‘หมอเหรียญทอง’ ใช้ยุทธวิธี 'ชาวบ้านบางระจัน' สู้น้ำท่วม งัด 10 มาตรการดูแลผู้ป่วย

26 ส.ค.2567-พล.ต.นพ.เหรียญทอง แน่นหนา ผอ.รพ.มงกุฎวัฒนะ โพสต์เฟซบุ๊กระบุว่า สมัยที่ผมอายุ 51 มวลน้ำกำลังเพิ่มสูงขึ้นที่ถนนแจ้งวัฒนะอย่างรวดเร็ว สถานการณ์มหาอุทกภัยปี พ.ศ.2554 ครอบคลุมพื้นที่ภาคกลางทุกจังหวัดแล้ว รพ.ในพื้นที่จังหวัดอยุธยา-ปทุมธานี-นนทบุรี ส่งต่อผู้ป่วยจำนวนมากหนีน้ำมายัง รพ.มงกุฎวัฒนะจนเต็ม  รพ.

แล้วมวลน้ำก็เต็มพื้นที่ ถ.แจ้งวัฒนะและเขตกรุงเทพฯเหนือ 100% แต่ผมใช้ยุทธวิธี ‘ชาวบ้านบางระจัน’ ด้วยการรวมบุคลากร รพ.มงกุฎวัฒนะทุกนายย้ายที่พักมารวมตัวกันปักหลักพักค้างที่ รพ.มงกุฎวัฒนะ ทำให้ รพ.มงกุฎวัฒนะไม่ต้องย้ายผู้ป่วยจำนวนมากออกจาก รพ.มงกุฎวัฒนะ ทั้งยังทำให้ รพ.มงกุฎวัฒนะเป็น ‘รพ.ศูนย์รับส่งต่อผู้ป่วยและผู้ประสบมหาอุทกภัยเพียงแห่งเดียวในพื้นที่ประสบมหาอุทกภัยในกรุงเทพฯเหนือและปริมณฑล

ผมเป็นคนคิดนอกกรอบ คนที่ไม่รู้จักผมก็หาว่าผมบ้าบิ้น แต่ผมพิสูจน์ผลงานมาหลายปฏิบัติการแล้วว่าการคิดนอกกรอบนั้นอาจจะเป็น ‘ทองออก’ ของสถานการณ์คับขันหน้าสิ่วหน้าขวาน โดยเฉพาะสาธารณภัยที่มีผู้ประสบภัยจำนวนมาก ถึงแม้ผมจะเป็นคนที่น่าหมั่นไส้ของคนหลายคน จนมีเหตุที่ทำให้ผมต้องถูกคดีอาญาหลายต่อหลายคดี แต่คนอย่างผมไม่เคยท้อแท้ในการทำความดี ถึงแม้จะต้องเผชิญชะตากรรมสารพัด

ผมไม่เคยท้อแท้ แต่ผมกลับเดินหน้าทำความดีต่อไป ถึงแม้จะไม่ได้ดี เพราะการทำดีนั้น มันดีของมันอยู่แล้ว หากสถานการณ์อุทกภัยจะเกิดขึ้นรุนแรงในปีนี้อีก ผมขอประกาศให้ประชาชนย่านหลักสี่และกรุงเทพฯเหนือ ตลอดจนจังหวัดติดต่อ เช่นนนทบุรี ปทุมธานี จงคิดถึง ‘รพ.มงกุุฎวัฒนะ’ เพราะผมจะนำ รพ.มงกุฎวัฒนะโดยไม่ทอดทิ้งพสกนิกรของพระเจ้าแผ่นดินอย่างเด็ดขาด

นอกจากนี้ พล.ต.นพ.เหรียญทอง ยังโพสต์เฟซบุ๊กอีกครั้งระบุว่า ประกาศความพร้อมปฏิบัติการสาธารณภัย ของ รพ.มงกุฎวัฒนะ หากเกิดสถานการณ์มหาอุทกภัยในพื้นที่ภาคกลาง และ กรุงเทพฯเหนือ เพื่อทราบดังต่อไปนี้

1. ระบบไฟฟ้ากำลัง(ภาพที่ 1) ของ รพ.มงกุฎวัฒนะ ได้ย้ายจากชั้นใต้ดิน อาคารเก่า(อาคาร 1) ย้ายไปยังชั้นที่ 2 อาคารใหม่(อาคาร 3) ที่มีความสูงจากระดับ ถ.แจ้งวัฒนะมากถึง 5 เมตร หรือสูงจากระดับน้ำทะเล 6 เมตร เปิดใช้งานระบบไฟฟ้ากำลังในชั้นที่ 2 อาคารใหม่(อาคาร 3) มาตั้งแต่ 9 ม.ค.67 แล้ว

2. ระบบไฟฟ้าสำรอง(ภาพที่ 2-3) ของ รพ.มงกุฎวัฒนะ เป็นระบบเครื่องปั่นไฟสำรองคู่ [Dual Synchronizing Generator] ขนาด 820 KVA จำนวน 2 เครื่อง พร้อมเดินเครื่องปั่นไฟจ่ายไฟฟ้าสำรองให้แก่แผนกที่มีผู้ป่วยอาการหนัก เช่น ไอ ซี ยู , ห้องผ่าตัด , ห้องสวนหัวใจ , ห้องฉุกเฉิน ฯลฯ ระบบเครื่องปั่นไฟสำรองคู่สามารถเดินเครื่องพร้อมกัน หรือเดินเครื่องสลับสับเปลี่ยนกันเพื่อให้เครื่องปั่นไฟฟ้าสำรองได้พักผ่อนเครื่องได้ทำให้มีขีดความสามารถจ่ายไฟฟ้าสำรองในการรักษาผู้ป่วยอาการหนักได้อย่างต่อเนื่องตลอดเวลา รพ.มงกุฎวัฒนะสามารถพึ่งตนเองได้ หากสถานการณ์อุทกภัยส่งผลให้ระบบไฟฟ้าจากการไฟฟ้านครหลวงขัดข้องอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานานหลายวันหรือหลายสัปดาห์

3. ระบบการส่งต่อผู้ป่วยทางอากาศ[Aeromedevac] (ภาพที่ 4) คือ ลานจอดเฮลิคอปเตอร์ตามมาตรฐาน ICAO หรือองค์การการบินระหว่างประเทศ ขนาด 21.0 เมตร x 21.0 เมตร หรือ 441 ตารางเมตร พร้อมลานจอดพักเครื่อง(PARK)อีก 47.0 เมตร x 8.0 เมตร หรือ 376 ตารางเมตร รองรับน้ำหนักน้ำหนักเฮลิคอปเตอร์ขณะทำการบินขึ้นสูงสุด หรือ MTOW [Maximum Take Off Weight] สูงสุด 2 เท่าของเฮลิคอปเตอร์ที่มีน้ำหนักรวมสัมภาระบรรทุก 3,750 กรัม ซึ่งหมายความว่า เฮลิคอปเตอร์ของกองทัพ รุ่น EC145 แล AW 149 สามารถบินขนส่งลำเลียงผู้ป่วยทางอากาศมายัง รพ.มงกุฎวัฒนะได้

4. ระบบการส่งต่อผู้ป่วยทางน้ำ คือ ‘ทางเข้า รพ.มงกุฎวัฒนะด้าน ซอยแจ้งวัฒนะ 14’ , ‘ทางเข้า รพ.มงกุฎวัฒนะด้าน ซอยแจ้งวัฒะ 12’ ที่มีระดับความสูงเหนือถนนแจ้งวัฒนะ 1.20 เมตร ตลอดจน ‘เกาะกลางถนนแจ้งวัฒนะ’ ซึ่งเคยใช้ปฏิบัติการเป็น ‘ท่าเรือ รพ.มงกุฎวัฒนะ’ มาแล้วเมื่อมหาอุทกภัย พ.ศ.2554

5. ระบบก๊าซออกซิเจนทางการแพทย์(ภาพที่ 5) ที่มีขนาดบรรจุออกซิเจนเหลว (Liquid Oxygen) ขนาดใหญ่รองรับผู้ป่วยจำนวนสูงสุดมากถึง 600 เตียง พร้อมระบบการผลิตก๊าซออกซิเจนทางการแพทย์สำรอง ในกรณีที่โรงงานผู้ผลิตออกซิเจนเหลวไม่สามารถขนส่งลำเลียงออกซิเจนเหลวมายัง รพ.มงกุฎวัฒนะได้ เราก็ยังสามารถประคับประคองด้วยการผลิตอ๊อกซิเจนสำรองบรรจุถังเพื่อพึ่งตนเองในการรักษาผู้ป่วยได้ยามจำเป็นหน้าสิ่วหน้าขวาน

6. ระบบ ไอ ซี ยู ที่มีขีดความสามารถรับผู้ป่วยอาการหนักจำนวนมากถึง 90 เตียง และสามารถเพิ่มกำลังสูงสุดอีก 36 เตียงรวมขีดความสามารถสูงสุดในสถานการณ์จำเป็นมากถึง 126 เตียง ไอ ซี ยู …ไม่ได้โม้นะครับ ปฏิบัติการสำเร็จจนเป็นที่ประจักษ์มาแล้วในสถานการณ์โควิด-19 ระหว่างเดือน เม.ย.- ก.ย.64

7. ระบบหอผู้ป่วยใน ทั้งห้องพิเศษเดี่ยว และหอผู้ป่วยสามัญที่พร้อมปฏิบัติการรับการส่งต่อผู้ป่วยจำนวนมากจากพื้นที่ประสบอุทกภัย โดยสามารถรับผู้ป่วยสูงสุด 600 เตียง หากสถานการณ์เลวร้ายก็พร้อม ‘ปฏิบัติการ รพ.สนามขั้นสมบูรณ์อีก 400 เตียง’ รวมสูงสุด 1,000 เตียง ภายในเวลาไม่เกิน 3 วัน…โม้ชิบหายแต่ทำมาแล้วโว้ย!

