยแห่งชาติ (ศรภ.) โพสต์เฟซบุ๊กระบุว่า เมื่อ สว.ตีตก ร่างแก้ไข พ.ร.บ.ประชามติ ก็เกิดปรากฏการณ์ “ตักจันทร์กลางน้ำ เห็นอยู่แล้วว่า ตักได้แน่นอน แต่เมื่อยกกระชอนไผ่ขึ้น ผืนน้ำกระเพื่อมไหว จันทร์เพ็ญพลันเลือนหาย สองมือตักได้แต่ความว่างเปล่า” (เฟิงหัวซี่ / ดาบหาญกล้าฯ เล่ม 12)

1. เมื่อ 21 สิงหาคม 67 สภาผู้แทนราษฎร มีมติผ่านร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการออกเสียงประชามติ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ในวาระสาม ด้วยคะแนนเห็นชอบสูงมากถึง 409 เสียง ไม่เห็นชอบ 0 เสียง โดยมีสาระสำคัญเป็นการแก้ไขเนื้อหาเพื่อยกเลิกการใช้ “เสียงข้างมากสองชั้น” ของ พ.ร.บ.ประชามติ ฉบับปัจจุบัน ที่ใช้ชี้วัดว่าการทำประชามตินั้นจะมีข้อยุติหรือไม่ โดยเปลี่ยนมาใช้ “เสียงเสียงข้างมากของผู้มาลงคะแนนเท่านั้นแทน”

2.“ เสียงข้างมากสองชั้น “ ตาม พ.ร.บ.ประชามติของเดิม เป็นประตูด่านแรกของการป้องกันไม่ให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ได้ง่ายๆ จึงบัญญัติไว้ว่า การทำประชามติจะมีข้อยุติได้ ต้องมีผู้มาใช้สิทธิออกเสียงเกินกว่ากึ่งหนึ่งของ “ผู้มีสิทธิออกเสียง” แต่ร่างแก้ไข ได้ตัดคำว่า “ผู้มีสิทธิออกเสียง” ทิ้งไป แก้เป็นเกินกึ่งหนึ่งของผู้มาใช้สิทธิก็พอ ซึ่งหมายความว่าจะ มีผู้มาใช้สิทธิน้อยแค่ไหนก็ได้ ซึ่งผิดหลักการ ที่การแก้ไขรัฐธรรมนูญจะต้องทำได้ยากกว่ากฏหมายธรรมดา ดังนั้นถ้าจะแก้ก็ต้องเป็นความประสงค์ของประชาชนส่วนใหญ่จริงๆ นั่นคือ ต้องมีผู้ที่มีสิทธิในการออกเสียง อย่างน้อยครึ่งหนึ่ง เข้าร่วม เป็นผู้ตัดสิน ด้วย

นอกจากนั้นยังผูกการจัดทำประชามติ ไว้กับการเลือกตั้งส่วนท้องถิ่น เพิ่มเข้าไปอีก ทั้งๆ ที่การเลือกตั้งส่วนท้องถิ่นนั้นมีเจตนารมย์ที่แตกต่างไปจาการเลือกตั้ง ส.ส.มาก และเป็นพื้นที่การแข่งขันกันของกลุ่มผู้มีอิทธิพลในท้องถิ่น ซึ่งส่วนใหญ่เป็นญาติพี่น้องของนักการเมืองเกือบทั้งสิ้น ประชาชนที่มาเลือกจึงไม่ได้มาสนใจถึงเรื่องผลกระทบที่จะเกิดจากการแก้ไขรัฐธรรนูญแต่อย่างได

3. เมื่อวันที่ 30 ก.ย.67 ร่างแก้ไข พ.ร.บ.ประชามติดังกล่าว ที่ผ่านความเห็นชอบของสภาผู้แทนราษฎรแล้ว ได้เข้าสู่การพิจารณาของสมาชิกวุฒิสภา ปรากฏว่าถูก สว. ตีกลับ ด้วยคะแนนเสียงสูงถึง 167 เสียง โดยมีข้ออ้างส่วนใหญ่ว่า “เป็นความพยายามแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อผลประโยชน์ของตัวเอง ไม่ใช่เพื่อชาติหรือประชาชน” สว.บางท่านกล่าวแรงไปถึงกับระบุว่า “สส.ชำเรา รัฐธรรมนูญเพื่อตัวเอง”

4.สว.สีส้มบางคนจึงอ้างว่า เป็นเพราะ สว.ส่วนใหญ่รับใบสั่งมา แต่ทำไมไม่ก็ลองกลับไปดู ช่วงเวลาที่ สส.ผ่านร่าง แก้ไข พ.ร.บ.ประชามติด้วยคะแนนอย่างท้วมท้นนั้น ปฏิกิริยาของ ส.ส.หลายสิบคน คึกคักกันเป็นพิเศษ ออกมาแสดงความเห็นอย่างชัดเจนว่า จะแก้รัฐธรรมนูญเพื่อเล่นงาน ศาลรัฐธรรมนูญ และ ป.ป.ช. และยังกล้าพูดไปถึง เรื่อง การแก้ไขเพื่อ ลดมาตราการทางจริยะธรรม อีกด้วย นอกจากนั้น สส.บางคนก็ยังเตรียมไปแก้ไขในหมวดความมั่นคงอีก ฯลฯ

เรื่องเหล่านี้ที่น่าจะเป็นสาเหตุที่ทำให้ พวก สว.กลับลำมากกว่าประเด็นอื่นครับ นี่ฝ่ายรัฐบาลก็เตรียมเสนอ เรื่องนิรโทษกรรมเข้ามาอีกก็รีบๆ เสนอหน่อยครับ เพราะแม้จะผ่าน สว.ไปได้ ก็อาจไม่ผ่านคุณสนธิก็เป็นได้นะครับ

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

กมธ.ประชามติ เตรียมเชิญ 'ปณท-กกต.' ถกออกเสียงประชามติผ่านไปรษณีย์

นายนพดล ปัทมะ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย ในฐานะกรรมาธิการ (กมธ.) ร่วมเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) การออกเสียงประชามติ ให้สัมภาษ

'ธนกร' หนุนถอยคนละก้าว ใช้เกณฑ์เสียงข้างมากชั้นครึ่ง สส.-สว.ถกร่างประชามติ

นายธนกร วังบุญคงชนะ รองหัวหน้าพรรคและสส.บัญชีรายชื่อพรรครวมไทยสร้างชาติ (รทสช.) กล่าวว่า หลังการประชุมทั้งกมธ. สส.และสว. ที่ยังมีความคิดเห็นแตกต่างกันเรื่องสว.ยืนกรานทำประชามติ 2 ชั้น แต่สส.เห็นควรปรับให้กึ่งกลางเหลือแค่ชั้นครึ่ง

'นิกร' เสนอถอยคนละก้าว ใช้เกณฑ์เสียงข้างมากชั้นครึ่ง สส.-สว.เห็นต่างประชามติ

นายนิกร จำนง เลขานุการคณะกรรมาธิการ (กมธ.) ร่วมกันเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ประชามติ (ฉบับที่ … ) พ.ศ. … กล่าวภายหลังการประชุมว่า ที่ประชุมได้ให้ทั้งกมธ. สส.และสว. ได้แสดงความคิดเห็น ซึ่งแต่ละฝ่ายก็ยังยืนเหมือนเดิมเกี่ยวกับผู้ออกมาใช้สิทธิออกเสียง ซึ่งฝ่ายสว.ยังคงยืนยันที่จะใช้เสียงข้างมาก 2 ชั้น

'พริษฐ์' เผยขอเข้าพบ 3 บุคคลสำคัญ หาทางออกจัดทำรธน.ฉบับใหม่ ให้ทันเลือกตั้งครั้งหน้า

นายพริษฐ์ วัชรสินธุ สส.บัญชีรายชื่อและโฆษกพรรคประชาชน เปิดเผยก่อนการประชุมคณะกรรมาธิการ (กมธ.) ร่วมกันเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ว่าด้วยการออกเสียงประชามติ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ...ว่า ต้องรอดูว่า กรอบเวลาพิจารณาร่างดังกล่าว