รอง ผบ.ตร.แฉกลโกงมิจฉาชีพในโลกออนไลน์ เผยส่วนใหญ่ไม่หนี 7 รูปแบบ ชี้มีทั้ง 'ขายของ-เงินกู้-ลงทุน-เล่นพนัน-หลอกให้รัก'
12 ม.ค.2565 - พล.ต.อ.ดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์ รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (รอง ผบ.ตร.) ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์ปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยีสารสนเทศ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ศปอส. ตร.) เปิดเผยถึงพิษภัยในโลกออนไลน์ ว่านับวันจะระบาดมากขึ้น สร้างความเดือดร้อนให้ประชาชนตกเป็นเหยื่ออาชญากรรมทางเทคโนโลยี จึงออกมาเตือนภัยประชาชนให้ทราบถึงวิธีการต่างๆ ที่มิจฉาชีพมักใช้ในการหลอกเหยื่อบนโลกออนไลน์ รวม 7 ข้อ ดังนี้
1.หลอกขายของออนไลน์ แต่ไม่ส่งสินค้าจริง หรือส่งสินค้าที่ไม่ตรงตามที่ตกลง หรือไม่มีคุณภาพมาให้ โดยมิจฉาชีพ จะนำภาพสินค้าจากอินเตอร์เน็ตหรือภาพจากผู้ใช้งานท่านอื่นที่ขายสินค้าจริง แล้วนำมาโพสต์ขายในช่องทางของตัวเอง เพื่อหลอกให้ลูกค้าหลงเชื่อว่ามีสินค้านั้นอยู่จริง และโอนเงินสั่งซื้อ แต่จะไม่ส่งสินค้า หรือส่งสินค้าไม่ตรงตามที่ตกลง
2.เงินกู้ออนไลน์ ดอกเบี้ยมหาโหด มีผู้เสียหายจำนวนมาก หลงเชื่อและตกเป็นเหยื่อแก๊งปล่อยเงินกู้ออนไลน์ โดยกลุ่มมิจฉาชีพ จะหลอกว่ามีบริการเงินกู้ โดยคิดอัตราดอกเบี้ยราคาถูก ผ่อนจ่ายระยะยาว แต่เมื่อทำสัญญาแล้ว กลับไม่ได้รับเงินกู้ตามจำนวนที่ตกลง อีกทั้งดอกเบี้ยยังเพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัวอีกด้วย
3.เงินกู้ออนไลน์ ที่ไม่มีจริง (เงินกู้ทิพย์) ในกรณีนี้จะต่างจากกรณีข้างต้น คือ แก๊งมิจฉาชีพจะหลอกผู้เสียหายว่าก่อนได้รับเงินกู้ จะต้องเสียค่าบริการ ค่ามัดจำ หรือค่าดำเนินการต่างๆ โดยให้ผู้เสียหายโอนเงินให้เรื่อยๆ จนสุดท้าย ก็ไม่ได้รับเงินกู้จริงตามที่กล่าวอ้าง
4.หลอกให้ลงทุนต่างๆ มิจฉาชีพจะหลอกให้ผู้เสียหาย ลงทุนต่างๆ เช่น ลงทุนธุรกิจ หรือ ลงทุนแชร์ลูกโซ่ ฯลฯ ผ่านช่องทางออนไลน์ โดยจะเสนอผลตอบแทนเป็นจำนวนมาก ได้เงินไว แรกๆ อาจจะได้รับผลจริง เมื่อเหยื่อหลงเชื่อและร่วมลงทุนเป็นจำนวนมากขึ้น ก็จะเริ่มบ่ายเบี่ยง ไม่ให้ผลตอบแทนตามที่ตกลงไว้
5.หลอกให้เล่นพนันออนไลน์ การพนันเป็นสิ่งผิดกฎหมาย แต่มิจฉาชีพจะหว่านล้อมด้วยวิธีการต่างๆ ให้ผู้เสียหายเข้าร่วมลงทุนหรือเล่นการพนันออนไลน์ ซึ่งหากท่านถูกโกงจากการพนันออนไลน์แล้ว ท่านอาจไม่สามารถแจ้งความหรือดำเนินคดีกับมิจฉาชีพได้
