กมธ.เกษตรฯ แนะ 7 ข้อ เร่งแก้ปัญหาการแพร่ระบาด 'ปลาหมอคางดำ'

25 ก.ค.2567 - ที่รัฐสภา นายศักดินัย นุ่มหนู สส.ตราด พรรคก้าวไกล ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการการเกษตรและสหกรณ์ สภาผู้แทนราษฎร แถลงภายหลังการประชุมเพื่อพิจารณาแนวทางการแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดของปลาหมอคางดำที่ส่งผลกระทบต่อสัตว์น้ำและการประกอบอาชีพของชาวประมง ร่วมกับ ผู้แทนอธิบดีกรมประมง, ผู้แทนอธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ, ผู้แทนสมาคมการประมงแห่งประเทศไทย,ผู้แทนสมาคมสมาพันธ์ชาวประมงพื้นบ้านแห่งประเทศไทย และผู้แทนกรรมการประมงประจังหวัดจันทบุรี

โดยนายศักดินัย กล่าวว่า คณะกรรมาธิการฯ มีข้อเสนอแนะแนวทางการแก้ไขปัญหาต่อหน่วยงานที่เข้าร่วมประชุม ดังนี้ 1.รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ต้องขับเคลื่อนและผลักดันให้ปัญหาการแพร่ระบาดของปลาหมอคางดำเป็นวาระแห่งชาติโดยเร็ว

2.คณะกรรมาธิการฯ เห็นว่าการกำจัดการแพร่ระบาดปลาหมอคางดำ ต้องมีแผนการการดำเนินงานเป็นขั้นตอนที่ชัดเจนในแต่ละช่วงเวลาของการกำจัดและแต่ละพื้นที่ซึ่งมีความแตกต่างกัน พร้อมทั้งอาจต้องมีการผ่อนผันให้ใช้เครื่องมือประมงบางประเภทที่มีประสิทธิภาพสูงสามารถกำจัดปลาหมอคางดำได้อย่างหมดสิ้นแท้จริง โดยรัฐบาลต้องให้ความสำคัญและจัดสรรงบประมาณในพื้นที่ที่ขาดแคลนเครื่องมือประมงกำจัดปลาหมอคางดำ

3.คณะกรรมาธิการฯ เห็นว่ามาตรการแก้ไขปัญหาในระยะเร่งด่วนด้วยการรับซื้อปลาหมอคางดำ กิโลกรัมละ 15 บาท จำนวน 2 เดือน สามารถแก้ไขปัญหาได้บางส่วน โดยกระทรวงเกษตรฯ ต้องขอความร่วมมือกับผู้ประกอบการที่มีศึกษภาพแปปรูปปลาหมอคางน้ำเพื่อช่วยรัฐบาลรับซื้อ

4.กระทรวงเกษตรฯ ต้องประสานความร่วมมือกับกรมสอบสวนคดีพิเศษ (DSI) เพื่อรับเรื่องดังกล่าวเป็นคดีพิเศษ และสืบหาข้อเท็จจริงเอาผิดและดำเนินคดีกับผู้ที่เป็นต้นเหตุของการแพร่ระบาดปลาหมอคางดำโดยเร็ว

5.กรมประมง ต้องเร่งหาจุดรับซื้อในจังหวัดที่ยังไม่มีจุดรับซื้อ โดยเฉพาะบริเวณชายฝั่งทะเลของจังหวัดที่เป็นพื้นที่เขตกันชน เช่น จังหวัดจันทบุรี เพื่อลดการแพร่ระบาดลงสู่ทะเล

6.กรมประมง ต้องเสนอแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกำหนดการประมง โดยเฉพาะมาตรา 65 ประกอบมาตรา 144 เพื่อใช้กฎหมายเป็นกลไกในการป้องกัน ควบคุมที่มีประสิทธิภาพไม่ให้เกิดปัญหาในอนาคต และที่สำคัญจำเป็นต้องมีบทลงโทษที่รุนแรงขึ้นสำหรับผู้ที่เป็นต้นเหตุแห่งการแพร่ระบาด ตลอดจนความรับผิดชอบด้านการชดเชยความเสียหายและฟื้นฟูเยียวยาผลกระทบที่เกิดขึ้น

7.กรมประมง ต้องควบคุมการะบาดให้ได้โดยเร็ว และต้องป้องกันพื้นที่ที่ยังไม่พบมีการแพร่ระบาด ตลอดจนสร้างความร่วมมือกับองค์กรในท้องถิ่น เช่น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้ใหญ่บ้าน โรงเรียน และ อสม.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ดุเดือด! สส.ณัฐชา ถล่ม 'แพทองธาร' เมินวิกฤต 'ปลาหมอคางดำ' ซัดเพื่อไทยหัวใจนายทุน

‘ณัฐชา’ เดือดกลางสภา อัดรัฐบาลไม่จริงใจแก้ปัญหา ‘ปลาหมอคางดำ’ ซ้ำเติมเกษตรกร ซัดงบฯ 98 ล้านแค่ ‘ยาพารารักษามะเร็ง’ แฉสัมพันธ์ลึกระหว่างครอบครัวนายกฯ กับกลุ่มทุนที่ส่อเอี่ยว พร้อมเปิดคลิปตีแผ่ ‘ในทำเนียบ-นอกทำเนียบ’ สะท้อนความเพิกเฉย จี้ 4 ข้อเรียกร้องจากชาวบ้าน ให้รัฐบาลเร่งแก้ไขทันที

กมธ.เกษตร วุฒิสภา ลงพื้นที่สางปัญหา 'ปลาหมอคางดำ' ระบาดทะเลแสมสาร

นายธนกร ถาวรชินโชติ สมาชิกวุฒิสภา ในฐานะ รองประธาน กรรมาธิการเกษตรและสหกรณ์ และประธานอนุกรรมาธิการด้านการประมง พร้อมด้วย นายณัฐพงศ์ วรรณพัฒน์ ประมงจังหวัดชลบุรี น.ส.อุรุอายา บุญนำมา ประมงอำเภอสัตหีบ

'สมคิด' เตือน 'วิโรจน์' ปรับตัวใหม่อย่าจ้องแต่หาอีเวนต์สร้างราคา

'สมคิด' โต้เดือด 'วิโรจน์' ปมกล่าวหา 'นายกฯ อิ๊งค์' ไม่รู้สี่รู้แปดบอก อย่าพูดเอามัน-เล่นการเมืองมากเกินไป ลั่น 'ปรับตัวใหม่เถอะน้อง อนาคตยังอีกไกล'

ม็อบปลาหมอคางดำ 19 จังหวัด เทปลาหน้าทำเนียบ หลังนายกฯไม่ออกมารับข้อเรียกร้อง

เครือข่ายประชาชน 19 จังหวัดที่ได้รับผลกระทบจากปลาหมอคางดำ นัดรวมตัวกันบริเวณหน้ากระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เตรียมเคลื่อนขบวนมายังทำเนียบรัฐบาล เพื่อทวงถามข้อเรียกร้อง 4 ข้อ คือ 1.ตั้งคณะกรรมการอิสระตรวจสอบหาผู้กระทำกระทำความผิด

รัฐบาลงัดเทคโนโลยีทำหมันปลา จัดการ 'หมอคางดำ'

เปิดมาตรการเชิงรุกขจัดปัญหา “ปลาหมอคางดำ” ระยะเร่งด่วน ตั้งเป้า 3 ล้าน กก. หนุนแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ ดึงงานวิจัยและนวัตกรรม “ชุดโครโมโซม 4N” ทำหมันปลา