โพลหนุน NGOรับเงินต่างชาติ เปิดเผยจำนวนเงินทุน วัตถุประสงค์การใช้

16 ม.ค.2565 – ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจของประชาชน เรื่อง “การควบคุม NGOทำการสำรวจระหว่างวันที่ 10-12 มกราคม 2565 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา และอาชีพทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,314 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับการควบคุม NGO

การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่างโดยใช้ความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ “นิด้าโพล” สุ่มตัวอย่างด้วยวิธีแบบง่าย  (Simple Random Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่น ร้อยละ 97.0

จากการสำรวจเมื่อถามถึงความคิดเห็นของประชาชนต่อการออกกฎหมายกำหนดให้ NGO ต้องเปิดเผยแหล่งที่มาของเงินทุน พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 52.36 ระบุว่า เห็นด้วยมาก รองลงมา ร้อยละ 27.78 ระบุว่า ค่อนข้างเห็นด้วย ร้อยละ 11.26 ระบุว่า ไม่เห็นด้วยเลย ร้อยละ 7.69 ระบุว่า ไม่ค่อยเห็นด้วย และร้อยละ 0.91 ระบุว่า ไม่ตอบ/ไม่สนใจ 

ด้านความคิดเห็นของประชาชนต่อการออกกฎหมายกำหนดให้ NGO ที่ได้รับเงินจากต่างประเทศต้องเปิดเผยจำนวนเงินทุนที่ได้รับและวัตถุประสงค์ในการใช้เงินทุน พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 58.14 ระบุว่า เห็นด้วยมาก รองลงมา ร้อยละ 26.03 ระบุว่า ค่อนข้างเห็นด้วย ร้อยละ 8.45 ระบุว่า ไม่เห็นด้วยเลย ร้อยละ 6.92 ระบุว่า ไม่ค่อยเห็นด้วย และร้อยละ 0.46 ระบุว่า ไม่ตอบ/ไม่สนใจ

สำหรับความคิดเห็นของประชาชนต่อการออกกฎหมายห้าม NGO ทำกิจกรรม ดังต่อไปนี้ 1. ห้ามทำกิจกรรมที่กระทบต่อความมั่นคงของรัฐ ตัวอย่าง ร้อยละ 34.70 ระบุว่า เห็นด้วยมาก รองลงมา ร้อยละ 25.50 ระบุว่า ไม่เห็นด้วยเลย ร้อยละ 22.22 ระบุว่า ค่อนข้างเห็นด้วย ร้อยละ 15.83 ระบุว่า ไม่ค่อยเห็นด้วย และร้อยละ 1.75 ระบุว่า ไม่ตอบ/ไม่สนใจ

2. ห้ามทำกิจกรรมที่ก่อให้เกิดความแตกแยกในสังคม ตัวอย่าง ร้อยละ 44.52 ระบุว่า เห็นด้วยมาก รองลงมา ร้อยละ 21.31 ระบุว่า ไม่เห็นด้วยเลย ร้อยละ 19.86 ระบุว่า ค่อนข้างเห็นด้วย ร้อยละ 12.79 ระบุว่า ไม่ค่อยเห็นด้วย และร้อยละ 1.52 ระบุว่า ไม่ตอบ/ไม่สนใจ3. ห้ามทำกิจกรรมในลักษณะการแสวงหาอำนาจรัฐหรือเอื้อประโยชน์ต่อพรรคการเมือง ตัวอย่าง ร้อยละ 46.95 ระบุว่า เห็นด้วยมาก รองลงมา ร้อยละ 23.52 ระบุว่า ไม่เห็นด้วยเลย ร้อยละ 19.03 ระบุว่า ค่อนข้างเห็นด้วย ร้อยละ 8.75 ระบุว่า ไม่ค่อยเห็นด้วย และร้อยละ 1.75 ระบุว่า ไม่ตอบ/ไม่สนใจ

ท้ายที่สุดเมื่อถามถึงความคิดเห็นของประชาชนต่อการออกกฎหมายควบคุมการดำเนินกิจกรรมของ NGO จะสร้างผลกระทบต่อสิทธิเสรีภาพและการรวมกลุ่มของประชาชน พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 31.28 ระบุว่า ค่อนข้างสร้างผลกระทบ รองลงมา ร้อยละ 22.83 ระบุว่า ไม่สร้างผลกระทบเลย ร้อยละ 19.63 ระบุว่า สร้างผลกระทบอย่างมาก ร้อยละ 19.03 ระบุว่า ไม่ค่อยสร้างผลกระทบ และร้อยละ 7.23 ระบุว่า ไม่ตอบ/ไม่สนใจ  

เมื่อพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 8.75 มีภูมิลำเนาอยู่กรุงเทพฯ ร้อยละ 25.80 มีภูมิลำเนาอยู่ปริมณฑลและภาคกลาง ร้อยละ 18.34 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคเหนือ ร้อยละ 33.56 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และร้อยละ 13.55 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคใต้ ตัวอย่างร้อยละ 48.86 เป็นเพศชาย และร้อยละ 51.14 เป็นเพศหญิง

