'ดร.อานนท์' ไขคำตอบข้อมูลฉีดวัคซีนเป็นความลับ-ตรวจสอบได้หรือไม่

13 ม.ค.2565 - ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์ อาจารย์ประจำคณะสถิติประยุกต์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) โพสต์เฟซบุ๊กระบุว่า ข้อมูลการฉีดวัคซีนเป็นความลับหรือไม่ เป็นข้อมูลส่วนบุคคลหรือไม่ เป็นข้อมูลอ่อนไหวหรือไม่ ตรวจสอบได้หรือไม่?

ผมไปไหนมาไหนต้องควักโทรศัพท์มือถือเปิดให้ดูใบวัคซีนจากหมอพร้อมก่อนเลย บางที่ประชุมไลน์มาถามก่อนเลยว่ามีใบวัคซีนและผลตรวจ ATK ไม่เกิน 7 วันหรือไม่ ให้ส่งมาให้ทางไลน์ก่อนเข้าประชุม จะได้สะดวก แค่วัดอุณหภูมิอย่างเดียว

ศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะก็ขอตรวจใบวัคซีนและขอผลตรวจ ATK ไม่เกิน 7 วันสำหรับคนที่เข้าไปติดต่อ
ประวัติการฉีดวัคซีน ไม่ใช่ความลับอะไร ตรงกันข้าม เป็นใบเบิกทาง ใบผ่านทาง ไม่ให้สังคมรังเกียจ และเข้าไปติดต่อในสถานที่ต่างๆ ได้ คนเห็นใบวัคซีนของผมเป็นร้อยๆ คนแล้วด้วยซ้ำ และวิธีการใช้หมอพร้อมก็ง่ายแสนง่าย เพียงแค่ดาวน์โหลดและกรอกเลขบัตรประจำตัวประชาชนเท่านั้น

ตามพรบ.ข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562 มาตรา 6 “ข้อมูลส่วนบุคคล” หมายความว่า ข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลซึ่งทำให้สามารถระบุตัวบุคคลนั้นได้ คำว่าระบุตัวบุคคลได้คือ personal identifier อย่างเช่น มีนายคนหนึ่ง ฉีด Sinovac Sinovac และ AstraZeneca เป็นเข็มกระตุ้มเข็มที่สาม ไม่เพียงพอที่จะระบุตัวบุคคลนั้นได้เลย เพราะคนไทยที่ฉีดวัคซีนแบบนี้คงมีหลายแสนหลายล้าน จึงไม่ถือว่าเป็นข้อมูลส่วนบุคคลแต่อย่างใด

แต่เบอร์โทรศัพท์มือถือเป็นข้อมูลส่วนบุคคลเพราะทำให้ระบุตัวตนของผู้ใช้ที่ต้องจดทะเบียนได้ ประวัติการฉีดวัคซีนไม่ได้เป็นทั้งข้อมูลส่วนบุคคล ไม่ได้เป็นความลับอะไร ไม่ใช่ประวัติการรักษาโรค ประวัติการเจ็บป่วย ประวัติการรับประทานยาที่อาจจะทำให้ทราบว่าป่วยเป็นโรคอะไร

ดังนั้นไม่ใช่ข้อมูลที่อ่อนไหว (Sensitive data) แต่อย่างใด

การเปิดเผยข้อมูลการฉีดวัคซีนทำให้ได้รับการยอมรับและเข้าไปยังสถานที่ต่างๆ ได้เพื่อให้สามารถควบคุมโรคระบาดได้ นอกจากนี้ยังมีคนเข้าถึงข้อมูลประวัติการฉีดวัคซีนของเราอยู่แล้วมากมาย

วัคซีนซื้อมาด้วยเงินภาษีของประชาชน ใครได้ฉีดวัคซีนอะไร ในเวลาไหน ในเวลาที่วัคซีนมีจำกัดและมีประชาชนยังไม่สามารถเข้าถึงได้อีกมาก จึงเป็นข้อมูลที่สมควรตรวจสอบได้ว่าเจ้าหน้าที่ของรัฐได้จัดสรรวัคซีนอย่างเป็นธรรม เป็นไปตามหลักธรรมาภิบาลหรือไม่ มีประชาชนหรือคนมีอิทธิพลใดที่ทำลายความเท่าเทียมกันในสังคมในการเข้าถึงวัคซีน

โดยเฉพาะอย่างยิ่งนักการเมืองที่เป็นบุคคลสาธารณะต้องได้รับการตรวจสอบได้ จึงเป็นสิ่งที่มีเหมาะสม
ประชาชนคนธรรมดาทั่วไปที่ทำตามกติกาและกฎเกณฑ์ของรัฐในการเข้าถึงวัคซีนย่อมไม่มีใครเดือดร้อนเสียหายจากใบประวัติการฉีดวัคซีน

ยกเว้นคนที่ลัดคิว ทำผิดหลักการ กฎเกณฑ์ในการจัดสรรทรัพยากร หรือเป็นอภิสิทธิชนในเวลาที่ประชาชนอื่นๆ ยังขาดแคลนและเข้าไม่ถึงวัคซีน

น่าสงสารเหลือเกินที่มีนักการเมืองล้มเจ้าหลายๆคน ดิ้นแทบเป็นแทบตายเมื่อประวัติการฉีดวัคซีนของตนเองได้รับการเปิดเผยสู่สาธารณะ คงมีพฤติกรรมที่เลวร้าย ทำลายความยุติธรรม เพิ่มความเหลื่อมล้ำในสังคม เป็นพวกปากว่าตาขยิบ เป็นพวกเกลียดตัวกินไข่ เกลียดปลาไหลกินน้ำแกง เป็นพวกปีศาจคาบคัมภีร์ เป็นพวกที่สังคมคงตั้งคำถามได้ใช่หรือไม่?

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

‘แม้ว’ ย่ามใจไม่เลี้ยงหลาน ทำตัวเป็น ‘ส่วนหนึ่งของปัญหา’

แม้แต่ "ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ" ประธานคณะก้าวหน้า และอดีตหัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ ยังตั้งคำถามต่อ "ทักษิณ ชินวัตร" อดีตนายกรัฐมนตรี

'ดร.อานนท์' ยก MOU ไทย-มาเลเซีย เทียบ MOU44 ขัดรธน. เป็นโมฆะ การก้าวล่วงพระราชอำนาจ

ผศ.ดร.อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์ อาจารย์ประจำคณะสถิติประยุกต์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก ว่า

'ธนาธร' โต้ 'ทักษิณ' รู้ดีมีเหตุผลอื่นที่ 'ก.ก.-พท.' ไม่ได้ร่วมรัฐบาลกัน แต่ใช้ม.112เป็นข้ออ้าง

'ธนาธร' โต้ 'ทักษิณ' เหตุที่ 'ก้าวไกล-เพื่อไทย' ไม่ได้ร่วมรัฐบาลกัน ไม่เกี่ยวกับม.112 ไม่มีอยู่ในเอ็มโอยู เผยตัวเองรู้ดีที่สุดว่ามีเหตุผลอื่น แล้วใช้ม.112 เป็นข้ออ้าง ซัด 'ทักษิณ' น่าจะเป็นคนที่เข้าใจปัญหาโครงสร้างดีที่สุด แทนที่จะร่วมแก้ปัญหา กลับเลือกเป็นส่วนหนึ่งของปัญหา