'ณัฐวุฒิ' รับ เสียดายโอกาสหลังต้องถอนร่าง พ.ร.บ.ห้ามตีเด็ก กลับไปปรับปรุง เหตุในสภายังเข้าใจไม่ตรงกัน คงต้องเพิ่มการสื่อสาร ขอ อย่าทำให้เป็นประเด็นการเมือง
25 ก.ย.2567 - ที่รัฐสภา นายณัฐวุฒิ บัวประทุม สส.บัญชีรายชื่อพรรคประชาชน ในฐานะรองประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ สภาผู้แทนราษฎร (กฎหมายเกี่ยวกับการลงโทษเด็ก) พร้อมด้วย คณะกรรมาธิการสัดส่วนพระประชาชน ร่วมแถลงข่าวภายหลังคณะกรรมการธิการถอนรายงานผลการพิจารณา ออกจากวาระการประชุมสภาผู้แทนราษฎร เพื่อนำไปแก้ไข
โดยนายณัฐวุฒิ กล่าวว่า จากเดิมเราเข้าใจและคาดหวังว่า การแก้ไขกฎหมายฉบับนี้จะเป็นไปด้วยความราบรื่น และจะได้ออกมาเป็นพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม ต่อจากเรื่องสมรสเท่าเทียมที่ได้มีการประกาศใช้ไปเมื่อวันที่ 24 ก.ย.ที่ผ่านมา แต่เป็นที่น่าเสียดายที่คณะกรรมาธิการจำเป็นต้องถอนร่าง ซึ่งไม่ได้ใช้คำว่ากลับไปพิจารณาแก้ไข แต่เป็นการกลับไปพิจารณาทบทวนด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้
1.มีการตั้งคำถามว่า การแก้ไขร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ เป็นไปด้วยเหตุใด เสมือนเป็นการย้อนกลับไปในวาระ 1 อีกครั้งหรือไม่ ทั้งที่ในวาระ 1 มีเพื่อนสมาชิกจากทุกพรรคการเมืองลงมติถึง 401 เสียงเห็นด้วยกับการแก้ไขการลงโทษของผู้ปกครอง ที่จะมีสิทธิ์ในการทำโทษบุตรนั้น จะต้องไม่เปิดช่องให้พิจารณาโดยดุลพินิจ ว่าการดำเนินการอย่างสมควรนั้นเป็นอย่างไร แต่ต้องมีการอุดช่องว่างการลงโทษ ที่ต้องไม่เป็นการทารุณกรรม และไม่กระทำใดๆ ที่ส่งผลกระทบต่อร่างกายหรือจิตใจ ซึ่งในชั้นกรรมธิการก็มีการปรับแก้บนพื้นฐานนี้ ส่วนเนื้อหาจะขัดกับหลักการหรือไม่นั้น เราขอยืนยันว่า ไม่ขัดต่อหลักการแต่อย่างใด
2.สำหรับการแก้ไขคณะกรรมธิการมีการปรับแก้อยู่ 3 จุดคือ หนึ่งการเพิ่มเรื่องการทำโทษ ที่จากเดิมทำเพื่อว่ากล่าวสั่งสอนนั้น เป็นการทำเพื่อปรับพฤติกรรม ซึ่งคำนี้ก็เป็นคำเชิงบวก เพราะจะสามารถทำให้ผู้ปกครองเข้าใจเจตนารมย์ของการลงโทษได้มากยิ่งขึ้น สองคือเปลี่ยนคำว่าทารุณกรรมหรือทำร้ายร่างกาย เป็นการใช้คำว่าความรุนแรง เพราะเราตระหนักดีว่าเป็นคำที่ได้รับการยอม และสามเราปรับคำว่าด้อยค่า ซึ่งเราเห็นตรงกันว่า อาจจะทำให้เกิดการตีความที่กว้างเกินไป มาเป็นการกระทำโดยมิชอบ ซึ่งเป็นการลดทอนศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ซึ่งเชื่อมโยงกับรัฐธรรมนูญ และคำที่ตระหนักดียิ่งในสังคมไทย
