7 ก.ย.2567 - รศ.หริรักษ์ สูตะบุตร อดีตรองอธิการบดีฝ่ายบริหารบุคคล มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โพสต์เฟซบุ๊กระบุว่านักโทษเด็ดขาดชาย ทักษิณ ชินวัตร กลับประเทศไทย เข้าสู่กระบวนการยุติธรรม ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองมีคำพิพากษาให้จำคุก 8 ปี
รัฐสภาโหวตด้วยเสียง 482:165 ให้นายเศรษฐา ทวีสิน เป็นนายกรัฐมนตรี
23 สิงหาคม 2566 00.20 น
ย้ายตัวนายทักษิณ จากเรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร ไปชั้น 14 โรงพยาบาลตำรวจ เนื่องจากมีอาการนอนไม่หลับ แน่นหน้าอก ความดันโลหิตสูง ออกซิเจนวัดที่ปลายนิ้วต่ำ พล.ต.ท.โสภณรัชต์ สิงหาจารุ แพทย์ใหญ่โรงพยาบาลตำรวจยืนยันว่านายทักษิณป่วยจริง และบอกว่า นายทักษิณ พูดยังพูดไม่ไหว
31สิงหาคม 2566
ตามที่ปรากฏในราชกิจจานุเบกษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานพระมหากรุณาอภัยลดโทษ นายทักษิณ ชินวัตรให้เหลือ 1 ปี
23 ตุลาคม 2566
นายทักษิณได้รับการผ่าตัด ที่แผนกศัลยกรรมประสาท โรงพยาบาลตำรวจ
18 กุมภาพันธ์ 2567
นายทักษิณ ได้รับการพักโทษ ได้กลับบ้านจันทร์ส่องหล้า หลังจากที่พักอยู่ที่ชั้น 14 โรงพยาบาลตำรวจมาโดยตลอด
29 พฤษภาคม 2567
อัยการสูงสุดมีคำสั่งฟ้องนายทักษิณ ชินวัตร กรณีถูกดำเนินคดีตามความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112
10 มิถุนายน 2567
นายทักษิณยื่นต่ออัยการ ขอความเป็นธรรมกรณี ถูกดำเนินคดีตามความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112
18 มิถุนายน 2567
อัยการส่งตัวนายทักษิณยื่นฟ้องต่อศาลอาญา แต่ได้รับการประกันตัว หลักทรัพย์ 5 แสนบาท และห้ามเดินทางออกนอกประเทศ
20 กรกฎาคม 2567
นายทักษิณ ชินวัตร เดินไปพบปะกับนายอนุทิน ชาญวีรกูล และนักการเมืองอื่นๆ เล่นกอล์ฟ และร่วมงานเลี้ยง ที่ Rancho Charnvee Resort ของลูกสาวคุณอนุทิน สื่อมวลชนตั้งชื่อปรากฏการณ์ครั้งนี้ว่า "ปฏิญญา เขาใหญ่"
7 สิงหาคม 2567
ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยยุบพรรคก้าวไกล กรณีล้มล้างและเป็นปฏิปักษ์ต่อการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และตัดสิทธิทางการเมืองกรรมการบริหาร 11 คน
14 สิงหาคม 2567
ศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยว่า ความเป็นรัฐมนตรีของนายเศรษฐา ทวีสิน สิ้นสุดลงเฉพาะตัว ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 160(4) ไม่มีความซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ประจักษ์ และมาตรา 160(5) มีพฤติกรรมอันเป็นการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรกง ตามคำร้องของ 40 สว.
14 สิงหาคม 2567 ช่วงเย็น
แกนนำพรรคร่วมรัฐบาลมุ่งหน้าสู่บ้านจันทร์ส่องหล้า เพื่อประชุมตกลงเรื่องการเสนอชื่อบุคคลเป็นนายกรัฐมนตรี แทนนายเศรษฐา ทวีสิน ข่าวแพร่สะพัดว่า จะเป็น นายชัยเกษม นิติศิริ
15 สิงหาคม 2567
พรรคร่วมรัฐบาลทั้งหมดร่วมกันแถลงว่าจะเสนอชื่อ นางสาวแพทองธาร ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี
16 สิงหาคม 2567
สภาผู้แทนราษฎรมีมติด้วยคะแนน 319:145 ให้ นางาสาวแพทองธาร ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี
17 สิงหาคม 2567
นายทักษิณ ชินวัตร ได้รับพระราชทานอภัยโทษพร้อมกับนักโทษรายอื่นๆ ทำให้พ้นโทษทันทีก่อนกำหนดเดิม
18 สิงหาคม 2567
พิธีรับพระบรมราชโองการ โปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้ง นางสาวแพทองธารเป็นนายกรัฐมนตรี
23 สิงหาคม 2567
นายทักษิณแสดงปาฐกถา ในงาน Dinner Talk : Vision Thailand จัดโดยสำนักข่าวเนชั่น มีนักการเมืองและนักธุรกิจ กลุ่มทุนยักษ์ใหญ่ไปร่วมงานกันอย่างคับคั่ง นายทักษิณแสดงปาฐกถา ที่มีเนื้อหาประหนึ่งว่าเป็นนโยบายรัฐบาลชุดใหม่
25 สิงหาคม 2567
มีบุคคลที่สงวนนาม ไปยื่นร้องต่อกกต.ให้ยุบพรรคเพื่อไทย สืบเนื่องจากคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ว่านายกรรมการบริหารพรรคเพื่อไทยยอมให้บุคคลครอบงำ ในการแต่งตั้งนายพิชิต ชื่นบาน เป็นรัฐมนตรี ต่อมามีนายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ ยื่นร้อง น.ส.แพทองธาร กรณีลาออกจากกรรมการบริษัท 20 บริษัท ว่าทำได้ภายในวันเดียวจริงหรือไม่ และล่าสุดยังยื่นคำร้องว่า นายทักษิณชินวัตรเป็นผู้ครอบครองนายกรัฐมนตรี และยังมีบุคคลที่สงวนนาม ยื่นคำร้องในประเด็นอื่นๆอีก เช่นกรณีตัวแทนพรรคการเมืองทุกพรรคไปร่วมประชุมที่บ้านจันทร์ส่องหล้า อันถือเป็นการที่พรรคการเมืองยอมให้บุคคลครอบงำ รวมทั้งหมดในปัจจุบันมีกว่า 10 คำร้อง
29 สิงหาคม 2567
พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียเวส ตั้งโต๊ะแถลงว่า น้อยใจที่รับใช้พรรคเพื่อไทยมาโดยตลอด แต่ถูกปฏิบัติเหมือนกับพรรคการเมืองทั่วไปที่มี ส.ส.เพียง 1 คน จึงแสดงหลักฐานว่าตนเองได้เคยขึ้นไปพบนายทักษิณ บนชั้น 14 โรงพยาบาลตำรวจ ถึง 2 ครั้ง แต่ยังไม่พูดชัดๆว่านายทักษิณป่วยจริงหรือไม่
คณะกรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์ มีมติด้วยเสียงส่วนใหญ่ให้เข้าร่วมรัฐบาลกับพรรคเพื่อไทย โดยจะได้ตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการ 1 ตำแหน่ง และรัฐมนตรีช่วยว่าการ 1 ตำแหน่ง
4 กันยายน 2567
มีพระบรมราชโองการ โปรดเกล้าแต่งตั้ง ครม.ชุด แพทองธาร ชินวัตร หลังจากที่มีการตรวจสอบคุณสมบัติกันอย่างเข้มข้น เป็นผลให้มีบุคคล 2 คน ยอมสละสิทธิไม่รับตำแหน่ง 2 คน คนหนึ่งให้น้องเป็นแทน คนหนึ่งให้ลูกสาวเป็นแทน
พฤติกรรมต่างๆของนักการเมืองที่แสดงออกในช่วงเวลาที่ผ่านมา แสดงให้เห็นว่า โดยรวม นักการเมืองบ้านเรายังไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นเลย มีแต่จะแย่ลงและแย่ลง ยังคงเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตนมากกว่าประโยชน์ชาติ แต่ปากก็อ้างว่าทำเพื่อประชาชน คิดแต่จะเป็นรัฐมนตรีโดยไม่คำนีงว่าตัวเองมีสติปัญญาความสามารถแค่ไหน มีประวัติความเป็นมาอย่างไร ยังดีที่เจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญฉบับนี้ไม่ต้องการให้คนที่ไม่ซื่อสัตย์สุจริตและไม่มีจริยธรรม เข้ามาเป็นรัฐมนตรี และศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยทำให้การพิจารณาคุณสมบัติผู้ที่จะมาเป็นรัฐมนตรีมีบรรทัดฐานอ้างอิงได้ง่ายขึ้น ทำให้การจะเลือกใครเข้ามาเป็นรัฐมนตรีต้องมีการตรวจสอบคุณสมบัติกันมากขึ้นอย่างไม่เคยมีมาก่อน
