วิพากษ์นโยบายรัฐบาลขาดการนิรโทษกรรมสมานฉันท์ปชช. หากรบ.ฉ้อฉลจะไม่มีใครออกมาต่อสู้อีก

22 ก.ย.2567 - ที่อนุสรณ์สถาน 14 ตุลา สภาที่ 3 และคณะกรรมการญาติวีรชนพฤษภา’35 จัดเสวนาวิพากษ์วิจารณ์ตรวจสอบนโยบายรัฐบาลแพทองธาร ชินวัตร โดยมี นายอดุลย์ เขียวบริบูรณ์ ประธานคณะกรรมการญาติวีรชนพฤษภา’35 กล่าวเปิดงาน วิทยากรประกอบกด้วย นายปรีดา เตียสุวรรณ์ ประธานเครือข่ายธุรกิจเพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อม (SVN.) นพ.ระวี มาศฉมาดล หัวหน้าพรรคพลังธรรมใหม่ นายสุวิช สุมานนท์ ประธานสมาพันธ์คนงานรถไฟ พ.ท.แพทย์หญิง กมลพรรณ ชีวพันธุ์ศรี เครือข่ายประชาชนปกป้องประเทศ และนายเมธา มาสขาว ผอ.สถาบันสังคมประชาธิปไตย ดำเนินรายการ

โดยนายอดุลย์ เขียวบริบูรณ์ ประธานคณะกรรมการญาติวีรชนพฤษภา' 35 กล่าวว่า นโยบายเร่งด่วน 10 ข้อของรัฐบาลยังไม่มีประเด็นสำคัญที่ประชาชนต้องการเช่น ประเด็นการนิรโทษกรรมสมานฉันท์ประชาชน ต้องถือว่ารัฐบาลมีโอกาสเป็นครั้งที่ 2 ในการบริหารประเทศหลังจากความขัดแย้งและรัฐประหาร แต่เพราะเหตุใดไม่มีนโยบายปรองดองสมานฉันท์ที่มีความชัดเจนเป็นรูปธรรม เพื่อให้โอกาสสังคมเป็นครั้งที่ 2 เช่นกัน โดยสภาที่ 3 จะจัดเวทีตรวจสอบรัฐบาลเป็นซีรี่ย์ทุกเดือน

นพ.ระวี มาศฉมาดล หัวหน้าพรรคพลังธรรมใหม่ กล่าวว่า ความคืบหน้าในเรื่องการปรองดองสมานท์ฉันท์นั้น ในสมัยรัฐบาลพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ไม่ยอมผ่านกฎหมายนิรโทษกรรมหรือกฎหมายเพื่อสร้างเสริมสังคมสันติสุข โดยอ้างว่าให้เป็นไปตามกฎหมายที่มีอยู่ ปัจจุบันนี้ กฎหมาย 3 ส.นี้ได้มีการยื่นไปให้หลังการเลือกตั้ง 2566 ซึ่งค้างอยู่ในรัฐสภาโดยพรรคครูไทยสร้างชาติ นอกจากนี้ยังมีร่างกฎหมายนิรโทษกรรมของพรรครวมไทยสร้างชาติ และร่างกฎหมายของพรรคก้าวไกลด้วย ถูกบรรจุในการพิจารณาของสภาฯ แต่ยังไม่มีความคืบหน้า

นพ.ระวี กล่าวว่า หากไม่มีการเตะถ่วงน่าจะใช้เวลา 3 เดือน ถ้ามีการเตะถ่วงกฎหมายของสภาฯ ก็จะใช้เวลา 5-6 เดือนกว่าจะได้พิจารณา และหากสภาฯ กำหนดวันพิจารณาได้แล้ว คาดว่าร่างกฎหมายของทุกพรรคคงถูกนำมาพิจารณาร่วมกันในวาระเดียว

“ถ้าไม่มีการนิรโทษกรรมทางการเมือง ต่อไปถ้ามีรัฐบาลที่ฉ้อฉลก็จะไม่มีประชาชนออกมาต่อสู้หรอกครับ เพราะสู้แล้วติดคุก มีคดีติดตัวมากมาย ประเด็นที่เป็นอุปสรรคตอนนี้คือการนิรโทษกรรมคดี 112 ที่ยังมีความคิดเห็นที่แตกต่างจากหลายพรรคการเมือง “นพ.ระวี กล่าว

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'ปลาหมอคางดำ'ต้องเป็นศูนย์ ก่อนนิเวศย่อยยับ

จากสถานการณ์ปลาหมอคางดำที่กำลังระบาดไปในแหล่งน้ำธรรมชาติและพื้นที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในประเทศไทย   ซึ่งปลาหมอคางดำมีต้นกำเนิดอยู่ในทวีปแอฟริกา ประเทศไทยเองมีบริษัทเอกชนนำเข้ามาเมื่อปี 2553  ซึ่งวงจรปลาหมอคางดำขยายพันธุ์รวดเร็ว ทุกๆ 22 วัน

'อดุลย์' ยก 6 เหตุผล ค้านรับรองสว.ชุดใหม่ ชี้ขัดรธน. เฉ่งกกต.ละเว้นหน้าที่ผิดม.157

'อดุลย์' ยก 6 เหตุผล ค้านกกต.รับรองผลเลือกสว.ชุดใหม่ ชี้ต้นเหตุมาจากรธน.ชุด 'มีชัย' ที่เคยร่างรธน.ปี2534 จนเกิดเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ ชำแหละสว. 200 ไม่ใช่ตัวแทนกลุ่มอาชีพและตัวแทนปวงชนชาวไทย ถือว่าขัดรธน. เฉ่ง กกต.ไม่ยับยั้งแก้ไขตั้งแต่แรก ละเว้นหน้าที่ผิดม.157 ติง 'อนุทิน' อย่าขึ้นเป็นนายกฯแบบมีมลทิน จะไม่เป็นผลดีในอนาคต

รำลึก 32 ปี พฤษภาประชาธรรม ไม่ควรเสียเลือดเนื้อกันอีก ต้องทำให้รธน.เป็นธรรมกับทุกฝ่าย

ที่อนุสรณ์สถานฤษภาประชาธรรม สวนสันติพร ถนนราชดำเนิน คณะกรรมการญาติวีรชนพฤษภา' 35 จัดงาน ‘รำลึก 32 ปี พฤษภาประชาธรรม 2535’

'ธนกร' ขวาง 'ปิยบุตร' ปลุกแก้ปลายเหตุ นิรโทษเหมาเข่งคดี 112

'ธนกร' ค้าน 'ปิยบุตร' ชี้แค่ปลายเหตุนิรโทษคนผิด ม.112 ไม่เห็นด้วยยกโทษคนหมิ่นสถาบัน เหยียบย่ำหัวใจคนไทยมากไป จี้แก้ให้ตรงจุด จัดการตัวการบิดเบือนใส่ข้อมูลเท็จ-เบื้องหลังเยาวชนดีกว่า