ตัวอย่างร้อยละ 8.60 อายุ 18-25 ปี ร้อยละ 13.70 อายุ 26-35 ปี ร้อยละ 21.23 อายุ 36-45 ปี ร้อยละ 34.86 อายุ 46-59 ปี และร้อยละ 21.61 อายุ 60 ปีขึ้นไป ตัวอย่างร้อยละ 95.89 นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 2.36 นับถือศาสนาอิสลาม ร้อยละ 1.14 นับถือศาสนาคริสต์ และอื่น ๆ และร้อยละ 0.61 ไม่ระบุศาสนา ตัวอย่างร้อยละ 23.59 สถานภาพโสด ร้อยละ 71.69 สมรสแล้ว ร้อยละ 4.11 หม้าย หย่าร้าง แยกกันอยู่ และร้อยละ 0.61 ไม่ระบุสถานภาพการสมรส

ตัวอย่างร้อยละ 27.09 จบการศึกษาประถมศึกษาหรือต่ำกว่า ร้อยละ 36.30 จบการศึกษามัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 5.56   จบการศึกษาอนุปริญญาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 26.64 จบการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่า ร้อยละ 3.73 จบการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า และร้อยละ 0.68 ไม่ระบุการศึกษา

ตัวอย่างร้อยละ 8.60 ประกอบอาชีพข้าราชการ/ลูกจ้าง/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 14.39 ประกอบอาชีพพนักงานเอกชน ร้อยละ 22.83ประกอบอาชีพเจ้าของธุรกิจ/อาชีพอิสระ ร้อยละ 13.32 ประกอบอาชีพเกษตรกร/ประมง ร้อยละ 15.45 ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป/ผู้ใช้แรงงาน      ร้อยละ 20.85 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ/ว่างงาน ร้อยละ 3.88 เป็นนักเรียน/นักศึกษา และร้อยละ 0.68 ไม่ระบุอาชีพ

ตัวอย่างร้อยละ 20.32 ไม่มีรายได้ ร้อยละ 22.83 รายได้เฉลี่ยต่อเดือนไม่เกิน 10,000 บาท ร้อยละ 24.43 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,001-20,000 บาท ร้อยละ 12.48 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 20,001-30,000 บาท ร้อยละ 5.56 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 30,001-40,000 บาท ร้อยละ 5.63 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 40,001 บาทขึ้นไป และร้อยละ 8.75 ไม่ระบุรายได้.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เฉลิมพระเกียรติ ‘ในหลวง‘ ทส.-มท. ลุยแหล่งน้ำบาดาลขนาดใหญ่แก้ภัยแล้ง

‘เกณิกา’ เผย ‘ทส.-มท.’ จับมือเดินหน้าสานต่อ โครงการแหล่งน้ำบาดาลขนาดใหญ่แก้ปัญหาภัยแล้งอันเนื่องมาจากพระราชดำริ 72 แห่งเฉลิมพระเกียรติ ในหลวง ครบ 6 รอบ 72 พรรษา

รัฐบาลชวนปชช. จอง-แลกเหรียญเฉลิมพระเกียรติ 'ในหลวง' เริ่ม 24 ก.ค.

รัฐบาลเชิญชวนประชาชน จอง-แลกเหรียญกษาปณ์ที่ระลึก เหรียญที่ระลึก และเหรียญเฉลิมพระเกียรติ 'ในหลวง' เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ ตั้งแต่ 24 ก.ค.นี้

'เศรษฐา' อย่าสับสน! โพลวัดผลงาน ไม่ใช่เรตติ้งนายกฯ

นายเทพไท เสนพงศ์ อดีต สส.นครศรีธรรมราช พรรคประชาธิปัตย์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า อย่าสับสน !!! ระหว่างผลงาน กับการเลือกนายกฯ คนต่อไป

เผยคนไทยให้เกียรติคนที่ใช้ ตำแหน่ง ยศ นำหน้าชื่อ และเกือบ 90% ไม่เคยตรวจสอบว่าจริงหรือไม่

นำหน้านามนั้น สำคัญไฉน” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 15-17 กรกฎาคม 2567 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ ทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,310 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับการให้ความสำคัญกับคำนำหน้านาม

เทวฤทธิ์ -กลุ่มสว.พันธุ์ใหม่ เสรีนิยมก้าวหน้า ปฏิรูปสภาสูง

สมาชิกวุฒิสภา(สว.)ชุดปัจจุบัน 200 คน จะประชุมร่วมกันนัดแรกในวันอังคารนี้ 23 ก.ค. โดยมีระเบียบวาระสำคัญที่จะให้สว.ทั้งหมดร่วมกันประชุมลงมติ นั่นก็คือ

พรรคร่วมรัฐบาลขอเขย่า ไม่ตกเป็น'หมูในอวย'พท.

แม้ว่าพรรคร่วมรัฐบาล นำโดยพรรคภูมิใจไทย พรรคพลังประชารัฐ และพรรครวมไทยสร้างชาติ ฯลฯ จะยอมผ่านเรือธงของพรรคเพื่อไทย โครงการดิจิทัลวอลเล็ต แจกเงิน 1 หมื่นบาทให้แก่ประชาชนจำนวน 50 ล้านคน