'อนาคตไกล' อัด 'พิธา' ชักศึกเข้าบ้าน เย้ย 'ชำนาญ' เพ้อฝันก้าวไกลรอดยุบพรรค!

“อนาคตไกล” เตือน “พิธา” ชักศึกเข้าบ้าน ไทยไม่ได้ตกเป็นเมืองขึ้นของประเทศใด สับ “ชำนาญ” แกนนำคณะก้าวหน้า อย่าเพ้อฝัน

5 ส.ค. 2567 - สืบเนื่องจากกรณีนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ส.ส.บัญชีรายชื่อและประธานที่ปรึกษาพรรคก้าวไกล พบเอกอัครราชทูต อุปทูตและเจ้าหน้าที่จากประเทศในทวีปยุโรป 18 ประเทศ เพื่อหารือแลกเปลี่ยนวิกฤติประชาธิปไตยในประเทศไทยและกรณีศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยคดียุบพรรคก้าวไกลในวันที่ 7 ส.ค.นั้น

ล่าสุด นายภวัต เชี่ยวชาญเรือ โฆษกพรรคอนาคตไกล กล่าวถึงเรื่องนี้ว่าก่อนอื่นตนขอแสดงความยินดีกับว่าที่นายก อบจ.ทั้ง 3 แห่ง นางสมทรง พันธ์เจริญวรกุล ว่าที่นายก อบจ.จังหวัดพระนครศรีอยุธยา นายธวัช สุทธวงศ์ ว่าที่นายก อบจ.จังหวัด และนางจิตร์ธนา ยิ่งทวีลาภา ว่าที่นายก อบจ.จังหวัดชัยนาท สะท้อนว่าขณะนี้ประเทศไทยไม่ได้อยู่ในสภาวะวิกฤติประชาธิปไตย แต่เกิดจากการกระทำของตนเอง ดังจะเห็นได้จากยุบพรรคการเมืองก่อนหน้านี้ เมื่อวันที่ 30 พ.ค. 2550 พรรคไทยรักไทย พรรคพัฒนาชาติไทยและพรรคแผ่นดินไทย ถูกกล่าวหาว่าจ้างพรรคเล็กลงเลือกตั้ง

และเมื่อวันที่ 2 ธ.ค. 2551 พรรคพลังประชาชน พรรคชาติไทย พรรคมัชฌิมาธิปไตย ถูกกล่าวหาว่า กก.บห.ทุจริตการเลือกตั้ง เมื่อวันที่ 7 มี.ค. 2562 พรรคไทยรักษาชาติ ถูกกล่าวหาว่า เสนอพระนามทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนฯ เป็นแคนดิเดตนายกรัฐมนตรี และเมื่อวันที่ 21 ก.พ. 2563 พรรคอนาคตใหม่ ถูกกล่าวหากรณีเงินกู้ 191.2 ล้านบาท ถามนายพิธาว่า ข้อเท็จจริงการยุบพรรคก้าวไกล เป็นวิกฤติประชาธิปไตยในประเทศไทยตรงไหน

นายภวัต กล่าวต่อไปว่า หากพิจารณาคำวินิจฉัย ศาลรัฐธรรมนูญที่ 3/2567 ที่ระบว่า “.....พรรคก้าวไกล...นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์.....มีเจตนาเซาะกร่อนบ่อนทำลาย สถาบันกษัตริย์ เป็นเหตุให้ชำรุดทรุดโทรม เสื่อมทราม หรืออ่อนแอลง นำไปสู่ล้มล้างการปกครอง ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขในที่สุด” อันเป็นเด็ดขาดและผูกพันทุกองค์กร ทาง กกต.ผู้ร้องจะปฏิบัติอย่างอื่นไม่ได้เพราะจะมีความผิด ปอ.มาตรา 157 พรรคการเมืองหาเสียงแล้วย่อมต้องรับผิดชอบตนเอง มิฉะนั้น จะหาเสียงในลักษณะใด ที่มีกระทบต่อความมั่นคง หรือกระทบต่อระบอบการปกครองอย่างไรก็ได้