8. ระบบอาหารของ รพ.มงกุฎวัฒนะ เป็น ระบบ ‘Cook & Chill’ ดังนั้นเราจึงพร้อมผลิตอาหารจำนวนมากๆแล้วกักตุนไว้ให้ห้องเย็น[Cold room] ทำให้เราสามารถเผชิญปัญหาการขาดวัตถุดิบในการทำอาหารได้นานกว่า 30 วัน

9. ระบบระดมพล รพ.มงกุฎวัฒนะจะรวมกำลังบุคลากรทางการแพทย์ทุกสาขาเข้าพักอาศัยใน รพ.มงกุฎวัฒนะในรูปแบบยุทธวิธี ‘ชาวบ้านบางระจัน’ ในทันทีที่มวลน้ำเข้าถึงพื้นที่จังหวัดปทุมธานี-นนทบุรี ทั้งนี้เพื่อให้ รพ.มงกุฎวัฒนะมีความพร้อมด้านกำลังพลเต็มอัตราศึก ตลอดจนการรระดมพลจิตอาสา ดังเช่นปฏิบัติการ รพ.สนามพลังแผ่นดินในสถานการณ์โควิด-19 ที่เราประสบความสำเร็จอย่างยิ่งยวดมาแล้ว

10. อื่นๆ ขอเว้น เพราะโม้มากไปแล้วครับ

รพ.มงกุฎวัฒนะจะเป็น ‘รพ.ศูนย์รับการส่งต่อผู้ป่วยจากสถานการณ์มหาอุทกภัยในทันทีที่มวลน้ำคุกคามประชาชน ดังนั้น รพ.มงกุฎวัฒนะขอประกาศว่า “พสกนิกรภายใต้ร่มพระบารมีแห่งองค์พระมหากษัตริย์เจ้าจะได้รับการรักษาชีวิตอย่างสุดกำลังจาก รพ.มงกุฎวัฒนะ โปรดอย่าตื่นตระหนกในทุกสถานการณ์ภัยพิบัติ เราคืออดีตทหารของพระราชาจอมทัพภูมิพลมหาราชที่ยังคงเป็นทหารพระราชาแห่งองค์จอมทัพมหาวชิราลงกรณ์พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว”

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เดินตามแนวพระราชดำริ...ช่วยบรรเทาปัญหาน้ำท่วมชุมพร

ในช่วงวันที่ 13-15 ธันวาคม 2567 ที่ผ่านมามรสุมตะวันออกเฉียงเหนือกำลังค่อนข้างแรงได้พัดปก คลุมอ่าวไทยและภาคใต้ ประกอบกับมีหย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณภาคใต้ตอนล่างเคลื่อนลงสู่ทะเลอัน

กรมอุตุฯ ประกาศพายุดีเปรสชันฉบับ 3 เตือนฝนตก 25-26 ธ.ค.

นางสาวสุกันยาณี ยะวิญชาญ อธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา ออกประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา เรื่อง พายุดีเปรสชัน บริเวณทะเลจีนใต้ตอนล่าง ฉบับที่ 3 โดยมีใจความว่า

อุตุฯ เตือนอากาศเย็นถึงหนาว อุณหภูมิสูงขึ้น 1-2 องศา ใต้ฝนฟ้าคะนอง 10-20%

กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้าว่า บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นที่ปกคลุมประเทศไทยตอนบน และภาคใต้ตอนบนเริ่มมีกำลังอ่อนลง

"วราวุธ" ย้ำ พม. ห่วงใย เหตุน้ำท่วมใต้ กำชับเยียวยากลุ่มเปราะบาง

วันที่ 21 ธันวาคม 2567 นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (รมว.พม.) เปิดเผยว่า ตามที่กระทรวง พม. ดำเนินการขับเคลื่อนศูนย์บริหารการดูแลกลุ่มเปราะบางจากภัยพิบัติ

พยากรณ์ 15 วันล่วงหน้า ช่วงปีใหม่อากาศแปรปรวน หนาวปนฝน

กรมอุตุนิยมวิทยา อัปเดตผลการพยากรณ์ฝนสะสมรายวัน (ทุกๆ 24 ชม. : (นับตั้งแต่ 07.00 น. ถึง 07.00 น.วันรุ่งขึ้น) และลมที่ระดับ 925hPa (750 ม.) 15 วันล่วงหน้า

นายกฯ บินมหาสารคาม ติดตามแก้น้ำท่วม-แล้ง เปิดงาน 'ออนซอนกลองยาวชาววาปี'

'นายกฯอิ๊งค์' บินมหาสารคาม ตรวจติดตามอุทกภัยลุ่มน้ำชี-โครงการหนึ่งอำเภอหนึ่งทุน ไม่ตอบความคืบหน้าตั้งคกก.ปราบอิทธิพล