ครม.อนุมัติไม่เก็บค่าไฟเดือน ก.ย. ในพื้นที่น้ำท่วม ส่วน ต.ค. ให้ส่วนลด 30%

24 ก.ย.2567 - ที่ทำเนียบรัฐบาล นายจิรายุ ห่วงทรัพย์ ที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรี แถลงผลการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า ครม.มีมติเห็นชอบให้การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคดําเนินมาตรการช่วยเหลือผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทบ้านอยู่อาศัยและกิจการขนาดเล็ก (ผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทที่ 1 บ้านอยู่อาศัย และประเภทที่ 2 กิจการขนาดเล็ก ตามประกาศโครงสร้างอัตราค่าไฟฟ้าในปัจจุบันของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค) ในพื้นที่ที่หน่วยงานราชการประกาศให้เป็นพื้นที่ประสบภัยพิบัติจากอุทกภัย ตามที่กระทรวงมหาดไทย (มท.) เสนอ โดยการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคได้จัดทําข้อเสนอเพื่อดําเนินมาตรการช่วยเหลือด้านค่าไฟฟ้า สําหรับค่าไฟฟ้าประจําเดือนก.ย.และเดือนต.ค. 67 โดย 1.ไม่เรียกเก็บค่าไฟฟ้าประจําเดือนก.ย. 67 และกําหนดให้เป็นส่วนลดก่อนการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม และ2.ให้ส่วนลดค่าไฟฟ้าร้อยละ 30 โดยกําหนดให้เป็นส่วนลดก่อนการคํานวณภาษีมูลค่าเพิ่ม สําหรับค่าไฟฟ้าประจําเดือนต.ค. 67 ทั้งนี้ เพื่อช่วยบรรเทาความเดือดร้อนและลดภาระค่าไฟฟ้าให้กับผู้ประสบภัย

ขณะเดียวกันเพจเฟซบุ๊ก Ing Shinawatra ของนางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี โพสต์ข้อความว่า มติคณะรัฐมนตรี ประจำวันที่ 24 กันยายน 2567 มีประเด็นที่น่าสนใจ ดังนี้

1. ไม่เก็บค่าไฟพื้นที่อุทกภัย : คณะรัฐมนตรีได้เห็นชอบตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ เรื่องมาตรการช่วยเหลือด้านค่าไฟฟ้า แก่ผู้ใช้ไฟฟ้าที่ประสบอุทกภัยจากในพื้นที่ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สำหรับค่าไฟฟ้าประจำเดือน กันยายน – ตุลาคม 2567 โดยที่เดือนกันยายน 2567 ไม่เรียกเก็บค่าไฟฟ้า และเดือนตุลาคม 2567 ให้ส่วนลดค่าไฟฟ้าร้อยละ 30 โดยกำหนดให้เป็นส่วนลดก่อนการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม

2. ขยายเวลาพักหนี้เกษตรกร : คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติตามที่กระทรวงการคลังเสนอ เรื่องมาตรการพักชำระหนี้ให้กับลูกหนี้รายย่อยตามนโยบายรัฐบาล ระยะที่ 2 และระยะที่ 3 และการพัฒนาศักยภาพเพื่อฟื้นฟูลูกหนี้ ธ.ก.ส. เพื่อให้เกษตรกรผู้เข้าร่วมมาตรการดังกล่าวได้รับความช่วยเหลือจากรัฐบาลอย่างต่อเนื่อง โดยระยะที่ 2 ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2567 – 30 กันยายน 2568 และระยะที่ 3 ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2568 – 30 กันยายน 2569

3. ‘ทางรัฐ’ ลงทะเบียนน้ำท่วม: จากการได้รับฟังความคิดเห็นจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และอาสาสมัคร จึงได้สั่งการให้กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมถึงคณะอนุกรรมการ คอส. และ ศปช. ดำเนินการศึกษา ถึงความเป็นไปได้ในการใช้แอปพลิเคชัน “ทางรัฐ” ในสถานการณ์ฉุกเฉิน เช่น เหตุการณ์อุทกภัยในครั้งนี้ สำหรับการรายงานตัวของอาสาสมัคร การแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ การรายงานเหตุฉุกเฉิน การขอความช่วยเหลือ การลงทะเบียนขอรับเงินเยียวยา การประสานงานกับเจ้าหน้าที่ เพื่อให้เกิดการบูรณาการในการทำงาน และเกิดความรวดเร็วทั้งในส่วนภาครัฐ และประชาชน รวมถึงเร่งรัดให้กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เร่งดำเนินการการใช้ Cell broadcast เพื่อให้การแจ้งเตือนภัยแก่ประชาชนเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ และรวดเร็ว

ทีมงานนายกรัฐมนตรี

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

โฆษกศปช. เผยกรณี 'น้ำผุด' อ.เชียงดาว มอบหน่วยงานลงพื้นที่ศึกษาแนวทางใช้ประโยชน์

นายจิรายุ ห่วงทรัพย์ ที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรีและโฆษกศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย วาตภัย และดินโคลนถล่ม (ศปช.) เปิดเผยว่า ตามที่ ศปช. ได้เคยประกาศแจ้งเตือนให้ประชาชนในพื้นที่ภาคใต้เฝ้าระวังฝนตกหนักในพื้นที่ระหว่างวันที่ 20-24 พ.ย.ไปแล้วก่อนหน้านี้

คปท.บุกทำเนียบฯ ยื่น นายกฯ-ครม. ค้าน ‘กิตติรัตน์’ นั่งปธ.บอร์ดแบงก์ชาติ

คปท. ยื่นหนังสือถึงนายกรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรี คัดค้านการเสนอชื่อนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง เป็นประธานกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทย หรือ บอร์ดแบงก์ชาติ

‘ภูมิธรรม’ มั่นใจนายกฯกลับมาประชุมตั้ง ‘เจทีซี’ เสร็จ ชงเข้าครม.19 พ.ย.ทันที

‘ภูมิธรรม’ ระบุ หากนายกฯกลับมา เรียกถก ตั้ง เจทีซี วันนี้ก็ เข้าครม.ทันพรุ่งนี้ โยน กต.เคาะรายชื่อ ลั่น เกาะกูดไม่จบซํ้ารอยเขาพระวิหารแน่ ยัน ไม่มีเหตุผลต้องยกเลิกเอ็มโอยู 44

นายกฯอิ๊งค์ลั่นประเทศไทยต้องยืนหนึ่งบนเวทีโลก

นายจิรายุ ห่วงทรัพย์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า “ก่อนการเดินทางกลับประเทศไทยช่วงเวลา 18 นาฬิกาของวันนี้ (วันเสาร์ที่ 16 พฤศจิกายน) ตามเวลาเปรู ซึ่งจะใช้เวลาเดินทางประมาณ 27 ชั่วโมง โดยจะถึงประเทศไทยในวันจันทร์ที่ 18 พฤศจิกายน ประมาณ 11 นาฬิกา ตามเวลาในประเทศไทย นายกรัฐมนตรี นางสาวแพทองธาร ชินวัตร ให้สัมภาษณ์สรุปภาพรวมภารกิจ การประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปค ครั้งที่ 31 และการประชุมอื่นๆที่เกี่ยวข้อง ณ กรุงลิมา สาธารณรัฐเปรู ดังนี้