27 ก.ย.2567- กรณีสถานีโทรทัศน์แห่งหนึ่งรายงานว่า สถานการณ์บ้านห้วยหินลาดใน อ.เวียงป่าเป้า จ.เชียงราย ที่ถูกน้ำป่าพัดเมื่อวันที่ 23 ก.ย.ที่ผ่านมา อาจมีสาเหตุจากการตัดไม้ป่าต้นน้ำเกิดเขาหัวโล้นจนทำให้น้ำป่าดินโคลนถล่มอย่างรุนแรง เพจ "โพควา โปรดักชั่น" นักสื่อสารชาติพันธุ์โพสต์ข้อความ หัวข้อ รู้จักชุมชนหินลาดใน ต.บ้านโป่ง อ.เวียงป่าเป้า จ.เชียงราย มีเนื้อหาดังนี้
.
หลังจากเหตุการณ์น้ำป่าไหลหลากเข้าชุมชนอย่างรุนแรง เมื่อวันที่ 23 กันยายน 2567 ที่ผ่านมาสร้างความเสียหายแก่ชุมชน และปรากฏในข่าว นักวิชาการ สื่อออนไลน์(บางสำนัก) รวมถึงผู้คน ต่างตั้งคำถามและข้อสังเกตว่า ปรากฏการณ์ครั้งนี้เกิดขึ้นได้อย่างไร ด้วยสาเหตุใด เชื่อมโยงกับประเด็นไฟ่า PM 2.5 อย่างไร เพื่อความเข้าใจอย่างถูกต้อง โพควา จึงรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องเพื่อเป็นฐานความเข้าใจในการร่วมกันแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบ บนฐานการจัดการสิ่งแวดล้อมล้อมอย่างยุติธรรม ดังนี้
.
ภาพมุมสูงที่ปรากฏแสดงภาพชุมชนบ้านห้วยหินลาดใน และการออกแบบพื้นที่ในการจัดการทรัพยากรของชุมชนอย่าเงป็นระบบโดยการผสานเงื่อนไขทางจารีตเข้ากับกฏหมาย ออกมาเป็นแนวทางในการปฏิบัติในรูปแบบกฏกติตาชุมชน
.
หินลาดใน ต.บ้านโป่ง อ.เวียงป่าเป้า จ.เชียงราย เป็นชุมชนปกาเกอะญอเล็ก ๆ ตั้งอยู่กลางป่าใหญ่ มีการตั้งถิ่นฐานยาวนานกว่า 100 ปี พื้นที่ทั้งหมดของหมู่บ้านมีประมาณ 10,279.7 ไร่ ชุมชนอยู่ในพื้นที่ป่าต้นน้ำชั้น 1A ระดับความสูงจากน้ าทะเล 800-900 เมตร และมีลำห้วยและธารกว่า 14 สาย ไหลลงสู่พื้นราย มีการแบ่งประเภทออกเป็นดังนี้
1. พื้นที่อยู่อาศัย เป็นพื้นที่สำรับการพักอยู่อาศัย ประกอบไปด้วยบ้านเรือน อาคาร โรงพัก ชา ยุ้งข้าว และพื้นที่สำหรับการปศุสัตว์ขนาดย่อยที่ใช้ในการเลี้ยงหมู เลี้ยงไก่
2. พื้นที่โรงเรียน
3. พื้นที่นา
4. พื้นที่สวน (ไม้ยืนต้น) เป็นพื้นที่การเพาะปลูกแบบผสมผสานหรือเรียกว่า ระบบวนเกษตร ที่มีหลายสายพันธุ์ในพื้นที่นั้น ซึ่งพืชพรรณทั้งหมดเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติควบคู่ไปกับการดูแลรักษา ที่มีทั้งไม้ยืนต้นและต้นชา ซึ่งเป็นเศรษฐกิจของชาวบ้านในชุมชน
5. พื้นที่ไร่หมุนเวียน เป็นพื้นที่เนินเขาสูง มีมาตั้งแต่ดั้งเดิม เป็นวิถีชีวิตที่ชาวบ้านให้ความสำคัญ เพราะการเกษตรแบบระบบของการทำไร่หมุนเวียนนี้เป็นกระบวนการดั้งเดิม ซึ่งถูกถ่ายทอดกันมาจากรุ่นสู่รุ่น เป็นสิ่งที่มีความหมายอยู่บนพื้นฐานความคิดของการใช้ชีวิตของชาวบ้านที่ส่งผลต่อความมั่นคงทางอาหาร
6. พื้นที่ป่าช้า เป็นพื้นที่ที่ศักดิ์สิทธิ์สำหรับการฌาปนกิจสำหรับบุคคลที่ได้ล่วงลับไปแล้วเป็นพื้นที่ที่ห้ามเข้าไปใช้ประโยชน์เพราะถือได้ว่าเป็นพื้นที่ที่ศักดิ์สิทธิ์
7. พื้นที่ป่าชุมชน เป็นเขตพื้นที่ที่ชุมชนสามารถใช้ประโยชน์ได้โดยการเอาไม้มาสร้าง ซ่อมแซม บ้านเรือน และเป็นแหล่งอาหาร สมุนไพรและล่าสัตว์ได้ ตามกฎระเบียบของชุมชน
.