การที่มีผู้ที่จะได้เป็นรัฐมนตรีแต่ต้องถอนตัว หรือไม่เสนอชื่อ เพราะปัญหาเรื่องคุณสมบัติ คิดแต่เพียงว่าตำแหน่งรัฐมนตรีเป็นสมบัติของตน จะยกให้ใครก็ได้ ยกให้น้องก็ได้ ยกให้ลูกก็ได้ ยกให้พ่อก็ยังได้ แทนที่จะหาคนที่มีสติปัญญาความสามารถเหมาะสมมาช่วยประเทศชาติ กลับยกให้ลูก ให้น้อง แต่นี่ไม่ใช่เป็นครั้งแรก เพราะการกระทำแบบนี้มีมาหลายรัฐบาลแล้ว เป็นการตอกย้ำว่า นักการเมืองเหล่านี้ เห็นแก่ประโยชน์ตัวเองมากกว่าประโยชน์ชาติ ไม่เคยเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น มีแต่จะเลวร้ายลงทุกวัน
แม้จะมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งคณะรัฐมตรีเป็นที่เรียบร้อยแล้ว แต่ก็มีข้อสังเกตว่า ประกาศแต่งตั้งรัฐมนตรีในราชกิจจานุเบกษา มีข้อความดังนี้
"พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้ประกาศว่า ตามที่ได้ทรงมีพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้ง นางสาวแพทองธาร ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี ตามประกาศลงวันที่ 16 สิงหาคม พุทธศักราช 2567 แล้วนั้น
บัดนี้นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้เลือกสรรผู้ที่สมควรดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี เพื่อบริหารราชการแผ่นดิน สืบต่อไปแล้ว ........ "
ข้อความเหล่านี้ย่อมมีนัยยะว่า นางสาวแพทองธารจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบบุคคลที่ตัวเองได้เลือกสรรให้เป็นรัฐมนตรี อย่างที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงเป็นอื่นได้
วันนี้บุคคลต่างๆ ต่างก็เปิดหน้าให้เราได้เห็นกันแล้วว่า ใครเป็นใคร เชื่อว่า ขบวนการปัดกวาดบ้านเมืองให้สะอาดเรียบร้อย บัดนี้ได้เริ่มทำงานแล้วครับ
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ลุ้นศาลรับคดีล้มล้าง ตุลาการถก6ประเด็น‘ทักษิณ-พท.’/ดันแก้ประชามติไม่รอ180วัน
"ทักษิณ-พท." ระทึก! 9 ตุลาการศาล รธน.ยืนยันนัดประชุมวาระพิเศษ 22 พ.ย.นี้
ระทึกสุดขีด! 22 พ.ย. ศาลรธน.ลงมติ 'รับ-ไม่รับ' คำร้อง 'ทักษิณ-เพื่อไทย' ล้มล้างการปกครอง
คอนเฟิร์ม ศุกร์นี้ 22 พ.ย. 9 ตุลาการศาลรธน.นัดประชุมวาระพิเศษ หลังงดมาสองรอบ เตรียมนำหนังสือ-ความเห็นอัยการสูงสุด กางบนโต๊ะประชุม ก่อนลุ้นโหวตลงมติ”รับ-ไม่รับคำร้อง”คดีทักษิณ-เพื่อไทย โดนร้องล้มล้างการปกครองฯ
'แพทองธาร' โชว์วิชั่น การเมืองมีเสถียรภาพ ประเทศไทยจะดีขึ้น!
นายกฯ โชว์วิชั่น Forbes ไทยสงบ สันติ หวังรัฐบาลเปลี่ยน นายกฯเปลี่ยน แต่นโยบายเพื่อปชช.เดินหน้า บอกต่างชาติเจอคำถามแรกถามพ่อ-อาเป็นอย่างไร ย้ำการเมืองมั่นคง มีเสถียรภาพแน่นอน
ไทยในสายตาต่างชาติ (ตอนที่ 48: พระราชกฤษฎีกา 1 เมษายน 2476 คือ การทำรัฐประหารเงียบหรือ ?)
ในตอนที่แล้ว ผู้เขียนได้สรุปเหตุการณ์สำคัญต่างๆที่เป็นเงื่อนไขที่นำมาสู่การประกาศพระราชกฤษฎีกาวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2476
'ชูศักดิ์' บอกรู้ตั้งแต่เห็นคำร้อง 'ธีรยุทธ' ไปไม่ได้ เหตุไม่เข้าเกณฑ์ล้มล้างปกครอง
นายชูศักดิ์ ศิรินิล รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในฐานะรองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย (พท.) กล่าวถึงกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญนัดพิจารณา
นายกฯ มอบรางวัลประกาศเกียรติคุณเป็น 'ค่าของแผ่นดิน' ขอช่วยผลักดันนโยบาย
น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เป็นประธานในพิธีมอบรางวัลประกาศเกียรติคุณเป็น “ค่าของแผ่นดิน” ประจำปี 2566 โดยมี