โฆษกพรรคอนาคตไกล กล่าวว่า พรรคการเมืองย่อมต้องใช้ความระมัดระวังในการหาเสียง ต้องรับผิดชอบในการกระทำของพรรคการเมืองที่ตนสังกัด จะเห็นได้จากกรณีล้มล้างการปกครองหรือกระทำปฏิปักษ์การปกครอง เท่าที่พบเห็น คือ พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย หรือพรรคไทยรักษาชาติ เป็นบรรทัดฐานที่เป็นพฤติกรรรมล้มล้างการปกครองหรือปฏิปักษ์กับสถาบันพระมหากษัตริย์ ให้พี่น้องประชาชนย้อนกลับไปดู สนธิสัญญาเบาริ่ง ที่ประเทศสยามในขณะนั้น เสียสิทธิสภาพอาณาเขตทางศาลเพราะต่างชาติแทรกแซงกิจการภายในประเทศ ทำให้ขาดอิสระในการดำเนินคดีทางศาลกว่าจะหลุดพ้น

"กรณีใช้วิชามาร โดยเทคนิก ร่อนหนังสือเชิญชวนท่านทูต อุปทูตในประเทศยุโรป อ้างเหตุ หารือวิกฤติประชาธิปไตยไทย ไม่ได้เป็นการกระทำของรัฐบาลไทย นายพิธา มีอำนาจอะไรเรียกทูตมาหารือ เป็นการชักศึกเข้าบ้าน ให้ต่างชาติเข้ามาแทรกแซงกิจการภายในของประเทศหรือไม่ อย่างไร โดยเฉพาะกระบวนการยุติธรรม ไทยเคยเสียสิทธิสภาพอาณาเขตมาแล้วครั้งหนึ่ง นายพิธา จะให้ต่างชาติเข้ามาแทรกแซงกระบวนการยุติธรรมของไทยโดยการกดดันศาลหรือไม่ อย่างไร ส่งผลให้ภาพลักษณ์ของประเทศไทยให้เกิดความเสียหาย

อย่าลืมว่า รัฐบาลมาจากการเลือกตั้ง ไม่ได้มาจากการยึดอำนาจ รัฐธรรมนูญ ฉบับ 2560 พรป.วิธีพิจารณาคดีของศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2561 พรป.พรรคการเมือง ใช้บังคับกับทุกพรรคการเมือง และภายในราชอาณาจักรไทย และการยุบพรรคการเมืองในประเทศเกิดขึ้นหลายครั้ง ไม่ได้เป็นวิกฤติประชาธิปไตย ส่วนวิชามารโดยให้วุฒิสมาชิก สหรัฐอเมริกา ในสภาคองเกรส ร่อนหนังสือถึงกระทรวงการต่างประเทศ ลักษณะเป็นห่วงประชาธิปไตยไทย ควรกระทำหรือไม่ การหารือท่านฑูต หรืออุปฑูตต่างประเทศก็ดี การแถลงการณ์ปิดคดีนอกศาลก็ดี เข้าข่ายลักษณะเอาต่างชาติมากดดันการทำหน้าที่ของศาลรัฐธรรมนูญให้วินิจฉัยตามที่พวกของตนเองต้องการเท่านั้น"

นายภวัต กล่าวด้วยว่า ส่วนที่ถามว่า มีแกนนำคณะก้าวหน้าคือ นายชำนาญ จันทร์เรือง ฟันธงวิเคราะห์คำตัดสินว่าจะออก 2 แนวทาง คือ ไม่ยุบพรรคก้าวไกล หรือยกคำร้อง นั้น นายชำนาญ จันทร์เรือง อดีต กก.บห.พรรคอนาคตใหม่ ที่ถูกศาลรัฐธรรมนูญตัดสิทธิทางการเมือง ที่แปลงร่างมาเป็นแกนนำคณะก้าวหน้า ให้ความเห็นไปเรื่อย ไม่ได้อยู่บนพื้นฐานของหลักกฎหมาย ไม่เกี่ยวกับเวทีต่างประเทศในการที่ไทยเป็นเจ้าภาพประชุมสมาคมศาลรัฐธรรมนูญและสถาบันแห่งเที่ยบเท่าเอเชีย(AACC) ครั้งที่ 6 ระหว่างวันที่ 17-21 กันยายน 2567 ที่มีภาคีสมาชิกประเทศมาประชุมร่วม

ตนเห็นว่า อย่าเอาประเด็นนี้ มากดดันศาล ศาลรัฐธรรมนูญจะยุบพรรคก้าวไกลหรือไม่ เป็นดุลพินิจของศาล อย่าชี้นำศาลหรือไปกดดันศาล ระวังละเมิดอำนาจศาล ไม่เข้าท่าเลย ส่วนที่นายชำนาญ วิเคราะห์ว่า มติของวันที่ 7 สิงหาคม ไม่เป็นเอกฉันท์ โดยมติ 5 ต่อ 4 หรือมติ 6 ต่อ 3 โดยอ้างเหตุผลในคำวินิจฉัย ตนเห็นว่า เป็นการโยนหินถามทางและหมอเดาเท่านั้น ให้พี่น้องประชาชนติดตามคำวินิจฉัยของศาล ดีกว่า การวิเคราะห์ล่วงหน้า กินยาผิดซองหรือไม่ ไปรับยาช่อง 4 ดีหรือไม่ เพ้อฝัน ระวังจะฝันค้าง วิเคราะห์ไม่ได้อยู่บนหลักการพื้นฐานของกฎหมาย เพื่อผลประโยชน์กลุ่มของตนเองล้วนๆ ควรสงบจิต สงบใจ อย่าร้อนรน หรือดิ้นพล่าน

นายภวัต เชื่อว่า วันที่ 7 สิงหาคม ตรงกับวันพระบิดาแห่งกฎหมายไทย พระสยามเทวาธิราชประเทศไทยมีจริง สยามไม่ตกเป็นเมืองขึ้นของประเทศใด ศาลรัฐธรรมนูญจะวินิจฉัย เหตุผล ตรรกะในปัญหาข้อกฎหมายและปัญหาข้อเท็จจริงบนพื้นฐานหลักนิติรัฐและนิติธรรม ประชาชนภายในประเทศยอมรับอย่างแน่นอน ขอให้พี่น้องประชาชนใจเย็นๆ คอยฟังข่าวสาร และอยู่ในที่ตั้ง.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ความเป็นมาของรัฐธรรมนูญฉบับที่ 4 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 (ตอนที่ 34): ‘กรมขุนชัยนาทนเรนทร’ ทรงตกเป็นเหยื่อการเมืองของหลวงพิบูลสงคราม

รัฐธรรมนูญฉบับที่ 4 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 ประกาศใช้เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490

'กูรูใหญ่' แฉเบื้องลึก! ทำไมนักการเมืองยุคนี้ไม่กลัว 'ยึดอำนาจ'

นายไพศาล พืชมงคล นักกฎหมาย และอดีตกรรมการผู้ช่วยรองนายกรัฐมนตรี (พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ) โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า การเมืองไทยกำลังเข้าสู่ทางตัน

เพจพรรคประชาธิปัตย์ โพสต์ปลื้ม ‘คนคุณภาพประชาธิปัตย์’ ได้เป็นขรก.การเมือง

เฟซบุ๊กเพจ พรรคประชาธิปัตย์ โพสต์ข้อความว่า ครม. เห็นชอบ แต่งตั้ง “คนคุณภาพประชาธิปัตย์” เป็นข้าราชการการเมือง สังกัด ทส. และ สธ.

'เทพไท' เรียกร้องนิรโทษกรรมทุกกลุ่ม รวมคดี 112 ด้วย

นายเทพไท เสนพงศ์ อดีตสส.นครศรีธรรมราช โพสต์เฟซบุ๊กเรื่อง "พรบ.นิรโทษกรรม:ปรองดองจริงหรือ?" ระบุว่ากรณีนายนพดล ปัทมะ สส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย กล่าวถึงการยื่นร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.