31 ส.ค.2567 - เมื่อเวลา 15.55 น. นายภูมิธรรม เวชชัย รองนายกรัฐมนตรีและรมว.พาณิชย์ ปฏิบัติหน้าที่แทนนายกรัฐมนตรี และคณะ มาถึงยังเขื่อนเจ้าพระยา จ.ชัยนาท เพื่อติดตามสถานการณ์น้ำ พร้อมรับฟังการบริหารจัดการน้ำลุ่มน้ำเจ้าพระยาและปริมาณน้ำในเขื่อนหลักของลุ่มน้ำเจ้าพระยา
ต่อมา นายภูมิธรรม ให้สัมภาษณ์ภายหลังเสร็จสิ้นภารกิจว่า การมาวันนี้ได้มีการปรึกษาหารือกันตลอด และรับฟังความห่วงใยต่างๆ ขณะที่น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกฯ ลงพื้นที่ในฐานะหัวหน้าพรรคเพื่อไทย ลงพื้นที่ก็มีความเป็นห่วงราษฎรและอยากให้เราดูตรงนี้ให้เต็มที่ เพราะเห็นใจประชาชนที่อยู่ตรงนี้เราลำบาก ส่วนวันนี้ตรงก็ได้มีการหารือกับกระทรวงมหาดไทยและกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) โดยทั้งหมดได้มีประสานงานกับผู้ว่าราชการจังหวัดทั้งจ.สุโขทัยและนครสวรรค์
นายภูมิธรรม กล่าวว่า วัตถุประสงค์วันนี้คือเราได้ยินว่ามีน้ำท่วมหลาก โดย ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า รมว.เกษตรและสหกรณ์ ได้มีการลงพื้นที่มาก่อนล่วงหน้าแล้ว ด้วยความห่วงใยประชาชน น้ำที่ลงมาที่นี่ลักษณะเป็นน้ำหลากลงมาแล้วกระจายตัว ซึ่งได้สร้างความเสียหายให้กับประชาชน โดยพื้นที่น่าน พะเยา แพร่ เราได้ลงพื้นที่และสั่งการไปเรียบร้อยแล้ว ให้ทุกฝ่ายช่วยกันระบายน้ำลงแม่น้ำโขง ซึ่งน้ำที่ลงมาส่วนใหญ่ลงมาจากแม่น้ำยม ทั้งนี้ แม่น้ำปิง วัง ที่ลงมาจากจ.เชียงใหม่
คาดว่าจะไม่กระทบอะไรมาก เพราะยังสามารถรับน้ำได้ค่อนข้างมาก ส่วนทางจ.แพร่ทางด้านที่ลงเขื่อนสิริกิติ์ก็ไม่มีปัญหาอะไรซึ่งจากที่ดูแต่ละเขื่อน มีเปอร์เซ็นต์ที่สามารถรับน้ำได้ ทั้งนี้แม่น้ำยมมีปัญหามากที่สุดต่อเนื่องมาหลายสิบปี เมื่อน้ำไหลลงมาก็ไม่มีที่รองรับน้ำ ทำให้จ.สุโขทัย ที่เป็นที่ลุ่มต่ำรับน้ำทั้งหมด
นายภูมิธรรม กล่าวว่า ทั้งนี้ เรามา จ.สุโขทัย เพื่อแก้ไขป้องกัน สิ่งไหนที่กีดขวางทางน้ำก็สั่งการให้สทนช. ทลายลง เช่น รางรถไฟเดิมที่เป็นจุดขวางน้ำก็ขอให้รื้อออก เพื่อให้น้ำมีทางระบายลงไปให้เร็วที่สุด รวมถึง การแก้ไขปัญหา มอบถุงยังชีพให้กับประชาชนที่ประสบภัยน้ำท่วม ทั้งนี้ เราได้มีการประกาศภาวะอุบัติภัยไปแล้ว ทำให้จังหวัดสามารถใช้เงิน 20 ล้านบาท ในการดูแลเยียวยาเบื้องต้นที่สามารถทำได้ทันเหตุการณ์ ซึ่งในส่วนของรัฐบาลก็มีงบกลางที่จะช่วยเรื่องภัยพิบัติอยู่ เราก็มาดูว่าอันไหนที่จะป้องกันเพิ่มเติมหรือป้องกันน้ำที่กำลังเข้ามาก็ควรจะทำ
ทั้งนี้ เมื่อตนกลับไปจะเสนอเป็นวาระแห่งชาติ สิ่งที่จะใช้ขอให้คิดกันในระยะยาวตั้งแต่ต้นน้ำยันปลายน้ำ
นายภูมิธรรม กล่าวว่า สำหรับจังหวัดสุโขทัยถึงเวลาแล้วที่จะต้องมาพูดคุยกันถึงเขื่อนแก่งเสือเต้นเพราะที่ผ่านมาสร้างอะไรไม่ได้ ทำอะไรไม่ได้เนื่องจากมีความคิดเห็นที่แตกต่าง 2 ฝ่ายระหว่างพี่น้องประชาชนที่ประสบภัยพิบัติ ทุกข์ร้อนต้องจมอยู่กับน้ำขัง น้ำหลาก มาเป็นเวลานาน แต่ขณะเดียวกันเมื่อมีเรื่องเกี่ยวข้องกับสภาพแวดล้อม เราก็เข้าใจในความแตกต่าง เราก็คิดว่าไม่มีสิ่งใดที่ทำได้อย่างเดียว แต่ก็คำนึงถึงผลกระทบที่เกิดขึ้น และดูแลทุกอย่างให้ครบถ้วน ฉะนั้นเรื่องนี้ก็ขอให้เป็นประเด็นสาธารณะที่จะพิจารณาและคณะรัฐมนตรีจะพิจารณาอย่างถ่องแท้ ทั้งนี้เราได้มีการประสานงานกับเวิลด์แบงค์ซึ่งเขาขอเข้ามาดำเนินการเราก็ให้เขาไปศึกษาผลกระทบต่างๆ ซึ่งต้องดูประชาชนที่ได้รับผลกระทบและประชาชนที่ไม่อยากให้มีการสร้างเขื่อนเกิดขึ้นว่ามีเหตุผลอะไรมีจำนวนเท่าไหร่ การชดเชยเยียวยา เราสามารถ ทำให้เป็นธรรมกับเขาได้ โดยจะมีการไปพิจารณารายละเอียดอีกครั้ง ถ้าตรงนี้เป็นที่ยุติ สำหรับสาธารณะโดยเร็วที่สุด ซึ่งตนอยากให้เกิดขึ้นภายในปีนี้ ถ้าเกิดสามารถจัดการจบได้ในครม. สามารถดำเนินการได้เลย เพราะต้องใช้เวลาอีกหลายปี และเงินที่นำมาแก้ปัญหาอยู่ในระบบที่สามารถจัดการปัญหาได้อย่างเต็มที่
