ถาม ‘พิชัย’ ตรงๆ ใครเห็นหัวคนรากหญ้ามากกว่ากัน ‘พท.’ หรือ ‘แบงก์ชาติ’

30 ก.ย.2567-นายอัษฎางค์ ยมนาค นักวิชาการอิสระ โพสต์เฟซบุ๊กเรื่อง “ใครเห็นหัวคนรากหญ้ามากกว่ากัน เพื่อไทยหรือแบงค์ชาติ!” ระบุว่า คุณพิชัย รมต.พาณิชย์ของนายกฯ แพทองธาร แขวะ ดร. เศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ผู้ว่า ธปท.ว่า “ผมรู้ว่าท่านจบเยลล์ แต่ผมเข้าใจว่าคนจบเยลล์คิดได้แค่นี้เหรอ?

ผมอยากถามกลับ…คุณพิชัยว่า ไม่ถามนายกฯ บ้างหรือว่า คนจบรัดสาทจุลาโทอังกิต คิดได้แค่นี้เหรอ? ”คือ นายกฯ ของท่านบอกว่า เงินบาทแข็งค่าเป็นผลดีต่อการส่งออก จะทำให้ปริมาณการส่งออกเพิ่มขึ้น“

คุณพิชัยยังพูดต่อว่า..“ท่านผู้ว่า ธปท.น่าจะเข้าใจเรื่องเศรษฐศาสตร์เบื้องต้น ว่าจะต้องทำอย่างไร จะต้องไล่ล่า GDP อยู่แล้ว ไม่เช่นนั้นเมื่อไรเราจะเป็นประเทศมีรายได้สูง หากไม่มีรายได้ ก็จะไม่มีการกระจายรายได้

ผมอยากจะบอกคุณพิชัยแทนดร.เศรษฐพุฒิว่า….ในมุมมองของคุณพิชัยเชื่อว่า “การไล่ล่าการเติบโตของ GDP” เป็นสิ่งจำเป็น

มุมมองของ ดร. เศรษฐพุฒิ เป็นการแสดงจุดยืนที่แตกต่าง โดยเขาชี้ให้เห็นว่าการเติบโตทางเศรษฐกิจไม่ควรเน้นที่ “การไล่ล่าการเติบโตของ GDP หรือการลงทุนจากต่างประเทศ (FDI)” เพียงอย่างเดียว เขาเสนอว่าการเติบโตควรคำนึงถึงคุณภาพชีวิตของประชาชนเป็นหลัก

GDP ไม่สะท้อนการกระจายรายได้อย่างเท่าเทียม หากการเติบโตของเศรษฐกิจมุ่งเน้นที่การลงทุนของบริษัทขนาดใหญ่ อาจไม่เกิดประโยชน์ต่อประชาชนในชนบทหรือกลุ่มที่มีรายได้น้อย

แนวคิดของ ดร. เศรษฐพุฒิ เน้นที่การพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานราก (More Local) โดยมองว่าความสำเร็จทางเศรษฐกิจไม่ควรวัดจากตัวเลข GDP เพียงอย่างเดียว แต่ควรวัดจากการพัฒนาคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ของประชาชน แนวทางนี้สนับสนุนการพัฒนาท้องถิ่น สร้างเศรษฐกิจที่มีความหลากหลายและยั่งยืนมากขึ้น ทำให้การพึ่งพาการลงทุนจากต่างประเทศลดลง

แนวคิดนี้คล้ายกับแนวทางเศรษฐศาสตร์พัฒนาแบบ “Inclusive Growth” ที่มุ่งเน้นการเติบโตแบบมีส่วนร่วมทุกภาคส่วน ไม่ใช่แค่การเติบโตของตัวเลขเศรษฐกิจโดยรวม แต่มุ่งเน้นที่การกระจายรายได้และการสร้างโอกาสให้กับทุกกลุ่มในสังคม

สรุป …ใครเห็นหัวคนรากหญ้ามากกว่ากัน เพื่อไทยหรือแบงค์ชาติ!

คุณพิชัยยังพูดต่อว่า..”เร็ว ๆ นี้ แบงก์ชาติจีนยังออกแพกเกจขนาดใหญ่เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจจีน ทั้งๆ ที่เศรษฐกิจจีนไม่ได้แย่เหมือนไทย“

ผมอยากจะบอกว่า…การแจกเงินหรือคูปองเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจของจีนจะถูกมองว่าเป็นนโยบายเศรษฐกิจของรัฐ มากกว่าที่จะเป็นเครื่องมือทางการเมืองการแจกเงินของพรรคเพื่อไทยจึงไม่เพียงแต่เป็นมาตรการทางเศรษฐกิจ แต่ยังเป็นกลยุทธ์ทางการเมืองที่ใช้สร้างความนิยมและรักษาฐานเสียง

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เหลียวหลังแลหน้า การเมืองไทย จาก 2567 สู่ 2568 ส่องจุดจบ ระบอบทักษิณภาค 2

รายการ"ไทยโพสต์ อิสรภาพแห่งความคิด"สัมภาษณ์ นักวิชาการ-นักการเมือง สองคน เพื่อมา"เหลียวหลังการเมืองไทยปี 2567 และแลไปข้างหน้า

‘แม้ว’ ไล่ทุบ- ‘ภูมิใจไทย’ ไม่หมู ‘แดง-น้ำเงิน’ ทนอยู่แบบตบจูบ

นาทีนี้ศึกฝ่ายค้าน-รัฐบาลยังไม่เดือดเท่ากับศึกรัฐบาลด้วยกันเอง แรงขึ้นเรื่อยๆ สำหรับการขบเหลี่ยมของพรรคอันดับ 1 และพรรคอันดับ 2

‘ณัฐวุฒิ’ ย้ำ ‘เพื่อไทย-พรรคส้ม ’ อยู่ก๊กเดียวกัน ชี้ ภท. ก๊กอนุรักษ์นิยมขวางแก้รธน.

นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ ที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรี โพสต์เฟซบุ๊ก ว่าผลการลงมติร่างพ.ร.บ.ประชามติ คืออีกรูปธรรมหนึ่งของก

นายกฯ บินมหาสารคาม ติดตามแก้น้ำท่วม-แล้ง เปิดงาน 'ออนซอนกลองยาวชาววาปี'

'นายกฯอิ๊งค์' บินมหาสารคาม ตรวจติดตามอุทกภัยลุ่มน้ำชี-โครงการหนึ่งอำเภอหนึ่งทุน ไม่ตอบความคืบหน้าตั้งคกก.ปราบอิทธิพล

'นายกฯอิ๊งค์' ขึ้นแท่นนักการเมืองแห่งปี 'ผู้นำค้านเท้ง' ร่อแร่รั้งอันดับ 9

เปิดผลโพลนักการเมืองแห่งปี 67 'แพทองธาร ชินวัตร' ประชาชนชื่นชอบกว่า 15% ขณะที่่ผู้นำค้าน 'ณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ' ร่อแร่ร่วงอันดับ 9 ได้แค่ 5%