ดร.นิว ย้อนเกล็ด 'ปิยบุตร' รัฐสมบัติ-พรรคสมบัติ!

17 ส.ค.2567 - ดร.ศุภณัฐ อภิญญาณ หรือ “ดร.นิว” นักวิจัยภายใต้สถาบันวิจัย MAST Center และ คณะวิศวกรรมชีวการแพทย์ University of Arkansas ประเทศสหรัฐอเมริกา โพสต์เฟซบุ๊ก ว่า "ปิยบุตรขว้างงูไม่พ้นคอ พรรคส้มที่ตัวเองคอยสนับสนุนทั้งเบื้องหน้าและเบื้องหลัง สืบสันดานจากอนาคตใหม่ ก้าวไกล เป็นพรรคสมบัติของตระกูลใด? ตอนหาเสียงเอานโยบายประชานิยมมาล่อ แต่เจ้าของพรรคตัวจริงเน้นนโยบายล้มเจ้า ทั้งๆ ที่คนหลงมาเลือกส่วนใหญ่เขาไม่ได้ล้มเจ้า แบบนี้ขืนใจประชาชนหรือไม่?"

ทั้งนี้สืบเนื่องจาก นายปิยบุตร แสงกนกกุล เลขาธิการคณะก้าวหน้า โพสต์เฟซบุ๊กเรื่อง ‘รัฐสมบัติ’ มีเนื้อหาระบุว่า รัฐสมบัติ หรือ Patrimonial State คือ รัฐที่ครอบครัวใดครอบครัวหนึ่ง ตระกูลใดตระกูลหนึ่งเป็นเจ้าของ เมื่อผู้ปกครองคนหนึ่งพ้นไป ก็ส่งมอบตำแหน่งให้สมาชิกในตระกูลขึ้นดำรงตำแหน่งต่อไป ตำแหน่งผู้ปกครองรัฐ และรัฐนั้น จึงเสมือนเป็น “ทรัพย์สมบัติ“ ของตระกูล ที่สามารถเป็น ”มรดก“ ยกต่อให้ทายาทในตระกูลได้

รัฐสมบัติ ไม่แยกแยะเรื่อง ”ส่วนตัว” กับ “ส่วนรวม” ออกจากกัน นำเรื่องของครอบครัว เรื่องของตนเอง ให้กลายเป็นเรื่องของรัฐ ทรัพยากรและงบประมาณของรัฐถูกนำไปปะปนกับการใช้จ่ายส่วนตน นโยบายของรัฐถูกนำไปปะปนกับความต้องการส่วนตน ส่วนครอบครัว

รัฐสมบัติจึงแตกต่างจากรัฐแบบสมัยใหม่ ที่พยายามแยกแดนส่วนตัวออกจากแดนสาธารณะ

รัฐแบบสมัยใหม่ สร้าง “รัฐ” ให้เป็นนิติบุคคล แยกออกจาก “คน” และกำหนดให้มี “ตำแหน่ง” เข้าใช้อำนาจรัฐ โดยมีกระบวนการได้มาซึ่งตำแหน่งนั้นไว้ มิให้ยกสืบทอดกันเป็นมรดกในตระกูล

ในโลกปัจจุบัน ครอบครัวหนึ่ง ทำธุรกิจร่ำรวย เมื่อพ่อแม่ตายไป ก็ยกมรดกให้ลูก เช่นนี้ คงไม่มีใครว่า เพราะ เป็นเรื่องส่วนตัว เอกชน ครอบครัวตนเอง

ถึงกระนั้น ความคิดแบบสมัยใหม่ยังมองว่าไม่เป็นธรรม ทำให้คนที่ไม่ได้เกิดมาบนกองเงินกองทองเสียเปรียบ จึงได้คิดมาตรการสร้างความเสมอภาค เช่น ภาษีมรดก ภาษีที่ดิน เป็นต้น

ในขณะที่ครอบครัวเศรษฐีเอง ก็ตระหนักดีถึง “กฎธรรมชาติ” ที่ว่า ความสามารถ อำนาจ บารมี ไม่อาจถ่ายทอดผ่านพันธุกรรม พวกเขาจึงจ้างผู้บริหารมืออาชีพเข้ามา

แล้วถ้าเป็นรัฐ เป็นเรื่องสาธารณะ เรื่องมหาชน เรื่องแดน Public มิใช่แดน Private ล่ะ?