นายณัฐวุฒิ ยืนยันว่า เนื้อหาสาระมุ่งเน้นไปในแง่การสนับสนุนพ่อแม่ผู้ปกครองที่จะใช้วิธีการที่เหมาะสมในการทำโทษบุตร ไม่ใช่กรณีการถูกกล่าวอ้างว่าต่อไปนี้พ่อแม่ผู้ปกครองจะไม่สามารถลงโทษ หรือกระทำใดๆ กับบุตรได้ หรือไม่ใช่เป็นกรณีที่ถูกกล่าวอ้างว่า จะนำไปสู่ความแตกแยกในครอบครัว หรือการฟ้องร้อง และแทรกแซงการดำเนินคดีต่อพ่อแม่ผู้ปกครอง
3.ข้อท้วงติงสำหรับการเฆี่ยนตีนั้น ทางคณะกรรมาธิการไม่ได้ใส่เข้าไปใหม่ แต่เป็นคำที่ปรากฏอยู่ในขั้นรับหลักการจากสภาวาระ 1 อยู่แล้ว ซึ่งจะเห็นได้ว่าคำนี้มีความหมายในตัว ที่สะท้อนถึงการกระทำที่รุนแรงในระดับหนึ่ง ซึ่งก็เป็นคำที่คณะกรรมการสิทธิเด็กของสหประชาชาติเอง มีการท้วงติงมาว่า ขอให้ประเทศไทยมีการปรับแก้ให้คำนี้เป็นข้อห้ามในกฏหมายแพ่งและพาณิชย์ได้หรือไม่ และคณะกรรมาธิการก็ยืนตามนั้น
ดังนั้น จึงไม่มีเหตุผลใดๆ ที่จะมีการพิจารณาในลักษณะเพิกถอน หรือไม่เห็นด้วย กับการดำเนินการผ่านการพิจารณาในวาระ 2 และวาระ 3
อย่างไรก็ตาม พรรคประชาชนและคณะกรรมาธิการเอง ตระหนักดีว่า เราอาจจะยังไม่สามารถสื่อสารได้มากเพียงพอ ซึ่งตนเข้าใจว่าสังคมไทยมีความก้าวหน้า และมีความเข้าใจใหม่แบบนี้มากยิ่งขึ้น รวมถึงมีความห่วงใยปรารถนาดีต่อบุตร หากมีทางเลือกก็จะไม่ใช้ความรุนแรงต่อบุตร นี่เป็นข้อสะท้อนว่า เวทีการพิจารณาในสภาวันนี้ เหมือนจะยังมีความไม่เข้าใจอยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่งอาจเป็นความผิดพลาดของพวกเราเอง และเราคงต้องทำการบ้านให้หนักขึ้น เพื่อสื่อสารความเข้าใจที่ถูกต้องว่า กฎหมายนี้แม้จะเป็นกฎหมายของพรรคฝ่ายค้านเพียงพรรคเดียวฉบับเดียวในสองสมัยประชุมที่ผ่านมา และแน่นอนเราเสียดายว่าไม่มีกฎหมายของพรรคร่วมรัฐบาล หรือของรัฐบาลมาประกบกัน
แต่อย่านำเรื่องนี้มาเป็นประเด็นในทางการเมือง ที่จะไม่เห็นด้วยกับกฎหมายฉบับนี้ ควรจะพิจารณาบนเนื้อหาสาระ หรือเป้าหมาย ที่เราประกาศมาโดยตลอด ว่าเรามุ่งเน้นการปกป้องคุ้มครองสิทธิเด็กที่มากกว่า
ทั้งนี้ เมื่อมีการถอนร่างออกไป คณะกรรมาธิการจะมีเรียกประชุมโดยเร่งด่วน ไม่ได้เกินต้นสัปดาห์หน้า เพื่อปรับแก้ และดูว่ามีเหตุจำเป็นจะต้องทบทวนดังข้อกล่าวอ้างหรือไม่ หรือยืนยันโดยอาศัยร่างเดิมที่ผ่านในวาระ 1 หรือยืนยันโดยอาศัยร่างที่ร่วมกันพิจารณาที่ส่งสภาในวันนี้ หรือแก้ถ้อยคำอื่นใด เพื่อสื่อสารต่อประชาชน และผู้ปกครองของเด็กทุกคนในประเทศนี้ให้ชัดเจนยิ่งขึ้น ซึ่งตนยังไม่สามารถตอบได้ในตอนนี้ แต่คาดหวังว่าเมื่อคณะกรรมาธิการรับเรื่องนี้กลับไปทบทวนแล้ว จะรีบส่งกลับเข้าสู่สภา
ส่วนระยะเวลาพิจารณาของสภาในสมัยที่เหลืออยู่กว่าหนึ่งเดือนนี้ ตนอยากขอความร่วมมือไปยังรัฐบาลและฝ่ายรัฐบาล หากเห็นตรงกันว่ากฎหมายฉบับนี้ มีหลักประกันสำคัญ เป็นกฎหมายที่นำไปสู่การคุ้มครองเด็ก ก็ควรถูกพิจารณาในสมัยประชุมนี้ เพราะหากไม่สามารถพิจารณาในสมัยประชุมนี้ได้ ตนคงต้องตั้งคำถามว่า มีกระบวนการที่ผิดพลาดในการพิจารณาของสภาอย่างไร ถึงทำให้กฎหมายที่ดีหลายฉบับ ต้องถูกพิจารณาล่าช้า หรือเลื่อนการพิจารณา หรือทำให้ถูกเพิกถอน คว่ำร่างกฎหมายบางฉบับออกไป
"ท้ายที่สุด เมื่อพูดถึงเรื่องเด็ก ทุกคนเห็นตรงกันว่า เรื่องนี้เป็นเรื่องที่รอไม่ได้แม้แต่วันเดียว ฉะนั้น สิ่งที่เกิดขึ้นในวันนี้ เราต้องยอมรับว่า เราเสียดายโอกาสที่จะทำให้การคุ้มครองเด็กล่าช้าออกไป แต่เราอยากให้คำมั่นว่า จะรีบดำเนินการส่งเรื่องนี้กลับเข้ามาพิจารณา เพื่อพิสูจน์ให้ทุกคนในประเทศนี้เห็นว่า เราเคารพหลักการและปกป้องคุ้มครองสิทธิเด็ก เพื่อทำให้เขาเติบโตไปตามพัฒนาการที่ควรจะเป็นอย่างแท้จริง"
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
รองโฆษก รทสช. อัดพรรคส้มอย่าพล่ามเอาหล่อ ฟ้องปิดปากทำกองเชียร์เสียงแตก
นายพงศ์พล ยอดเมืองเจริญ รองโฆษกพรรครวมไทยสร้างชาติ (รทสช.) โพสต์ข้อความทางเฟซบุ๊กว่า ขอเอี่ยวสั้นๆ พรรคประชาชน ฟ้องประชาชน
ด้อมส้วมดิ้น! 'เพนกวิน' ย้อนพรรคส้ม ไม่ควรฟ้องปิดปากประชาชน
นายพริษฐ์ ชิวารักษ์ หรือ เพนกวิน ผู้ต้องหาคดี 112 ซึ่งหลบหนีออกไปต่างประเทศ โพสต์เฟซบุ๊กกล่าวถึงกรณีที่พรรคประชาชนประกาศว่า จะดำเนินการฟ้องร้องประชาชน
เพื่อความสบายใจ 'สส.พรรคส้ม' แจงยิบ 3 ประเด็น ต้องฟ้องหมิ่นประมาท ปกป้องสาธารณะ
นายวิโรจน์ ลักขณาอดิศร สส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาชน(ปชน.) โพสต์เฟซบุ๊ก แสดงความเห็นกรณีปชน.จะฟ้องบุคคลที่กล่าวหาปชน.เป็นแนวร่วมขบวนการบีอาร์เอ็น ว่า
'เจ๊มนพร' โต้เดือดปมถูกโยงเป็นเทวดาดิไอคอน
'มนพร' โต้กลับ หอบหลักฐาน จูงพยานให้สัมภาษณ์สื่อ หลังมีชื่อเป็น เทวดา ม. เอี่ยว 'ดิไอคอน' ย้ำทุกอย่างเป็นไปตามขั้นตอนของ กมธ. ไล่ 'พปชร.' ย้อนดูตัวเอง จวกปกติคนไม่ดีมักอ้างคนดี เป็นเกราะกำบังความผิด
'รอมฎอน' ชี้ช่องใช้อำนาจศาลอาญาระหว่างประเทศลุยคดีตากใบ!
นายรอมฎอน ปันจอร์ สส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาชน
ดร.เสรี ฟันธง 'พรรคเพื่อไทย' คือต้นตอทำให้ 'พรรคประชาชน' ชนะการเลือกตั้งครั้งหน้า
ดร.เสรี วงษ์มณฑา นักวิชาการด้านการตลาดและการสื่อสาร โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊กว่า