'ดร.ปริญญา' ยกรธน.ม.29 ยืนยันการได้รับการประกันตัวของผู้ต้องหา เป็นสิทธิพื้นฐานตามรธน.

'ดร.ปริญญา'ยกรัฐธรรมนูญม.29 ยืนยันการได้รับการประกันตัวของผู้ต้องหาเป็นสิทธิพื้นฐานตามรธน. เหตุผลที่ไม่ให้ประกันตัวเพื่อป้องกันมิให้มีการหลบหนีเท่านั้น ส่วนเหตุผลอื่นใดล้วนไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ

14 ม.ค.2565- ผศ.ดร.ปริญญา เทวานฤมิตรกุล อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โพสต์เฟซบุ๊ก ระบุว่า

มาตรา 29 #วรรคสาม #มาตราในรัฐธรรมนูญที่คนไม่ค่อยรู้จัก และ #ควรต้องมีการเคร่งครัดปฏิบัติตามให้มากขึ้น
จากหลัก #สันนิษฐานไว้ก่อนว่าบริสุทธิ์ หรือ presumption of innocence ทำให้รัฐธรรมนูญ พ.ศ.2560 บัญญัติไว้ในมาตรา 29 #วรรคสอง ว่า

“ในคดีอาญา ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้ต้องหาหรือจําเลยไม่มีความผิด และก่อนมีคําพิพากษา อันถึงที่สุดแสดงว่าบุคคลใดได้กระทําความผิด จะปฏิบัติต่อบุคคลนั้นเสมือนเป็นผู้กระทําความผิดมิได้”

ซึ่งเป็นหลักที่ได้รับการบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญฉบับถาวรของประเทศไทยทุกฉบับตั้งแต่ปี 2492 เป็นต้นมาหลักสันนิษฐานไว้ก่อนว่าบริสุทธิ์ หรือที่มักกล่าวกันเป็นคำพูดว่า “บุคคลย่อมเป็นผู้บริสุทธิ์จนกว่าศาลจะพิพากษา” นี้เอง ทำให้ #การได้รับการประกันตัวเป็นสิทธิพื้นฐานตามรัฐธรรมนูญ เพื่อให้ผู้ต้องหา หรือจำเลย สามารถสู้คดีนอกคุก และเพื่อที่จะไม่ติดคุกก่อนศาลพิพากษา

และด้วยหลักนี้เอง ทำให้รัฐธรรมนูญมาตรา 29 ต้องมีการบัญญัติไว้อีกวรรคหนึ่ง เป็น #วรรคสาม ว่า

“การควบคุมหรือคุมขังผู้ต้องหาหรือจําเลยให้กระทําได้เพียงเท่าที่จําเป็น เพื่อป้องกันมิให้มีการหลบหนี”

ดังนั้น เหตุผลที่ไม่ให้ประกันตัว เพราะ #คดีมีอัตราโทษสูง หรือ #ผู้ตัองหาจะกระทำผิดซ้ำ หรือเหตุผลอื่นใดที่ผิดไปจากนี้ ล้วนไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญทั้งสิ้น เพราะมาตรา 29 วรรคสาม อนุญาตให้ควบคุมหรือคุมขังผู้ต้องหาหรือจำเลยไม่ว่าจะต้องข้อหาในคดีใด ด้วยเหตุผลข้อเดียวเท่านั้นคือ #เพื่อป้องกันมิให้มีการหลบหนี

ว่าง่ายๆ คือถ้าผู้ต้องหาหรือจำเลยไม่มีพฤติกรรมที่จะหลบหนี หรือไม่มีความเสี่ยงที่จะหลบหนี หรือมีอุปกรณ์ติดตามตัวที่จะป้องกันการหลบหนีได้ ก็ต้องให้ประกันตัว ไม่ว่าผู้ต้องหาหรือจำเลยจะต้องข้อหาในคดีใดครับ

นี่คือมาตราในรัฐธรรมนูญที่ #กระบวนการยุติธรรมควรต้องเคร่งครัดปฏิบัติตามให้มากขึ้น เพราะเราควรจะติดคุกเมื่อศาลพิพากษาแล้วเท่านั้น และนี่คือสิทธิขั้นพื้นฐานตามรัฐธรรมนูญของเราทุกคนครับ

ทั้งนี้ในวันที่ 14 ม.ค.2565 เวลา 14.00 น.ศาลอาญากรุงเทพใต้ นัดฟังคำสั่งว่าจะให้ประกันตัว น.ส.เบนจา อะปัญ กลุ่มแนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม ในความผิด 2 คดี ได้แก่ คดีอ่านแถลงการณ์หน้าซิโน-ไทย และ คดีชุมนุมหน้าสถานทูตเยอรมนี หรือไม่

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

มธ. จัดเสวนารุมสับระบบเลือก สว.ชุดใหม่ เป็นปัญหามากที่สุด ซับซ้อน ทำให้งงอย่างจงใจ

ศูนย์นิติศาสตร์ จัดเสวนาวิชาการ “การเลือก สว. และประชามติรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ กับอนาคตประชาธิปไตยไทย” เนื่องในงานรำลึก 32 ปี พฤษภาประชาธรรม 2535

'บ่อน้ำ' ในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ของอาจารย์ปริญญา

อาจารย์ปริญญา จบกฎหมายมหาชน จากเยอรมัน จึงน่าจะเป็นเหตุผล ที่ทำให้ อาจารย์ มักแสดงท่าทีไม่เห็นด้วยกับกฎหมายของประเทศไทย อยู่หลายๆครั้ง ทำเหมือนไม่รู้ว่า “เมื่อเป็นคนไทยทำผิด ก็

ศาลฎีกาพิพากษายืน กักขัง 1 เดือน 'ไบรท์ ชินวัตร' คดีละเมิดอำนาจศาล

ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน เผยแพร่ข่าวสารว่า 26 มี.ค. 2567 ศาลอาญานัดฟังคำสั่งของศาลฎีกาในคดีของ “ไบรท์”​ ชินวัตร จันทร์กระจ่าง นักกิจกรรมในจังหวัดนนทบุรี ซึ่งถูกกล่าวหาในข้อหาละเมิดอำนาจศาล

ดร.นิว เฮลั่น! หยั่งเสียงเลือกอธิการบดีมธ. 'ปริญญา' ได้ที่โหล่

ดร.ศุภณัฐ อภิญญาณ หรือ ดร.นิว นักวิจัยภายใต้สถาบันวิจัย MAST Center และ คณะวิศวกรรมชีวการแพทย์ University of Arkansas ประเทศสหรัฐอเมริกา โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก ว่า "โชคดีของ

ศาลสั่งจำคุก ‘เบนจา’ แนวร่วมธรรมศาสตร์ฯ 3 ปี ปรับ 8 พัน โทษจำรอลงอาญา 2 ปี

ศาลอาญากรุงเทพใต้ วันนี้นัดอ่านคำพิพากษาคดีหมายเลขดำ อ.1974/2564 ระหว่างพนักงานอัยการฯ โจทก์ ฟ้อง น.ส.เบนจา  อะปัญ นักกิจกรรมและนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นจำเลย