จะเห็นได้ว่าชุมชนมีระบบการจัดการที่ดินและทรัพยากรธรรมชาติอย่างเป็นระบบ และสิ่งเหล่านี้นำมาซึ่งชุมชนต้นแบบ พื้นที่คุ้มครองวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ เดิมชื่อ พื้นที่เขตวัฒนธรรมพิเศษ เมื่อปี 2553 ต้นแบบชุมชนกับป่า การสถาปนรางวัลต่าง ๆ ที่ชุมชนได้รับ เช่น นายปรีชา ศิริ ได้รับรางวัลจาก สหประชาชาติด้านสิ่งแวดล้อม เกี่ยวกับการจัดการทรัพยากรป่าไม้ ชื่อรางวัล “United Nations Forest Hero Award” ในปีพ.ศ.2556 ,รางวัลชุมชนดีเด่น ด้านการส่งเสริมและรักษาวัฒนธรรมภูมิปัญญา จากสำนักนายกรัฐมนตรี ปี 2559 ,การรางวัลลูกโลกสีเขียว, นอกจากนี้ยังมีรายการทีวี รายการออนไลน์ได้นำเสนอรูปแบบการจัดการทรัพยากรธรรมชาติของชุมชนอย่างต่อเนื่อง และเหล่านี้เป็นสิ่งที่ยืนยันได้ว่า ชุมชนแห่งนี้เป็นต้นแบบการจัดการทรัพยากรอย่างแท้จริง แต่...
.
ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น มีการตั้งคำถามว่า น้ำป่ามาได้อย่างไร ทั้งที่ชุมชนมีต้นไม้จำนวนมาก และมีการจัดการทรัพยากรอย่างดี จนเป็นชุมชนต้นแบบ เว็ปไซน์ชุมชน hinladnai อธิบายปรากฏการณ์นี้ว่า
.
ต้นน้ำหินลาดในเป็นป่าที่อุดมสมบูรณ์ ชาวบ้านที่นี่ป้องกันไฟป่าไม่ให้ไฟลามเข้ามาเป็นเวลาเกือบ 40 ปีติดต่อกัน ป่าจึงมีสภาพที่คล้ายๆฟองน้ำที่สามารถดูดซับปริมาณน้ำได้จำนวนมาก ประกอบกับต้นไม้ต้นใหญ่ๆมีเป็นจำนวนมากจึงสามารถคงเป็นสภาพที่เอื้อต่อการดูดซับน้ำได้อย่างดีตลอดหลายสิบปี
.
จากเหตุที่ฝนตกหนักและนานทำให้ปริมาณน้ำฝนมหาศาลลงมากยังป่าต้นน้ำบ้านหินลาดใน เดิมทีที่แห่งนี้ก็เก็บซับน้ำไว้อยู่แล้วก่อนหน้านี้ประกอบกับฝนได้ตกต่อเนื่องอีกจึงทำให้ปริมาณน้ำเกินมากเกินกว่าที่ป่าแห่งนี้จะรับไหว จึงทำให้ต้นไม้ซึ่งมีน้ำหนักมาก ดินที่อุ้มน้ำจำนวนมาก และอยู่บนลักษณะลาดเอียง ในที่สุดจึงไหลลงมาทั้งดิน น้ำ และต้นไม้ เท่านี้ยังไม่พอยังไหลลงมากั้นทางน้ำอีกพอน้ำถูกกั้นก็สะสมปริมาณมากขึ้นจนทะลักออกมาในลักษณะคล้ายกับเขื่อนที่แตกลงมาจึงปรากฏภาพอย่างที่เห็นกันในสื่อ
.