นายภูมิธรรม กล่าวอีกว่า ขณะนี้มีข่าวลือในโซเชียลมีเดียมากว่าจะเกิดน้ำท่วมเหมือนปี 54 ซึ่งเมื่อมาดูแล้วมีระบบการกระจายน้ำ ที่กรมชลประทานและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้ทำงานร่วมกันให้น้ำไปกระจายในส่วนต่างๆ
ส่วนจะมีพายุเข้ามาหรือไม่นั้น ตอนนี้เราอยู่ในโลกที่สภาวะอากาศเปลี่ยนแปลง จากการตรวจสอบข้อมูลเชิงวิชาการของกรมอุตุนิยมวิทยา ค่อนข้างตรงกับสถานการณ์ ได้ดูว่าจุดเฉพาะมีปัญหาตรงไหน และเมื่อคำนวนแล้วเชื่อว่าเราสามารถรับสถานการณ์ได้ อย่างเขื่อนเจ้าพระยา จังหวัดชัยนาท และอีกหลายเขื่อนมีน้ำเพียงหนึ่งในสี่หรือหนึ่งในสองเท่านั้น ยังสามารถรองรับปริมาณน้ำได้มาก และน้ำอยู่ในช่วงของการระบายเพียงครึ่งหนึ่งเท่านั้น จึงไม่อยากให้พี่น้องประชาชนวิตก ข้อมูลส่วนวิชาการที่เราทำขณะนี้ เราทำด้วยใจที่รู้สึกว่าพี่น้องประชาชนยากลำบากและมีความเป็นห่วงเป็นใย พี่น้องประชาชนรวมถึงพื้นที่กรุงเทพมหานครด้วย เพราะฉะนั้นทุกอย่างต้องเชื่อใจหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องทั้งหมด และคณะรัฐมนตรีจะต้องเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันในการแก้ไขปัญหานี้ให้ได้
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
นายกฯ สั่งส่วนราชการเก็บรายละเอียดช่วยเหลือประชาชนต่อไป แม้จะคืนพื้นที่น้ำท่วมแล้ว
นายจิรายุ ห่วงทรัพย์ ในฐานะโฆษกศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย วาตภัย และดินโคลนถล่ม (ศปช.) เปิดเผยว่า น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้สั่งการให้ส่วนราชการในพื้นที่ ศปช.ส่วนหน้า แม้จะปิดไปแล้ว แต่ขอให้ส่วนราชการในพื้นที่ประจำ
ศปช. เตือน 10 จังหวัดภาคใต้ เฝ้าระวังน้ำท่วม-ดินโคลนถล่มจากฝนตกหนัก
นายจิรายุ ห่วงทรัพย์ ที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรีและโฆษกศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย วาตภัย และดินโคลนถล่ม หรือ ศปช. เปิดเผยว่า ในช่วงวันที่ 2 - 5 พ.ย. 67 จะมีฝนตกหนักในพื้นที่ภาคใต้ ที่ประชุม ศปช.
ดั๊บเบิ้ล เอ ส่งใจให้กัน สนับสนุนการช่วยเหลือฟื้นฟูอุทกภัย
นายชาญวิทย์ จารุสมบัติ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ ดั๊บเบิ้ล เอ เป็นตัวแทนมอบผลิตภัณฑ์เพื่อสุขอนามัย Double A Care ให้กับมูลนิธิเพื่อนพึ่ง(ภาฯ)ยามยาก สภากาชาดไทย ภายใต้โครงการ
'กกร.เชียงใหม่' จ่อชง 'ครม.สัญจร' เยียวยาผู้ประกอบการน้ำท่วม
นายอาคม สุวรรณกันทา ประธานสมาพันธ์ SMEs ไทย จังหวัดเชียงใหม่ และรองประธานหอการค้าจังหวัดเชียงใหม่ เปิดเผยว่า มาหาอุทกภัยที่เกิดขึ้นกับเชียงใหม่ปีนี้
สอน 'เพื่อไทย' หัดเอาอย่าง 'อภิสิทธิ์' นักการเมืองรักษาสัจวาจา
นายเทพไท เสนพงศ์ อดีต สส.นครศรีธรรมราช โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า เพื่อไทย ไม่นิรโทษ มาตรา 112 ไม่แคร์มวลชน แต่แคร์พรรคร่วม
กรมอุตุฯ ประกาศฉบับ 2 เตือนอากาศแปรปรวน 2-5 พ.ย.
นางสาวสุกันยาณี ยะวิญชาญ ผู้ตรวจราชการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม รักษาราชการแทนอธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา ออกประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา