จับตา 'สหายใหญ่' นั่งรมว.กห. คลื่นใต้ในกองทัพ รัฐประหารครั้งต่อไป จะรุนแรง!

'เสธ.นิด' จับตา 'สหายใหญ่'นั่ง รมว.กห. คลื่นใต้น้ำรุนแรง หวั่นพรบ.ต้านการรัฐประหารเป็นอันตราย การรัฐประหารครั้งต่อไปจะรุนแรงและเสียเลือดเนื้อ แนะทำงานตามรัฐธรรมนูญ อย่าล้ำเส้นหรืออย่าทำตัวเป็นตัวควบคุม Regulator ก็แล้วกัน

4ก.ย.2567- พลอากาศโทวัชระ ฤทธาคนี หรือ เสธ.นิด อดีตนายทหารนักบินกองทัพอากาศ โพสต์ข้อความบนเฟซบุ๊ก ว่า

“แม้ว่าเสี่ยอ้วน ภูมิธรรม เวชยชัย” นักยุทธศาสตร์ระบอบทักษิณ สถาปนิกปฏิญญาฟินแลนด์ ผู้เคยใช้นามจัดตั้งแห่งพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย ที่มีชื่อจัดตั้งว่า “สหายใหญ่” ในยุค ๖ ตุลาคม ๒๕๑๙ จะมาคุ้มกองทัพในตำแหน่ง รมว.กห.ก็ตาม

แม้ว่านายภูมิธรรม ถือว่าเป็นนักยุทธศาสตร์การเมืองชั้นเทพ มีประสบการณ์สูง เพราะเคยเข้าป่าร่วมกับ พคท. ๓ ปี เคยเคลื่อนไหวและปฏิบัติการในเขตอีสานใต้ รวมทั้งเป็นคนสนิทแกนนำ พคท.ในฐานะคนขับรถและร่วมกันเคลื่อนไหวทางการเมืองของ พคท.ในลาว

มีความชำนาญยุทธวิธีทางทหาร การรบแบบกองโจร รู้แนวยุทธศาสตร์กองทัพไทยดี เป็นนักเคลื่อนไหวระดับยุทธศาสตร์ตั้งแต่เป็นนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รู้จักเล่ห์กลการเมืองไทยดีมากๆ

เมื่อเป็นนักเคลื่อนไหวทางการเมืองและรู้สึกกับทักษิณสมัยที่ นายทักษิณเป็นนายเวรนายปรีดา รมว.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เขาก็รู้จักทหารเพื่อนๆ นายทักษิณเป็นอย่างดีหลายคน จนทักษิณชวนตั้งพรรคไทยรักไทยเขาก็เป็นสถาปนิกสร้างพรรคคนหนึ่งและเมื่อรัฐมนตรีก็รู้จัก ผบ.เหล่าทัพหลายคนและที่เป็นองคมนตรีในปัจจุบัน

แต่จะควบคุมแบบเบ็ดเสร็จค่อนข้างยากเพราะตอนนี้ “ระบอบทักษิณ” ไม่มีทหารในราชการเป็นฐานหนุนแล้ว ไม่เหมือนช่วงรัฐบาลทักษิณต่อรัฐบาลนางยิ่งลักษณ์ ก็มี นายทหารเพื่อนรุ่นนักเรียนเตรียมทหารรุ่น ๑๐ คุมกำลังและมีรุ่นต่อๆ มาอีกเพียง รุ่น ๒ - ๓ รุ่น ที่ให้การสนับสนุนเพราะ “ลาภยศและตำแหน่งในรัฐวิสาหกิจ”

ทหารส่วนใหญ่รุ่นปัจจุบัน “ไม่มีส่วนใดที่เกี่ยวข้องกับระบอบทักษิณหรือมีก็น้อยมาก”

พรบ.จัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหมในเชิงนิตินัย De jure รมว.กห.ก็ควบคุมไม่ได้ในเชิงพฤตินัย De facto

ดังนั้นการแต่งตั้งโยกย้ายนายทหารไม่เป็นไปตามครรลอง ย่อมส่งผลกระทบถึงรัฐบาลหาก “แหกคอก”

