30 ก.ค.3567- ที่ศาลปกครองกลาง นายศรีสุวรรณ จรรยา ผู้นำองค์กรรักชาติ รักแผ่นดิน ยื่นฟ้องต่อศาลปกครองเพื่อเอาผิดอธิบดีกรมประมง คณะกรรมการความหลากหลายและความปลอดภัยทางชีวภาพของกรมประมง (ไอบีซี) และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตร และสหกรณ์ ฐานใช้ดุลยพินิจโดยมิชอบและละเลยต่อหน้าที่อนุญาตให้นายทุนชื่อดังนำปลาหมอคางดำซึ่งเป็นเอเลี่ยนสปีชีส์เข้ามาในประเทศไทยจนเกิดการแพร่ระบาด
โดยนายศรีสุวรรณ กล่าวว่า ตนได้รับมอบหมายจากชาวบ้านผู้เลี้ยงปลา และกุ้ง ที่ได้รับความเสียหายจากการแพร่ระบาดของปลาหมอคางดำ จากการที่อนุญาตให้เอกชนรายใหญ่ชื่อดังนำปลาหมอคางดำเข้ามาวิจัยปรับปรุงพันธุ์ และเล็ดลอดออกมาในแหล่งน้ำธรรมชาติ จนเกิดการแพร่ระบาด และทำลายทรัพยากรธรรมชาติ โดยเฉพาะสัตว์น้ำในพื้นที่รอบอ่าวไทยกว่า 25 จังหวัด โดยภาครัฐต้องใช้งบประมาณแผ่นดินซึ่งเป็นเงินภาษีของประชาชนเข้ามาแก้ไขปัญหา ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องใหญ่ที่กรมประมงรู้เรื่องนี้มาตั้งแต่ที่มีการร้องเรียนของชาวบ้านในพื้นที่จังหวัดสมุทรสงคราม เพชรบุรี ตั้งแต่ปี 2555 แต่กลับเพิกเฉยในการแก้ไขปัญหา และการป้องกันปัญหา แม้ชาวบ้านจะไปร้องเรียนต่อคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) เมื่อปี 2560 และกรมประมงก็ได้รับทราบเรื่องนี้มาโดยตลอดแต่กลับเพิกเฉย จนกระทั่งปลาหมอคางดำแพร่ระบาดอย่างกว้างขวางจนเป็นข่าวดัง และวันนี้ก็ไม่สามารถดำเนินการเอาผิดบริษัทเอกชนที่นำเข้าปลาหมอคางดำมาจากประเทศกาน่า ทวีปแอฟริกาได้
ทั้งนี้หากปล่อยไปไม่มีการบังคับใช้กฎหมาย ก็จะทำให้ชาวประมงได้รับความเสียหายอย่างมายิ่งกว่านี้ ทั้งที่ตามประมวลกฎหมายแพ่ง และพาณิชย์ โดยเฉพาะพระราชบัญญัติสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ มาตรา 97 ระบุไว้ชัดเจนว่าเป็นอำนาจของเจ้าหน้าที่รัฐที่จะไปฟ้องร้องบุคคลที่ไปทำลายพยากรณ์ธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม ก็คือบริษัทต้นเหตุโดยสามารถเรียกค่าเสียหายทางแพ่งได้ เป็นพันล้าน หมื่นล้าน
ส่วนทางอาญานั้นตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 360 ประกอบมาตรา 56 ก็สามารถเอาผิดทางอาญากับบุคคลที่เป็นต้นเหตุในการทำลายทรัพยากรธรรมชาติหรือสาธารณสมบัติของแผ่นดินได้ มีอัตราโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ แต่กรมประมงกลับเพิกเฉยในเรื่องนี้มาโดยตลอด แม้ว่าเอกชนจะยืนยันว่าได้ทำลายปลาเหล่านี้ไปหมดแล้ว แต่เมื่อปี 2560 กรมประมงได้เข้าไปตรวจสอบ และจับปลาหมอคางดำในศูนย์วิจัยของเอกชน ซึ่งเป็นหลักฐานยืนยันที่ชัดเจน แต่กรมประมงกลับไม่ดำเนินการใดๆ
“วันนี้เป็นการแก้ไขที่ปลายเหตุไม่ว่าจะเป็นการรับซื้อปลา หรือการจับปลาซึ่งเป็นที่รู้กันว่า ปลาเหล่านี้ อยู่ได้ทั้งน้ำจืดน้ำกร่อย และน้ำทะเล ทำให้การกำจัดเป็นเรื่องยาก ดังนั้นความเสียหายที่เกิดขึ้นในวันนี้จำเป็นที่จะต้องให้ผู้ประกอบการที่เป็นต้นเหตุของการนำปลาเหล่านี้เข้ามาปรับปรุงพันธุ์และเกิดการแพร่กระจายมารับผิดชอบโดยตรง อย่านำเงินภาษีประชาชนทั้งประเทศมาแก้ไขปัญหา ซึ่งเป็นวิธีการที่ไม่ถูกต้อง มิเช่นนั้นเอกชนต่างๆก็ย่ามใจในการที่จะทำอย่างไรก็ได้แล้วผลักภาระให้กับรัฐเป็นผู้รับผิดชอบซึ่งเห็นว่าไม่ควรเกิดขึ้น
เมื่อถามว่าข้อเรียนร้องต่อศาลที่ขอให้พิจารณาดำเนินการนั้นคืออะไร นายศรีสุวรรณ กล่าวว่า ขอให้มีการบังคับใช้กฎหมายสั่งให้อธิบดีกรมประมง และคณะกรรมการด้านความหลากหลาย และความปลอดภัยทางชีวภาพ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ บังคับใช้กฎหมายด้วยการเรียกฟ้องแพ่ง ฟ้องอาญา กับบริษัทเอกชนที่เป็นต้นเหตุปัญหาเหล่านี้ และขอให้ศาลมีคำสั่งให้ผู้ถูกฟ้องคดีทััง 3 คน ไปดำเนินการให้บริษัทเอกชนฟื้นฟูสภาพทรัพยากรในพื้นน้ำที่ได้รับความเสียหายทั้งหมดให้กลับคืนมภายในระยะเวลาที่ศาลกำหนด
เมื่อถามอีกว่าทางบริษัทเอกชนที่นำเข้าปลาได้ยืนยันว่าได้มีการทำลายปลาหมอคางดำ เมื่อ 10 กว่าปีที่แล้ว และมีการตั้งข้อสังเกตว่าอาจมีการลักลอบนำเข้าปลาหมอคางดำ มองอย่างไรกับเรื่องนี้ นายศรีสุวรรณ กล่าวว่า การที่บริษัทเอกชนพยายามนำหลักฐานมายื่นต่อคณะกรรมาธิการสภาผู้แทนราษฎรว่าได้ทำลายหลักฐานหมดไปแล้วตั้งแต่ปี 2553 แต่กรมประมงได้มีการส่งเจ้าหน้าที่ไปสำรวจในบ่อภายในศูนย์วิจัยของบริษัทเอกชน ก็ยังพบปลาหมอคางดำอยู่ แสดงให้เห็นว่าอาจจะมีการกำจัดไม่จริง เป็นการสร้างหลักฐานอันเป็นเท็จยื่นต่อกรรมาธิการหรือไม่ ซึ่งจะเป็นข้อพิสูจน์ในชั้นศาลปกครองต่อไป
นายศรีสุวรรณ เปิดเผยว่า ในสัปดาห์หน้าตนจะยื่นเพิ่มเติมเพื่อขอให้ศาลพิจารณาคุ้มครองชั่วคราว โดยวันนี้เป็นการยื่นคำร้องหลักไปก่อน ส่วนบริษัทเอกชนไม่ปรากฏอยู่ในการฟ้อง เนื่องจากศาลปกครองยื่นฟ้องได้เฉพาะหน่วยงานของรัฐ แต่เป็นอำนาจของศาลที่จะเรียกเอกชนเข้ามาในคดีได้ เชื่อว่าศาลจะเรียกบริษัทนายทุนเข้ามาหลังจากที่ศาลประทับรับฟ้องเรียบร้อยแล้ว.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
รมว.เกษตรฯ สั่งรวบรวมข้อมูลเกษตรกรผู้ประสบอุทกภัย 67 เตรียมพัฒนาส่งเสริมอาชีพ-ลดภาระหนี้สิน
นายเอกภาพ พลซื่อ โฆษกกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (ฝ่ายการเมือง) กล่าวถึงความคืบหน้าภารกิจโครงการฟื้นฟูเกษตรกรผู้ประสบอุทกภัย ปี 2567 โดยเร่งสำรวจความเสียหายและรวบรวมข้อมูลเกษตรกร ผู้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์อุทกภัยในช่วงวันที่ 14 ก.ค. 67 – 31 ต.ค. 67 รวม 59 จังหวัด
โปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง ขรก.ฝ่ายศาลปกครอง ให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ 3 ราย
ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีเรื่อง แต่งตั้งข้าราชการฝ่ายศาลปกครอง
ชาวบ้านเกาะเต่า ร้องผู้ตรวจฯ ชงศาลปค. เพิกถอนกฎกระทรวงห้ามออกโฉนดบนเกาะ
นายอนันต์ชัย ไชยเดช ประธานมูลนิธิทนายกองทัพธรรม พร้อมด้วยชาวบ้านเกาะเต่า อ.เกาะพะงัน จ.สุราษฎร์ธานี เข้ายื่นคำร้องต่อผู้ตรวจการแผ่นดินขอให้ตรวจสอบและมีความเห็นเสนอต่
'เฉลิมชัย' เข้มสั่ง ทส. จัดการ 'ปลาหมอคางดำ' ต่อเนื่อง
“เฉลิมชัย” สั่งกำชับ ทส.แก้ปัญหา “ปลาหมอคางดำ”เข้มข้น ย้ำทำมาต่อเนื่อง ให้ประสานประมง-ท้องถิ่น เร่งแผนควบคุม-กำจัด พร้อมติดตามประเมินผลใกล้ชิด
ศาลปกครองสูงสุด ปิดเงียบผลชี้ขาดคดีบิ๊กโจ๊ก สั่งเก็บหลักฐานฟันสื่อละเมิดอำนาจศาล
นายประสิทธิ์ศักดิ์ มีลาภ ประธานศาลปกครองสูงสุด เป็นประธานการประชุมใหญ่ตุลาการศาลปกครองสูงสุด