เหตุการณ์ในลักษณะนี้ไม้ได้เกิดขึ้นเฉพาะประเทศไทย ยังเกิดขึ้นทั้งโลกด้วย ทั้งประเทศทางยุโรปและประเทศญี่ปุ่น สาเหตุหลักเนื่องจากภาวะโลกร้อน ตอนนี้อุณหภูมิโลกเฉลี่ยสูงขึ้นประมาณ 1.1-1.5 องศา ทำให้การระเหยของน้ำมีปริมาณมากขึ้นควบแน่นเป็นก้อนเมฆที่ใหญ่ขึ้นจึงทำให้ฝนตกลงมาหนักขึ้นมากกว่าเมื่อก่อน มากเกินกว่าที่กลไกธรรมชาติจะรองรับได้เป็นเหตุทำให้เกิดเหตุการณ์ที่บ้านหินลาดในขึ้นมา
.
และยังแสดงความกังวลว่า สถานการณ์จะยิ่งรุนแรงมากขึ้นเนื่องจากอุณจากอุณหภูมิโลกที่สูงขึ้นจากการใช้สรรพยากรอย่างโลภของมนุษย์ในการตอบสนองความต้องการที่เกินกว่าความจำเป็น เพราะฉะนั้นเรื่องของสิ่งแวดล้อมจำเป็นที่ต้องทำเป็นลักษณะทุกที่ในวงกว้าง และเป็นเรื่องของคนทุกคน เพราะโลกใบนี้เป็นโลกของเราทุกคน และเป็นทั้งของสิ่งมีชีวิตอื่นๆนอกเหนือจากมนุษย์ด้วย
.
อย่างไรก็ตาม สถานการณ์ น้ำท่วมเชียงราย น้ำท่วมภาคเหนือ สะท้อนภาวะโลกรวน ที่หลายพื้นที่กำลังเจอกับฝนตกหนัก อากาศแปรปรวน สอดคล้องกับรายงานองค์การอุตุนิยมวิทยาโลกที่ชี้ว่าโลกรวนทำให้ภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกเจอกับสภาพอากาศสุดขั้วรุนแรงที่สุดในปี 2023
.ขณะที่รายงานแห่งชาติ (NC4) ชี้ว่า ภาคอีสานและภาคเหนือเสี่ยงภัยพิบัติหนัก ผลกระทบที่เกิดขึ้นคือ เก็บเกี่ยวผลผลิตล้มเหลว กระทบปากท้องเกษตรกร สัตว์สูญพันธุ์ จนถึงน้ำปนเปื้อนที่นำไปสู่โรคระบาด (*รายงานแห่งชาติฉบับที่ 4 ปี 2565 (NC4) จัดทำโดยสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และ UNDP สนับสนุนโดยกองทุนสิ่งแวดล้อมโลก (GEF))
.
ไทยเป็น 1 ใน 10 ประเทศที่ได้รับผลกระทบร้ายแรงที่สุดจากภาวะโลกรวน โดยหนึ่งในอาชีพที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดคือเกษตรกรไทยกว่า 12 ล้านคน ที่คิดเป็น 1 ใน 6 ของคนไทย ความเสี่ยงของประเทศไทยตอกย้ำว่า แผนการรับมือกับภาวะโลกรวนเป็นเรื่องเร่งด่วน ที่ต้องแก้ปัญหาผ่านหลายแนวทาง เช่น งบประมาณที่ต้องบูรณาการเรื่องโลกรวนเพื่อให้เราตั้งรับได้ นโยบายของทุกภาคส่วน ตั้งแต่มิติเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ที่ต้องมองเรื่องโลกรวนเข้าไปเป็นหนึ่งในปัจจัย ไม่มองแยกขาดจากกัน การสร้างโครงสร้างพื้นฐาน ถนน หนทางที่ประเมินความเสี่ยงเรื่องโลกรวน จนถึงปรับแนวทางภาคเกษตรให้สอดรับและยืดหยุ่นกับผลกระทบและความเสี่ยง
.
ข้อเสนอของโพควา คือ การแก้ปัญหาต้องแก้เชิงระบบ หากการกล่าวหา กล่าวโทษ บุคคล หรือพื้นที่ จะนำไปสู่ความขัดแย้งมากกว่าการแก้ปัญหาที่ยั่งยืน ดังนั้นควรต้องเริ่มต้นด้วยข้อมูลที่ถูกต้อง และแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบ ก่อนที่ทุกอย่างจะสายเกินไป
ภาพ/เรื่อง: ทินภัทร ภัทรเกียรติทวี
โพควา โปรดักชั่น นักสื่อสารชาติพันธุ์
อ้างอิง
1. http://m-culture.in.th/album/view/147195/
2. https://www.greenglobeinstitute.com/.../4fab20af-9bc9...
3. https://wikicommunity.sac.or.th/community/758
4. https://www.hinladnai.com/
#หินลาดใน #เชียงราย #น้ำท่วม #ภัยพิบัติ #โลกร้อน #การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ #โพควาโปรดักชั่น
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'ภูมิธรรม' เตรียมเสนอแผนแก้น้ำท่วมดินโคลนถล่มภาคเหนือ เข้าครม.สัญจร 29 พ.ย.นี้
นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นประธานประชุมศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย วาตภัย และดินโคลนถล่ม (ศปช.) ครั้งที่ 4/2567 โดยมีนางสาวธีรรัตน์ สำเร็จวาณิชย์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย และผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุม
ศปช. ยันพายุหยินซิ่งไม่เข้าไทย แจงข่าวน้ำท่วมแม่สายอีกรอบเป็นเฟกนิวส์
นายจิรายุ ห่วงทรัพย์ ในฐานะโฆษกศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย วาตภัย และดินโคลนถล่ม หรือ ศปช. เปิดเผยว่า นายภูมิธรรม เวชยชัย
ดิจิทัล วอร์รูม เตือนภัยฝ่าน้ำท่วม-ดินโคลนถล่ม
ภาคเหนือเผชิญอุทกภัยรุนแรง โดยเฉพาะที่ อ.แม่สาย น้ำท่วมตัวเมือง มีน้ำป่าไหลทะลักลงตามแม่น้ำสาย ทำให้บ้านเรือน ร้านค้า ตลาดสด พื้นที่เกษตรที่ติดลำน้ำสายได้รับความเสียหายอย่างหนัก ปัจจุบันแม้น้ำแห้งแล้วแต่ประชาชนยังจมโคลนจมฝุ่นต้องการการช่วยเหลือ ฟื้นฟู เยียวยาจากปัญหาที่น้ำท่วมได้ทิ้งไว้ตามบ้านเรือนของประชาชนและสถานที่ต่างๆ
ศปช.ส่วนหน้า เผยคืบหน้าฟื้นฟูแม่สาย ในพื้นที่รับผิดชอบ 'มหาดไทย-กลาโหม'
ในการประชุมศูนย์ปฎิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยวาตภัยและดินโคลนถล่ม (ศปช.ส่วนหน้า) วันที่ 8 ตุลาคม 2567 ซึ่งมี น.ส.ธีรรัตน์ สำเร็จวาณิชย์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทยเป็นหัวหน้าศูนย์ฯ และพลเอกณัฐพล นาคพาณิชย์
'เบนซ์ พริกไทย' เปิดคอนเสิร์ตการกุศล ร่วมใจช่วยน้ำท่วม
เบนซ์ พริกไทย หรือ ดริณทร์รัฎ มีนะวาณิชย์ พร้อมเหล่าศิลปินใจบุญ ร่วมสร้างสรรค์คอนเสิร์ตการกุศล ร่วมใจ ช่วยน้ำท่วม เชียงใหม่-เชียงราย ณ ร้านวอร์มอัพ คาเฟ่ เชียงใหม่ เพื่อระดมทุนช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วมในพื้นที่เชียงใหม่และเชียงราย ซึ่งได้รับการตอบรับอย่างท่วมท้นจากแฟนเพลงและผู้มีจิตศรัทธา
ไม่รีบ! 'อนุทิน' เผยไม่มีนัดหารือพรรคร่วมรัฐบาล ปมแก้รธน. ตอนนี้มีเรื่องสำคัญกว่า
นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรมว.มหาดไทย กล่าวถึงการนัดพูดคุยกับพรรคร่วมรัฐบาล เรื่องแก้ไขรัฐธรรมนูญ ว่า ยังไม่มีการนัดหมายและขณะนี้นายกรัฐมนตรีก็ไม่อยู่ เ