'ธีระชัย' อภิปรายนอกสภาปมข้อดีข้อเสียดิจิทัลวอลเล็ต!

04 ก.ย.2567 - นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล ประธานกรรมการด้านวิชาการ พรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) และอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง โพสต์เฟซบุ๊กในหัวข้อ "อภิปรายนอกสภา-2: เรื่องข้อดีข้อเสียดิจิทัลวอลเล็ต" ระบุว่า เมื่อวันที่ 5 ส.ค. มีบทความใน FT เกี่ยวกับโครงการดิจิทัลวอลเล็ตของพรรคเพื่อไทย โดยโปรเฟสเซอร์มหาวิทยาลัยคอร์เนล (ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัย Top 10 ของสหรัฐ)

[เขาเห็นว่า ถ้าทำโครงการนี้สำเร็จ ก็จะเปลี่ยนโฉมระบบการเงินในไทย ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าสนใจติดตาม แต่ในขณะเดียวกัน กรณีประเทศใดที่จะใช้นโยบายทำนองนี้ ควรพิจารณาอย่างรอบคอบ

แนวคิดของโครงการทำนองนี้คือ รัฐจะสามารถควบคุมวิธีการใช้เงินที่แจกได้อย่างละเอียด เช่น กำหนดเวลาที่ต้องใช้เงิน (คือทำให้เงินหมดอายุเมื่อพ้นเวลาหนึ่ง) หรือกำหนดให้วงเงินลดลงไปเรื่อยๆ ถ้าหากผู้รับเงินแจกไม่รีบนำไปใช้จ่าย (คือทำให้เงินมีดอกเบี้ยชนิดที่ติดลบ) หรือกำหนดห้ามใช้ซื้อสินค้าบางชนิด เช่น เหล้า บุหรี่ เป็นต้น

อย่างไรก็ดี เขาเตือนว่า เงินดิจิทัลที่ออกโดยบริษัทเอกชนตามคำสั่งของกระทรวงคลังดังกล่าว อาจทำลายความเชื่อถือในเงินปกติที่ออกโดยแบงก์ชาติ

ถ้าเงินดิจิทัลแบบนี้ขยายใหญ่โต ก็จะกลับทำให้แบงค์ชาติเปลี่ยนบทบาท จากปัจจุบันที่เป็นผู้ออกเงินตรา ไปเป็นผู้ทำหน้าที่เพียงแต่เป็นเอเยนต์ของรัฐ โดยรัฐเป็นผู้ออกเงินตราเสียเอง]

ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ ประธานสภาพัฒน์ให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับบทความนี้ในลิงค์ข้างล่าง

ผมตั้งข้อสังเกตดังนี้

1.จะต้องแก้ไขกฎหมายเงินตราเสียก่อน

กฎหมายเงินตราบัญญัติให้แบงค์ชาติเป็นผู้ออกธนบัตร โดยมาตรา 14 ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยมีอำนาจจัดทำจัดการ และนำออกใช้ซึ่งธนบัตรของรัฐบาล โดยรัฐมนตรีเป็นผู้ประกาศ ชนิด ราคา สี ขนาด และลักษณะอื่น ๆ ของธนบัตร และมาตรา 9 ห้ามมิให้ผู้ใดทำ จำหน่าย ใช้ หรือนำออกใช้ซึ่งวัตถุหรือเครื่องหมายใด ๆ แทนเงินตรา เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรี

ดังนั้น เงินดิจิทัลที่ออกโดยบริษัทเอกชนตามคำสั่งของกระทรวงคลังซึ่งมีเนื้อหาทางเศรษฐกิจเป็นเงินตราอย่างหนึ่ง จึงต้องขออนุญาตจากรัฐมนตรีผ่านแบงค์ชาติ

แต่ถ้ารัฐบาลต้องการให้กระทรวงคลังทำหน้าที่ออกเงินดิจิทัล ที่เป็นระบบคู่ขนานกับระบบธนบัตรที่ออกโดยแบงค์ชาติ อันจะเป็นการเบียดเข้าไปในกรอบอำนาจหน้าที่ของแบงค์ชาติ นั้น รัฐบาลก็จะต้องแก้ไขกฎหมายเพื่อให้อำนาจกระทรวงคลังทำหน้าที่นี้เสียก่อน

2.ไม่มีประเทศไหนทำเช่นนี้

กรณีประเทศตะวันตกที่มี stable coin เป็นเงินคริปโทชนิดหนึ่งที่ขับเคลื่อนด้วยบล็อกเชน ซึ่ง stable coin เหล่านี้เป็นเครื่องมือสำคัญที่ทำให้เกิด smart contract ตามที่คุณทักษิณกล่าวในการแสดงวิสัยทัศน์ นั้น