เราสามารถยอมให้การบริหารรัฐ กลายเป็นเรื่องของครอบครัว ตระกูล ได้หรือ?

จะเป็นไปได้อย่างไรที่ประชาชนผู้เป็นสมาชิกรัฐ เป็นเจ้าของรัฐร่วมกัน ต้องยินยอมครอบครัวหนึ่ง ตระกูลหนึ่ง ยก “อำนาจรัฐ” ให้กันเองภายในตระกูล ราวกับเป็น “สมบัติ” เป็น “มรดก” ได้

สภาวการณ์ “ประชาธิปไตย 2 ใบอนุญาต” วันนี้ นำมาซึ่ง “ประชาธิปไตย 2 ตระกูล”

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ณัฐพงษ์ หน.พรรคประชาชน ฝ่ายอนุรักษนิยม อย่าระแวงเรา กับจุดยืน 'สถาบันฯ-แก้ 112'

บทบาทของ "พรรคประชาชน" พรรคการเมืองที่ขึ้นมารับไม้ต่อจากพรรคก้าวไกล ที่ถูกศาลรัฐธรรมนูญสั่งยุบพรรคไป นับจากนี้ถือว่าน่าสนใจอย่างยิ่ง

รอบนี้ขอ ‘นิพิฏฐ์’ เห็นด้วยกับ ‘พรรคประชาชน’ กรณีโหวตเลือกนายกฯ

นายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ อดีต สส. พัทลุง โพสต์เฟซบุ๊กว่า “ฝ่ายค้าน(opposition) คือ ฝ่ายที่อยู่ตรงข้ามรัฐบาล ผมเห็นด้วยกับพรรคประชาชน(ก้าวไกล) ในการเลือ

'สรวงศ์' ปัดเร่งหาแคนดิเดตนายกฯ เพื่อยุบสภาลั่นต้องการทำงานไร้รอยต่อ

'สรวงศ์' ยัน เพื่อไทยรีบเสนอชื่อนายกฯ ไม่เกี่ยว เตรียมยุบสภา แย้ม ที่ประชุม กก.บห. นำคุณสมบัติ 'ชัยเกษม' ถกเพิ่ม ปมไม่สั่งฟ้อง 'พิชิต'

ปั่นด้อมส้ม! 'วิโรจน์' เชื่อกลุ่มชนชั้นนำสร้างสถานการณ์ให้ประชาชนบาดหมางแย่งชิงอำนาจ

นายวิโรจน์ ลักขณาอดิศร สส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาชน โพสต์ข้อความผ่าน X ว่า ผมคิดว่านี่เป็นเวลาที่ทั้งฝ่ายบริหาร และฝ่ายนิติบัญญัติ ที่เป็น 2 ใน 3 อำนาจอธิปไตย ที่มาจากประชาชน ต้องไตร่ตรองหาทางออกร่วมกัน เพื่อรักษาอำนาจของประชาชน

'พรรคประชาชน' พล่ามไม่หยุด รัฐธรรมนูญ 60 ให้อำนาจศาลฯ-องค์กรอิสระ ผูกขาดตีความจริยธรรม

นายพริษฐ์ วัชรสินธุ สส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาชน แถลงจุดยืนของพรรคประชาชนจากกรณีศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยให้นายเศรษฐา ทวีสิน พ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีว่า ขอแสดงความกังวลและไม่เห็นด้วยกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในวันนี้