27 ก.ย.2567- นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ประธานกรรมการด้านวิชาการ พรรคพลังประชารัฐ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก ว่าไม่ตรวจสอบคุณสมบัติคนถือบัตร
วันแรกๆ ที่มีการโอนเงินจากโครงการดิจิทัลวอลเล็ต (ที่เปลี่ยนไปเป็นโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจ น่าจะเพื่อไม่ให้ผิดกฎหมายเลือกตั้ง) คนที่รับเงินมีความดีใจหลายแบบ
ผมเองยินดีด้วยกับประชาชนที่ได้รับเงิน เพราะสำหรับหลายครอบครัวนั้น เงินจำนวน 10,000 บาทต่อคนมีความหมายมาก
อย่างไรก็ดี มีความเสี่ยงที่รัฐบาลควรจะต้องคำนึงและบริหารให้ถูกต้อง
1 ไม่มีการตรวจสอบคุณสมบัติซ้ำ รัฐบาลก่อนหน้าได้เปิดให้ลงทะเบียนบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ เริ่มใช้สิทธิ์ได้ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2566 เป็นต้นไป โดยกำหนดคุณสมบัติไว้ดังนี้
1) สัญชาติไทย
2) อายุ 18 ปีขึ้นไป
3) รายได้ต่อปีของบุคคลและรายได้เฉลี่ยของ
ครอบครัวไม่เกิน 100,000 บาท ต่อคนต่อปี รวมถึงทรัพย์สินทางการเงิน อย่าง เงินฝาก สลาก พันธบัตร และตราสารหนี้ของภาครัฐ ต้องไม่เกิน 100,000 บาท ต่อคนต่อปีด้วยเช่นเดียวกัน
4) ไม่มีวงเงินกู้ หรือมีวงเงินกู้บ้าน ไม่เกิน 1.5 ล้านบาท และวงเงินกู้รถไม่เกิน 1 ล้านบาท
5) ไม่มีกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์ หรือมีกรรมสิทธิ์แต่ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไข
6) กรณีไม่มีครอบครัว ห้องชุดต้องไม่เกิน 35 ตร.ม. และที่ดินที่ไม่ใช่เพื่อการเกษตรไม่เกิน 1 ไร่ และใช้ในการเกษตร ไม่เกิน 10 ไร่ และมีบ้านพร้อมที่ดิน บ้านเดี่ยว ทาวน์เฮาส์ ตึกแถว ไม่เกิน 25 ตร.ว. และรวมกันหมดแล้วพื้นที่การเกษตรไม่เกิน 10 ไร่
เวลาผ่านมาถึงวันนี้ 1.5 ปี สถานภาพของหลายคนเปลี่ยนไป ในวันนี้ รายได้ หรือวงเงินกู้ หรือขนาดทรัพย์สิน อาจจะสูงกว่าหลักเกณฑ์
มีข้อมูลส่งกันใน today.line.me มีกรณีหนึ่งที่ผู้รับฐานะดีถึงขั้นที่จะใช้เงินนี้ซื้อตั๋วคอนเสิร์ต มีอีกกรณีหนึ่งที่ผู้รับมีรายได้สูงกว่าหลักเกณฑ์เพราะได้เข้าทำงาน
ถามว่า กระทรวงการคลังได้ทำการตรวจสอบคุณสมบัติซ้ำก่อนการจ่ายเงินหรือไม่
2 การปฏิบัติตามกฏหมายเลือกตั้ง เนื่องจากเป็นการจ่ายเงินสด โดยไม่มีบล็อกเชนควบคุม จึงไม่สามารถบังคับการใช้จ่ายให้ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่พรรคเพื่อไทยกำหนดไว้เดิมได้ รวมทั้งไม่มีผลดีในการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัลแม้แต่น้อย
ถามว่า พรรคเพื่อไทยได้คำยืนยันจาก กกต. หรือยังว่า การจ่ายเป็นเงินสดเข้าข่ายเป็น "สัญญาว่าจะให้" หรือไม่
3 การปฏิบัติตามกฎหมายวินัยการเงินฯ
เนื่องจากเป็นการจ่ายเงินสด โดยไม่มีบล็อกเชนควบคุม จึงอาจมีการรั่วไหลไปเล่นพนัน หรือซื้อสินค้าที่มีสัดส่วนการนำเข้าสูง ซึ่งจะทำให้ผลดีต่อการกระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศลดลง
นอกจากนี้ ถึงแม้การจ่ายเงินดังกล่าว ใช้เงินจากระบบงบประมาณ แต่เนื่องจากเป็นการโยกโครงการงบประมาณอื่นมาใช้ในโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยมิได้มีการปรับลดหรือยกเลิกโครงการงบประมาณอื่นดังกล่าว ในอนาคตเมื่อต้องทำโครงการงบประมาณเดิมที่ถูกชะลอไว้ รัฐบาลก็จะต้องกู้หนี้สาธารณะเพิ่มเพื่อมาชดเชยขาดดุลงบประมาณ
ดังนั้น จึงมีผลเป็นการใช้เงินจากการกู้หนี้สาธารณะเพิ่มโดยปริยาย เพียงแต่ใช้ทางอ้อม
ถามว่า เนื่องจากโครงการนี้มีผลทำให้ประเทศมีหนี้สาธารณะเพิ่มขึ้นโดยอ้อมมากถึง 1.4 แสนล้านบาทซึ่งเป็นการเพิ่มภาระให้แก่ฐานะการคลังอย่างหนัก กระทรวงการคลังยืนยันว่าการจ่ายเป็นเงินสดมีความคุ้มค่า หรือไม่อย่างไร
ผมขอแนะนำให้รัฐบาลแถลงประเด็นเหล่านี้ต่อสาธารณะ
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'สมชาย' เห็นด้วยอดีตขุนคลังแจกเงินหมื่นเฟสสองเสี่ยงคุก!
นายสมชาย แสวงการ อดีตสมาชิกวุฒิสภา (สว.) โพสต์เฟซบุ๊ก
เตรียมรับอีกคดี! 'อดีตรมว.คลัง' ฟันธง! แจกเงินอายุเกิน 60 ปีผิดกฎหมาย
นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และ ประธานคณะกรรมการด้านวิชาการ พรรคพลังประชารัฐ โพสต์ข้อความว่
'ศิริกัญญา' งง รอมา 2 เดือน นโยบายกระตุ้นศก.ไม่มีอะไรชัดเจน ย้อนถามแจกเงินหมื่นช่วยอะไรได้
นางสาวศิริกัญญา ตันสกุล ส.ส.บัญชีรายชื่อ และรองหัวหน้าพรรคประชาชน โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊ก ระบุว่า
'อดีตรมว.คลัง' ร่อนจม.ถึง 'รมว.คลัง' จี้ตรวจคุณสมบัติ 'โต้งไวท์ไล'
นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ส่ง จดหมายเปิดผนึกถึงรัฐมนตรีคลังเรื่องแต่งตั้งประธานบอร์ดแบงค์ชาติ
'ธีระชัย' เผย MOU44 จุดแข็งคือจุดอ่อน มาถึงบัดนี้ไทยย่อมจะไม่ใช้สิทธิที่จะทักท้วงอีกแล้ว
นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และ ประธานคณะกรรมการด้านวิชาการ พรรคพลังปร