ผมขอเรียนว่า stable coin เหล่านี้ในประเทศตะวันตก ออกโดยบริษัทเอกชนกันเอง โดยไม่มีอำนาจพิเศษที่กระทรวงคลังของประเทศนั้นมอบให้ใดๆ และขณะนี้ก็ยังไม่มีกฎหมายออกมาควบคุมการดำเนินการ stable coin แบบนี้ จึงมักเกิดปัญหา บางคอยน์ที่โยงกับสกุลดอลลาร์ ถูกกล่าวหาว่ามีทรัพย์สินสกุลดอลลาร์หนุนหลังไม่เต็ม 100%

ดังนั้น กรณีเงินดิจิทัลที่ออกโดยบริษัทเอกชนไทยตามคำสั่งของกระทรวงคลังไทย จึงเป็นโมเดลที่ยังไม่มีประเทศใดในโลกทำกันเลย จะแหวกแนวสุดๆ

ส่วนกรณีที่มีการออก Central Bank Digital Currency (CBDC) นั้น ล้วนออกโดยธนาคารชาติของประเทศนั้นๆ ไม่ใช่ออกโดยบริษัทเอกชนตามคำสั่งของกระทรวงคลังของประเทศนั้น

3.ต้องไม่มั่วนโยบายการคลังปะปนกับนโยบายการเงิน

กรณีที่รัฐบาลต้องการแจกเป็นเงินดิจิทัลเพื่อให้สามารถควบคุมการใช้เงินแบบที่โฟกัสเงื่อนไขได้ นั้น ในกระบวนการปกติปัจจุบัน รัฐบาลควรเอาเงินปกติไปมอบให้แบงค์ชาติ เพื่อแลกขอให้แบงค์ชาติออกเป็น CBDC แล้วส่งไปให้แก่ประชาชนอีกทอดหนึ่ง ซึ่งจะเป็นการแยกกรอบนโยบายการคลังไม่ให้ปะปนกับนโยบายการเงิน อันเป็นไปตามครรลองปกติในทุกประเทศ

แต่ถ้ารัฐบาลไทยไปแก้ไขกฎหมายให้กระทรวงคลังมอบอำนาจพิเศษให้แก่บริษัทเอกชนเป็นผู้ออกเงินดิจิทัลให้แก่ประชาชนแทนแบงค์ชาติ นั้น จะเป็นการเอากรอบนโยบายการคลังไปมั่วปะปนกับนโยบายการเงิน ซึ่งมีแต่จะทำให้ความมั่นใจในสกุลบาทตามปกติลดลงเพราะเป็นการลิดรอนอำนาจหน้าที่ของแบงค์ชาติ เป็นอันว่า รัฐบาลไทยจะทำให้ทั่วโลกขาดความมั่นใจในนโยบายการเงินของแบงค์ชาติไทยด้วยน้ำมือของรัฐบาลเอง

4.การใช้บล็อกเชนจะสร้างปัญหา

คุณทักษิณกล่าวในการแสดงวิสัยทัศน์ว่า การแจกรอบที่สอง จะแจกเป็นเงินดิจิทัล และน่าจะด้วยเหตุนี้ รัฐบาลรักษาการณ์จึงเพิ่งโอนย้ายงบประมาณของสถาบันการเงินเฉพาะของรัฐ 5 แห่ง วงเงินรวม 35,000 ล้านบาท ไปใช้ในโครงการแจกเงินดิจิทัล

ผมขอเรียนให้ท่านทราบว่า กรณีเงินดิจิทัลที่ออกโดยบริษัทเอกชนไทยตามคำสั่งของกระทรวงคลังไทย ที่ขับเคลื่อนโดยบล็อกเชน นั้น จะมีปัญหาว่าการอนุมัติผ่านรายการใช้เวลานาน ตัวอย่างกรณีบิตคอยน์ใช้เวลาต่อรายการละ 10 นาทีกว่าจะยืนยันรายการโอนบิตคอยน์ได้สำเร็จ และบางรายการต้องรอเป็นชั่วโมง

นอกจากนั้น การเชื่อมโยงจากระบบบล็อกเชนเข้าไปในบัญชีเงินฝากของประชาชนแต่ละคนในแบงก์พาณิชย์ต่างๆ นั้น จะไปก่อความเสี่ยงในระบบคอมพิวเตอร์ของแบงก์พาณิชย์ จึงจะต้องได้รับความเห็นชอบจากแบงก์พาณิชย์และแบงค์ชาติเสียก่อน

อนึ่ง กรณีที่คณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อพิจารณาร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายปี 2568 ลงคะแนนเสียงส่วนใหญ่อนุมัติเปลี่ยนแปลงรายการ โดยโอนย้ายงบประมาณของสถาบันการเงินเฉพาะของรัฐ 5 แห่ง วงเงินรวม 35,000 ล้านบาท ไปใช้ในโครงการแจกเงินดิจิทัล นั้น ผมคาดว่า สส. ที่ยกมือลงมติเห็นชอบดังกล่าว คงไม่ได้เชิญให้ตัวแทนกระทรวงการคลังมาชี้แจงว่า เงินดิจิทัลที่จะแจก จะขับเคลื่อนโดยบล็อกเชนหรือไม่ และกระทรวงการคลังจะแก้ปัญหาการผ่านรายการล่าช้าได้อย่างไร

ถ้าท่านไม่ได้เชิญตัวแทนกระทรวงการคลังมาชี้แจง ก็น่าเป็นห่วงว่า ที่ท่านยกมือลงมติเห็นชอบดังกล่าว ท่านได้ทำหน้าที่กรรมาธิการอย่างถูกต้องรอบคอบครบถ้วนแท้จริง หรือไม่?

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'ภูมิธรรม' อวยนายกฯ อิ๊งค์มีภูมิปัญญาไม่ต้องติว

'ภูมิธรรม' เผย วาระครม.นัดพิเศษหารือนโยบายพรรคร่วมก่อนแถลงต่อสภา เน้นนโยบายกรอบใหญ่ แก้ปัญหาความยากจน ส่วน ‘ดิจิทัลวอลเล็ต’ คุยพรรคร่วมตลอด เชื่อ 'นายกฯอิ๊งค์' ตอบกระทู้สภาได้ฉะฉาน ไม่ต้องติว

'จุลพันธ์' แจงงบจัดซื้อเครื่องบินของ สลน. ไม่ใช้ในภารกิจการทหาร

นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ ลุกขึ้นชี้แจงเกี่ยวกับความจำเป็นในการจัดซื้อเครื่องบินของสำนักงานเลขาธิการนายกรัฐมนตรี (สลน.) ว่า คณะกรรมาธิการได้ดูในรายละเอียดในชั้นของคณะอนุกรรมธิการ รวมถึงมีการสอบถามในการประชุมของกรรมาธิการค่อนข้างละเอียดแล้ว โ

'จุลพันธ์' สวนฝ่ายค้าน ยันโยกงบ 5 แบงก์รัฐ ใช้ดิจิทัลวอลเล็ต ไม่ขัดกฎหมาย

นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รมช.คลัง ในฐานะรองประธานกมธ.วิสามัญพิจารณางบฯ68 ชี้แจงมาตรา 6 งบกลาง ว่าในส่วนของบกลางรายการกระตุ้นเศรษฐกิจ เพื่อใช้ในโครงการเติมเงินดิจิทัลวอลเล็ต ส่วนที่ห่วงในการเปลี่ยนแปลงงบของธนาคารรัฐ 5 แห่ง เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจนั้นชอบด้วยกฎหมายทุกประกาศ

'ศิริกัญญา' ซัดรัฐบาลชักดาบ 5 ธนาคาร 3.5 หมื่นล้าน เข็นดิจิทัลวอลเล็ต ยังไม่รู้จะพอหรือไม่

น.ส.ศิริกัญญา ตันสกุล สส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาชน ฐานะกมธ.เสียงข้างน้อย ที่อภิปรายต่อการทำนโยบายเติมเงินหมื่นผ่านดิจิทัลวอลเล็ต ว่า ในส่วนของการปรับลดงบประมาณจาก 5 ธนาคาร รวมเป็นเงิน 3.5 หมื่นล้านบาทนั้น มีความประหลาด เพราะในชั้นอนุกมธ. ไม่มีการปรับลดค่าใช้จ่ายส่วนที่นำไปชำระหนี้ และเป็นเงินที่ใช้ในส่วนของโครงการค้างเก่า เช่น โครงการจำนำสินค้า

'ภูมิธรรม'คาดกระบวนการทูลเกล้าฯ ครม.เสร็จสัปดาห์นี้ พร้อมแถลงนโยบายกลางเดือน

ที่รัฐสภา นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ในฐานะปฏิบัติหน้าที่นายกรัฐมนตรี กล่าวถึงการทู

กมธ.งบ68 วุฒิสภา มั่นใจพิจารณาทันกรอบเวลา หลังหน่วยงานชี้แจงครบแล้ว

คณะกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญพิจารณาศึกษาร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2568 วุฒิสภา นำโดย นายเศรณี อนิลบล สมาชิกวุฒิสภา (สว.) ในฐานะโฆษก กมธ. กล่าวว่า การประชุมของกมธ.ได้ดำเนินการมาตั้งแต่วันที่ 14 ส.ค.