6.โรแมนซ์สแกม หลอกให้รัก หลอกให้โอนเงิน กลุ่มมิจฉาชีพจะทำงานเป็นขบวนการ โดยจะใช้รูปภาพและโปรไฟล์เป็นชาวต่างชาติ ที่ดูดีมีฐานะ ทักมาคุยสร้างความสนิทสนม จากนั้นจะหลอกผู้เสียหายด้วยวิธีการต่างๆ เช่น จะส่งของมาให้ หรือหลอกให้ลงทุน ฯลฯ ให้ผู้เสียหายหลงเชื่อและโอนเงินให้เป็นจำนวนมาก
และ 7.ลิงก์ปลอมหลอกแฮ็กข้อมูลโทรศัพท์ มิจฉาชีพจะส่งข้อความต่างๆ เช่น ท่านได้รับความช่วยเหลือต่างๆ ท่านเป็นผู้โชคดีได้รับเงินรางวัล หรือแม้กระทั่งหลอกว่าเป็นลิงก์จากหน่วยงานหรือธนาคาร ให้ผู้เสียหายกดลิงก์เข้าไปเพื่อตรวจสอบข้อมูล แต่เมื่อกดลิงก์เข้าไปแล้ว มิจฉาชีพก็จะแฮ็กข้อมูลในโทรศัพท์หรือบัญชีธนาคาร ทำให้สูญเงินไปทันที
พล.ต.อ.ดำรงศักดิ์กล่าวว่า พล.ต.อ.สุวัฒน์ แจ้งยอดสุข ผบ.ตร. ได้สั่งการให้ทุกหน่วยเร่งระดมกวาดล้างอาชญากรรมทางเทคโนโลยีอย่างเข้มงวด สำหรับประชาชนหากพบเบาะแส หรือเกรงจะตกเป็นเหยื่อ สามารถแจ้งเข้ามาได้ที่สายด่วน PCT 1599 หรือ บช.สอท. 1441 ตลอด 24 ชม. หรือสายตรง 08-1866-3000 หรือ www.pct.police.go.th
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ผงะ! สูญวันละ 80 ล้าน สถิติเหยื่ออาชญากรรมไซเบอร์ ‘ผู้หญิงวัยทำงาน’ เยอะสุด
จากสถิติการรับแจ้งความออนไลน์ คดีอาชญากรรมทางเทคโนโลยี ในห้วงวันที่ 1 มีนาคม 2565 ถึง 30 มิถุนายน 2567 พบว่ามีการแจ้งความผ่านระบบแจ้งความออนไลน์ทั้งหมด 575,507 เรื่อง
เรียกโจ๊กแจง7พค. ทีมสอบวินัยย้ำชัด ยึดกม.-ไร้คนชี้นำ
"รอง ผบ.ตร." เรียกประชุมคณะกรรมการสอบ “บิ๊กโจ๊ก” พร้อมพวก 5 คนผิดวินัยร้ายแรง จ่อเรียกรับทราบข้อกล่าวหาภายใน 7 พ.ค.นี้
'รองธนา' ไม่กังวลปม'โจ๊ก'ร้อง ป.ป.ช.กลั่นแกล้ง!
'รองธนา' หัวหน้าคณะพนักงานสอบสวนคดี 'บิ๊กโจ๊ก' ยันทำตามหน้าที่ไม่มีเจตนากลั่นแกล้ง โดยมีอัยการ-ปปง.ร่วมสอบ
'พล.ต.อ.เอก' ยันกฎหมายเอาผิดวินัยบิ๊กตำรวจมีกรอบเวลา 390 วัน!
พล.ต.อ.เอกเผยการร้องเอาผิดทางวินัยตำรวจระดับสูง ใช้มาตรฐานกฎหมายเดียวกัน หากพบมีมูลผิดวินัยร้ายแรงมีกรอบระยะเวลาพิจารณา 390 วัน
ระทึก! บ่ายนี้รู้แน่ 'บิ๊กโจ๊ก' ต้องหยุดปฏิบัติหน้าที่หรือไม่
'เศรษฐา' เผยบ่ายนี้หารือ 'กิตติ์รัฐ-ฝ่าย กม.' ปม 'บิ๊กโจ๊ก' ต้องหยุดปฏิบัติหน้าที่หรือไม่ หลังถูกออกหมายจับ
นายกฯชิ่งปมหมายเรียก บิ๊กโจ๊กสั่งทนายโต้19มี.ค.
สีกากีระอุอีกรอบ! ออกหมายเรียก “บิ๊กโจ๊ก” โผล่อารักขานายกฯ