(ยกเว้น) หากมี นายทหารที่ลัดเส้นทางเพราะเลียก้นระบอบทักษิณ หรือตัวทักษิณหรือเสี่ยอ้วน อาจจะถูกต่อต้านไม่ได้รับความร่วมมือจากทหารในบังคับบัญชาเท่าที่ควรหรืองานดำเนินการช้าโดยเฉพาะในเรื่องการซื้ออาวุธยุทโธปกรณ์แต่กองทัพก็สามารถดำรงภารกิจได้ตามอัตภาพเพราะเป็นหน้าที่ (นักการเมืองบีบทหารอาชีพไม่ได้ง่ายๆ ครับ)

ขั้นตอนการโยกย้ายมีขั้นตอนมากพอสมควร “คลื่นใต้น้ำในกองทัพนั้นรุนแรงเมื่อทุกเหล่าทัพร่วมมือกัน”

พรบ.ต้านการรัฐประหารนั้นเป็นอันตรายอย่างยิ่งเพราะว่า “การรัฐประหาร@ในครั้งต่อไปหากมี พรบ.นี้ จะรุนแรงและเสียเลือดเนื้ออย่างแน่นอน” เพราะฝ่ายรัฐประหารจะปฏิบัติการอย่างเฉียบขาดรุนแรง

ในอดีตการรัฐประหารมีการเจรจาระหว่างทหารกับทหารเหตุการณ์จึงสงบลงและฝ่ายที่ก่อรัฐประหารไม่สำเร็จต้องหนีออกนอกประเทศไปก่อนเสมอ ตกระกำลำบากพอสมควรจึงกลับเข้ามารับโทษ

การรัฐประหารเป็นการปฏิบัติการอย่างทางทหารหรือไม่ใช่ลักษณะทหารอย่างฉับพลันโดยหน่วยใดหน่วยหนึ่งและเมื่อปฏิบัติการแล้วจึงมีผู้ร่วมด้วยจึงสำเร็จ ตามหลักการจู่โจม (Surprise Principle) โดยเฉพาะในยุคดิจิตอล การสื่อสารรวดเร็วมาก

กองทัพมีแผนหลายแผนที่เกี่ยวข้องกับการสั่งการทางทหาร เพราะแผน คือ คำสั่ง เมื่อมีการสั่งการทุกหน่วยก็สามารถปฏิบัติตาม แผนนั้นๆ ได้ทันที

ในอดีตการรัฐประหารล้มเหลวเพราะ ๑. กองทัพขาดเอกภาพในเรื่องความคิดและขัดแย้งในการแบ่งมอบอำนาจ ๒. กองทัพอากาศไม่ร่วมมือด้วยเพราะขัดต่อแนวคิดของทหารอากาศ (กบฏพล.อ.ฉลาด หิรัญศิริ กบฏเมษายน พล.ต.มนูญ รูปขจร (ในขณะนั้น) ทหารอากาศไม่เอาด้วย (ไม่ใช่ใครจะขับเครื่องบินได้นะครับ!)

ในปัจจุบันทหารมีเอกภาพมากที่สุดในประวัติศาสตร์การเมืองกับทหาร

นายทหารมีได้ “โง่เง่าเต่าตุ่นอย่างที่คนหลายคนคิด แต่ก็เรียนขั้นมหาบัณฑิตกันทุกคน (หลักสูตร รร.เสนาธิการนั้นเทียบเท่าปริญญาโทอยู่แล้ว) และมีไม่น้อยที่จบปริญญาโททางพลเรือน

ดังนั้นทหารในปัจจุบัน ส่วนใหญ่เป็นทหารอาชีพ มีอุดมการณ์และเป้าหมายชีวิตที่ทุกคนยอมรับกันทุกคน (จึงซื้อตัวยาก)

ดังนั้นจึงขอเตือนว่า “คุณทำงานตามรัฐธรรมนูญ ทำตามที่มี พรบ.กำหนด หรือทำตามนโยบายที่ประกาศในสภาผู้แทนราษฏร อย่างล้ำเส้นหรืออย่าทำตัวเป็นตัวควบคุม Regulator ก็แล้วกัน”

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'ภูมิธรรม' อวยนายกฯ อิ๊งค์มีภูมิปัญญาไม่ต้องติว

'ภูมิธรรม' เผย วาระครม.นัดพิเศษหารือนโยบายพรรคร่วมก่อนแถลงต่อสภา เน้นนโยบายกรอบใหญ่ แก้ปัญหาความยากจน ส่วน ‘ดิจิทัลวอลเล็ต’ คุยพรรคร่วมตลอด เชื่อ 'นายกฯอิ๊งค์' ตอบกระทู้สภาได้ฉะฉาน ไม่ต้องติว