'เชาว์' จวก 'ทวี' ตรรกะวิบัติ ยกเด็กทำผิดก่อนอายุ 18 ปี ยังเป็นผู้พิพากษาได้


20 ก.ย.2567 - นายเชาว์ มีขวด อดีตรองโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ โพสต์เฟซบุ๊กเรื่อง ตรกกะวิบัติของ "พ.ต.อ. ทวี สอดส่อง" มีเนื้อหาระบุว่า กรณีที่พันตำรวจเอกทวีสอดส่องรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าวเกี่ยวกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เกี่ยวกับ เรื่องจริยธรรมและความซื่อสัตย์สุจริตของผู้ที่จะเข้ามาเป็นรัฐมนตรี ว่า “ บางทีวันนี้แม้แต่ศาลเอง ผู้ที่กระทำความผิดตอนที่เป็นเด็กอายุก่อนถึง 18 ปี มีประวัติอาชญากร ยังให้เป็นผู้พิพากษาได้เลย แต่องค์กรศาลเอง คือเราจะดูว่าเรามีกฎหมายเรื่องเด็กไว้ ถ้าเด็กและเยาวชนกระทำความผิดก่อน 18 ปี เขามองว่าเป็นการล้างโทษเลย และสามารถเข้ารับราชการเป็นตุลาการยังได้เลย แต่ทำไมพอเราไม่มีนิยามที่ชัดเจนของเรื่องจริยธรรม เลยทำให้กฎหมายหรือเจตนารมณ์ที่ดีกลายเป็นสมบัติส่วนตัว ซึ่งสำหรับประชาชนเองกว่าจะได้สส.มา 1 คน ต้องใช้ประชาชนจำนวนมากถึงจะได้ โดยเฉพาะพรรคการเมืองซึ่งเป็นพรรคที่ประชาชนเลือกที่มีปาร์ตี้ลิตส์เยอะ ๆ แสดงว่าเขาเป็นพรรคของประชาชน” ตนไม่เถียงพันตำรวจเอกทวีว่าเด็กและเยาวชนกระทำความผิดก่อน 18 ปี สามารถสมัคร รับราชการ เป็น ตุลาการได้ เพราะมีกฎหมาย กำหนดไว้เป็นการเฉพาะในการลบล้างโทษ ซึ่งไม่ใช่เฉพาะแต่องค์กรศาล แต่ทุกองค์กรต้องปฏิบัติตาม หลักกฏหมาย ในข้อนี้เพราะ เป็นเรื่อง ที่เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนสากล ของเด็กและเยาวชน จึงไม่เห็นว่าเกี่ยวอะไรกับ เรื่องจริยธรรมของคนที่จะมาเป็นรัฐมนตรี ตามที่พันตำรวจเอกทวีหยิบยกมากล่าวอ้าง แต่สิ่งที่พ.ต.อ.ทวี แสดงความเห็นไว้ สะท้อนถึงตรรกะวิบัติของคนเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ซึ่งควรมีความรู้เรื่องกฎหมายดี แต่กลับตีความกฎหมายเข้าข้างตัวเอง เพราะประโยชน์บังตาคิดแต่จะกำจัดอุปสรรคในการเข้าสู่อำนาจของนักการเมืองสีเทา จนหน้ามืดอ้างข้อกฎหมายที่ไม่สามารถเทียบเคียงกันได้

"ความกระสันของนักการเมืองที่จับมือกันจะแก้มาตรฐานจริยธรรมของคนเป็นรัฐมนตรีให้ได้ ตอกย้ำว่า สส.ที่ควรเป็นผู้แทนปวงชนชาวไทย ยังคงทำหน้าที่ได้แค่เป็นตัวแทนของฝ่ายการเมือง ให้ความสำคัญกับการรักษาประโยชน์ของตัวเองมากกว่าการแก้ปัญหาของประชาชน และขอเตือนไว้เลยว่าเริ่มต้นแบบนี้จะทำให้รัฐบาลมีจุดจบไม่สวย ซึ่งจะโทษใครไม่ได้เลยนอกจากตัวเองรนหาที่เอง" นายเชาว์ ระบุ

อดีตรองโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ ระบุด้วยว่า ขอย้ำอีกทีว่าผมไม่เห็นด้วยกับการสุมหัวของนักการเมืองเพื่อแก้ไขกฎหมาย รัฐธรรมนูญ เกี่ยวกับจริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง เพราะเท่าที่มีอยู่ ก็ ดีอยู่แล้ว ไม่ได้ เดือดร้อนใคร นอกจาก คนบางคนที่กำลังมีปัญหาเรื่องความซื่อสัตย์สุจริตและจริยธรรม โดยเฉพาะพรรคเพื่อไทยเคยถูกพิษจริยธรรม เล่นงานจนเป็นเหตุให้นายเศรษฐา ทวีสินต้องกระเด็นจากเก้าอี้ จึงต้องรีบแก้เพราะนายกฯ คนปัจจุบันของพรรคเพื่อไทย มีเรื่องร้องเรียน เกี่ยวกับจริยธรรม ทั้งตนเองและ แต่งตั้ง บุคคลบุคคลอื่น ซึ่ง ไม่แน่อาจ กระเด็นซ้ำรอย อดีตนายกฯ เศรษฐา หรือไม่ ขณะที่ พรรคประชาชน ที่ร่วม ประสานเสียงเล่นด้วย ก็เพราะ ยังมีประเด็นเกี่ยวกับ 44 สส พรรคก้าวไกลที่ถูกยุบพรรค มีผลต่อเนื่องตามมาจากคำสั่งศาลรัฐธรรมนูญ ว่า มีพฤติกรรมล้มล้างและเป็นปฏิปักษ์ต่อการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข อันอาจเข้าข่ายฝ่าฝืนจริยธรรมร้ายแรง ด้วยหรือไม่ การจับมือกันเพื่อขอแก้รัฐธรรมนูญในเรื่องจริยธรรมของสองพรรคใหญ่จึงมองเป็นอย่างอื่นไม่ได้นอกจากประโยชน์ส่วนตน มากกว่าผลประโยชน์ของชาติ

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เพจดังย้อนอดีต สถาบันพระมหากษัตริย์ ทรงมองเห็นถึงพิษภัยของการพนัน แต่นักการเมืองทำตรงกันข้าม

เพจ ฤๅ - Lue History ซึ่งมีติดตามนับแสนคน โพสต์ข้อความกรณีรัฐบาลกำลังผลักดันให้มีกาสิโนว่าในขณะที่สถาบันพระมหากษัตริย์ ทรงมองเห็นถึงพิษภัยของการพนัน ที่มีต่อพสกนิกรของพระองค์ แม้จะสร้างรายได้จำนวนมากให้แ

รู้ทันกลเกมนักการเมือง แก้รัฐธรรมนูญมาตรา 256 ใครได้ใครเสีย?

ประชาธิปไตยจะไม่มีทางเบ่งบานได้เลย หากประชาชนยังไม่รู้เท่าทันกลเกมของนักการเมือง ที่มักแอบอ้างประชาชนในการกระทำสิ่งต่างๆ เพื่อผลประโยชน์ส่วนตน การเมืองไทยทุกวันนี้ยังคงเป็นพื้นที่ของคนรวยที่อยากมีอภิสิทธิ์เหนือคนทั่วไป หรืออยากได้อำนาจรัฐมา

จับเครือข่ายแก๊งคอลเซ็นเตอร์ อ้างเป็นนักการเมืองดัง ลวงเหยื่อ 22 ล้าน

พล.ต.ต.ภูมิพัฒน์ ภัทรศรีวงษ์ชัย ผู้บังคับการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี 5 (ผบก.สอท.5) มอบหมายให้ พ.ต.อ.กฤษดา มานะวงศ์สกุล ผกก.1 บก.สอท.5 สืบสวนจับกุมผู้ต้องหาที่กระทำผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมออนไลน์

'ชวน' สะบัดมีดใส่ 'ทักษิณ' เล่นการเมืองไม่ได้หวังปกป้องธุรกิจหรือเอาประโยชน์ให้ครอบครัว

'ชวน' สวน 'ทักษิณ' สส.แก่สุดอยู่ในพรรคเพื่อไทย 2 คน กรีดเข้าการเมืองไม่ใช่ปกป้องธุรกิจครอบครัว ยันไม่เคยแค้น 'แม้ว' แต่ย้ำทำไม่ดีกับบ้านเมืองจะมีปัญหา

'คุมขังนอกเรือนจำ'ความหวังใหม่ ระบบยุติธรรมหรือประตูสู่ความลำเอียง

ประเทศไทยกำลังเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญในระบบยุติธรรม โดยในปี 2568 กรมราชทัณฑ์จะเริ่มใช้ ระเบียบคุมขังนอกเรือนจำ ซึ่งเป็นนโยบายใหม่ที่ออกแบบมาเพื่อลดความแออัดในเรือนจำ