20 ก.ย.2567 - นายนันทิวัฒน์ สามารถ อดีตรองผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองแห่งชาติ โพสต์เฟซบุ๊ก "ชอบแก้กันนัก" ระบุว่าบ้านเมืองน้ำท่วม คนเดือดร้อนแต่นักการเมืองไม่สนใจ ปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนรอไปก่อน ให้ข้าราชการว่ากันไป ความเร่งด่วนของรัฐบาลนี้คืออะไร ท่องเป็นแต่ต้องแก้รัฐธรรมนูญไม่แก้ชาวบ้านก็ไม่เดือดร้อน
จะขอแก้ความซื่อสัตย์และจริยธรรมรวม ทั้งอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญ
ทำไมต้องรีบร้อนคดีความที่มีการยื่นฟ้องคนในรัฐบาลประเด็นความซื่อสัตย์อันเป็นที่ประจักษ์และจริยธรรมของนักการเมือง มันจ่อเข้ามาหลายคดี ต้องตายเข้าสักคดี อย่ากระนั้นเลย แก้รัฐธรรมนูญเลยดีกว่า
อย่าลืมนะ นี่คือรัฐธรรมนูญปราบโกงแก้เรื่องปราบโกง จะให้คนเข้าใจว่ายังไงรัฐบาลนี้ไม่ให้ความสำคัญกับการปราบโกงจะเอาคนโกงเข้ามาเป็นรัฐมนตรีหรือไง
หรือมีอะไรไม่ชอบมาพากล เตรียมการอะไร
อย่ากระนั้นเลย เมื่อเปลี่ยนตุลาการไม่ได้แก้จากผิดให้เป็นถูก เขียนถ้อยคำให้ดิ้นได้ลดคุณสมบัติอย่างเทพเหลือแค่มารคนมีประวัติเคยด่างพร้อยก็เป็นได้รัฐธรรมนูญปราบโกงก็หมดความขลัง
คำตัดสินของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญที่ไหนๆก็ใช้เสียงข้างมากธรรมดาไม่มีการใช้เสียงสองในสามบทบัญญัติกฎหมายทุกคนเห็นต่างกันได้ตุลาการทุกคนก็มาจากการสรรหาในสภา
แต่มีคำถามว่า แก้รัฐธรรมนูญให้ผิดเป็นไม่ผิด ในขณะที่มีคดีที่เกี่ยวข้องกับนักการเมืองกำลังจะเข้าสู่กระบวนการพิจารณาของศาลเป็นการกระทำที่ขัดกันแห่งผลประโยชน์หรือมีผลประโยชน์ทับซ้อนมั้ย
มันร้อนรนผิดสังเกต
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ระทึกสุดขีด! 22 พ.ย. ศาลรธน.ลงมติ 'รับ-ไม่รับ' คำร้อง 'ทักษิณ-เพื่อไทย' ล้มล้างการปกครอง
คอนเฟิร์ม ศุกร์นี้ 22 พ.ย. 9 ตุลาการศาลรธน.นัดประชุมวาระพิเศษ หลังงดมาสองรอบ เตรียมนำหนังสือ-ความเห็นอัยการสูงสุด กางบนโต๊ะประชุม ก่อนลุ้นโหวตลงมติ”รับ-ไม่รับคำร้อง”คดีทักษิณ-เพื่อไทย โดนร้องล้มล้างการปกครองฯ
'แพทองธาร' โชว์วิชั่น การเมืองมีเสถียรภาพ ประเทศไทยจะดีขึ้น!
นายกฯ โชว์วิชั่น Forbes ไทยสงบ สันติ หวังรัฐบาลเปลี่ยน นายกฯเปลี่ยน แต่นโยบายเพื่อปชช.เดินหน้า บอกต่างชาติเจอคำถามแรกถามพ่อ-อาเป็นอย่างไร ย้ำการเมืองมั่นคง มีเสถียรภาพแน่นอน
'ไอติม-กมธ.การเมือง' รุดขอความชัดเจนศาลธรน. หวังได้คำตอบปมทำประชามติ 2 ครั้ง
นายพริษฐ์ วัชรสินธุ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคประชาชน ในฐานะประธานกรรมาธิการการเมืองการมีส่วนร่วม สภาผู้แทนราษฎร ให้สัมภาษณ์ก่อนเข้าร่วมหารือกับประธานศาลรัฐธรรมนูญเกี่ยวกับกระบวนการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ว่า อย่างที่เราทราบกันดีว่าการ
ไทยในสายตาต่างชาติ (ตอนที่ 48: พระราชกฤษฎีกา 1 เมษายน 2476 คือ การทำรัฐประหารเงียบหรือ ?)
ในตอนที่แล้ว ผู้เขียนได้สรุปเหตุการณ์สำคัญต่างๆที่เป็นเงื่อนไขที่นำมาสู่การประกาศพระราชกฤษฎีกาวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2476
ดิ้นทุกทาง!บอกประชามติเป็น กม.การเงินไม่ต้องรอ 180 วัน
'ชูศักดิ์' งัด รธน. มาตรา 137 อ้างกฎหมายประชามติเข้าข่ายกฎหมายการเงิน ไม่ต้องรอ 180 วัน จ่อถกวิปรัฐบาล เชื่อฝ่ายค้านเอาด้วย
รู้ไว้ซะ 'ปิยบุตร' เผย 'ทักษิณ' ได้กลับบ้าน เพราะก้าวไกลชนะเลือกตั้ง!
นายปิยบุตร แสงกนกกุล เลขาธิการคณะก้าวหน้า โพสต์เฟซบุ๊กว่า สัปดาห์ที่ผ่านมา มีเรื่องหนึ่งที่ถูกหยิบยกมาถกเถียงกันอีกครั้ง