24 ก.ค. 2567- นายวิโชคศักดิ์ รณรงค์ไพรี นายกสมาคมรักษ์ทะเลไทย โพสต์บทความเรื่อง ความสั่นคลอนของระบบอุตสาหกรรมอาหารทะเลไทย (๑) มีเนื้อหาดังนี้
อาหารทะเล เป็นอาหารโปรตีนที่สำคัญในทางสังคม ผลผลิตอาหารทะเลจากธรรมชาติของเกษตรกรประมงไทยที่ยังคงได้รับความนิยมและมีมูลค่าสูงขึ้นทุกวัน ผู้บริโภคเข้าถึงอาหารทะเลสดได้ยากมากขึ้น อาหารทะเลสดมีราคาสูงจนผู้มีรายได้น้อยหรือปานกลาง เข้าถึงได้เฉพาะในโอกาสสำคัญๆเท่านั้น เด็กๆหรือครอบครัวในพื้นที่ห่างไกลจากทะเล ยิ่งแทบไม่มีโอกาสทานอาหารทะเลสดมีคุณภาพ
หากเทียบกับการเข้าถึงอาหารโปรตีนอย่าง “นมโรงเรียน” ที่สังคมไทยสามารถสนับสนุนให้เด็กไทยได้ทานต่อเนื่อง โปรตีนจากสัตว์น้ำธรรมชาติจากต้นทุนทะเลไทยกลับมีปรากฏการณ์ต่างไป
ผลผลิตการจับสัตว์น้ำในทะเลไทยมวลรวมปี ปัจจุบัน (ข้อมูล ณ ปี พ.ศ.๒๕๖๔)ลดระดับลงจาก ๒ ล้านตัน เมื่อสิบกว่าปีก่อน เหลือ ๑.๔ ล้านตัน ในปี ๒๕๖๓ และเหลือเพียง ๑.๒ ล้านตันต่อปี ในปี พ.ศ.๒๕๖๔ (หนึ่งพันสองร้อยล้านกิโลกรัม) ในข้อมูลนี้ ผลผลิตอาหารทะเลที่ใช้เป็นอาหารมนุษย์บริโภคโดยตรงได้จริง มีจำนวนน้อยลงเรื่อยๆ มีสัตว์น้ำทะเลที่จับได้ในคุณภาพต่ำ ถูกป้อนเข้าโรงงานอาหารสัตว์และตลาดแปรรูปจากสัตว์น้ำเศรษฐกิจทะเลวัยอ่อน สัดส่วนมากขึ้น
สถานการณ์โดยรวมของอาหารทะเลไทยอยู่ในภาวะเช่นนี้ ประชาชนส่วนใหญ่ยิ่งมีโอกาสเข้าถึงอาหารทะเลที่มีคุณภาพน้อยลงไปตามลำดับ และจะทวีความรุนแรงมากขึ้น โดยประชากรส่วนใหญ่จะมีโอกาสเข้าถึง อาหารทะเลราคาปานกลาง จากตลาดสัตว์น้ำแช่แข็งนำเข้า หรือผ่านการบดแปรรูปเป็นชิ้นก้อน ไม่มีหลักประกันความปลอดภัยมากขึ้น มีความเสี่ยงจากการปนเปื้อนของสารเคมีอันตรายต่อสุขภาพจำพวกสารฟอร์มอลีนเพื่อรักษาความสดมากขึ้น จนมีปรากฏเป็นอาการแพ้อาหารทะเลในผู้บริโภคในที่สุด โดยที่ประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศไม่มีโอกาสได้รับรู้ข้อมูลข้อเท็จจริง ใดๆ เลย
การจับสัตว์น้ำประเภทที่ไม่เหมาะสมเป็นอาหารของมนุษย์ในอัตราสูงอย่างต่อเนื่อง โดยที่ไม่มีมาตรการออกมาควบคุมที่ได้ผล ส่งผลต่อการเร่งผลิตสัตว์น้ำทะเลไร้คุณภาพมากขึ้น เมื่อพิจารณาความสูญเสียทางเศรษฐกิจที่ประเทศไทยควรจะได้จากกลุ่มอาหารทะเล โดยอาจคำนวณจาก”ตัวอ่อนสัตว์น้ำ” ที่ปนเปื้อนอยู่ในกองอาหารสัตว์ และ “ตัวอ่อนสัตว์น้ำ” รูปแบบต่างๆ ที่ถูกนำเข้าสู่ตลาดผู้บริโภคพบว่า มีปริมาณการปนเปื้อนของตัวอ่อนสัตว์น้ำ รวมกันมากกว่าสามแสนตันต่อปี (สามร้อยล้านกิโลกรัม) ในมูลค่าเฉลี่ย 5-10 บาทต่อกิโลกรัม หรือประมาณหนึ่งพัน ถึงสองพันล้านบาท เท่านั้น แต่หาก “ตัวอ่อนสัตว์น้ำ” เหล่านั้นได้มีโอกาสโตเต็มวัยแค่หนึ่งปี จะมีโอกาสสร้างมูลค่าได้เพิ่มนับหลายหมื่นล้านบาท สร้างรายได้ให้ประเทศ ลดภาวะความยากจน เพิ่มโอกาสให้อาหารทะเลที่มีคุณภาพ ได้เข้าถึงครอบครัวผู้บริโภคทั่วไป ได้มากขึ้น
สถานการณ์ที่น่ากังวลอย่างยิ่งอีกประการ คือ การสูญเสียโอกาสในห่วงโซ่อาหารตามธรรมชาติ พบว่า การที่มีการจับเอาสัตว์น้ำขนาดเล็ก และสัตว์น้ำวัยอ่อนขึ้นมามากเกินไป ส่งผลต่อความสมดุลทางธรรมชาติในทะเล โดยเมื่อแหล่งอาหารตามธรรมชาติน้อยลงเนื่อง (สัตว์น้ำขนาดเล็ก และ สัตว์น้ำวัยอ่อนเป็นอาหารตามธรรมชาติของสัตว์น้ำที่โต กว่า) ย่อมส่งผลต่อการรอดชีวิตของสัตว์น้ำโดยรวม และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ฝูงสัตว์น้ำขนาดเล็กเป็นอาหารของสัตว์น้ำหายากในระบบนิเวศอย่าง วาฬ เป็นต้น เมื่อทะเลไทยขาดแหล่งอาหาร อาจเป็นปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งต่อการดำรงชีวิตของสัตว์หายากอื่นๆ ตามมา เช่นการย้ายถิ่นหาแหล่งอาหารใหม่ เป็นต้น
ในขณะที่ชาวประมงพื้นบ้านซึ่งมีจำนวนประชากรในฐานะเกษตรกรประมงผู้ผลิตอาหารมากกว่า 80% ของผู้ประกอบการประมงทั้งหมด ต้องเผชิญกับปัญหาผลผลิตตกต่ำ รายได้น้อย ถูกกีดกันการเข้าถึงทรัพยากรด้วยข้อจำกัดต่างๆ และทางนโยบายที่กำหนดให้ “สัตว์น้ำในทะเล” ซึ่งเป็นแหล่งผลิตทั้งหมด ตกอยู่ในมือของการประมงพาณิชย์อุตสาหกรรมมากถึง80% ของสัตว์น้ำทะเลที่มีทั้งหมดในทะเลไทย ทำให้ชาวประมงพื้นบ้าน ถูกละเมิดสิทธิ มีฐานะทางสังคมและคุณภาพชีวิตต่ำ
แม้จะมีมาตรการกฎหมายและนโยบายภาครัฐ มีการกำหนดควบคุมตัวบุคคลที่จะมีสิทธิจับสัตว์น้ำ, มีการควบคุมเรือประมง, วิธีการทำการประมง, เครื่องมือประมง, เขตการประมง, ห้ามจับแม่พันธ์ในฤดูวางไข่, และอื่นๆมากมาย แต่สถานการณ์ไม่ดีขึ้น การสนับสนุนชาวประมงพื้นบ้านยังเต็มไปด้วยอุปสรรคทางกฎหมายและนโยบาย และผลผลิตสัตว์น้ำทะเลยิ่งแย่ลงเรื่อยๆ โดยเราพบว่า “ตัวอ่อนสัตว์น้ำทะเล” ถูกป้อนโรงงานอาหารสัตว์ และนำมาวางขายตลาดผู้บริโภคในราคาถูกๆ ในรูปแบบและชื่อเรียก ต่างๆ
เช่น “ปลาทูแก้ว” (ตัวอ่อนของปลาทู) “หมึกกะตอย (ตัวอ่อนของหมึกกล้วยปะปนอยู่มาก), “ปลากรอบ” (ตัวอ่อนของปลาอินทรี,จารเม็ด,หลังเขียว,ข้างเหลือง,สีกุน ฯลฯ) หรือ แม้แต่ “ปลาข้าวสาร” (ตัวอ่อนของกะตัก) ที่อาจมีราคาสูง, โดยที่ผู้บริโภคไม่มีโอกาสได้รู้ว่า แท้จริงเป็นการบริโภคอาหารทะเลที่มีผลกระทบต่อระบบโครงสร้างอาหารทะเลโดยตรง
ปัญหานี้จำเป็นต้องมีทิศทางนโยบายทางการเมือง การแก้ไขระเบียบ กฎหมาย และการปฏิบัติการของผู้กุมอำนาจที่ชัดเจน และตระหนักถึงปัญหาที่แท้จริง และมีนโยบายการแก้ไขปัญหาอาหารทะเล ส่งเสริมคุณภาพชีวิตชาวประมงพื้นบ้านสู่การจัดการอาหารทะเลไทยอย่างยั่งยืนได้อย่างไร
หลังการจัดตั้งรัฐบาลจากการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อ ปี 2566 ดูเหมือนรัฐบาล ยังไม่มีนโยบายที่ชัดเจนว่า จะ "ฟื้นฟูอาหารประมงไทย" เพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตของประชาชนในประเทศได้อย่างตรงจุด, ลดปัญหาความขัดแย้ง, ลดความยากจน บนหลักการการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDG) ได้อย่างไร
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'ประมงพื้นบ้าน' ยกพลบี้สภา เปิดช่องทบทวนมาตรา 69 ยืดชะตาทะเลไทย
สมาพันธ์ชาวประมงพื้นบ้านฯ จ่อเคลื่อนไหวหลังปีใหม่ หนุนเปิดทางตั้งกมธ.ร่วมสองสภา ทบทวน มาตรา 69 ปลดล็อกทำลายล้างทะเลไทย
ชำแหละ ม.69กม.ประมง เปิดทาง อวนล้อม3มิล มุ่งจับสัตว์น้ำวัยอ่อน โศกนาฏกรรมทางทะเล
นายวิโชคศักดิ์ รณรงค์ไพรี นายกสมาคมรักษ์ทะเลไทย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก ถึงการคัดค้านการร่างพ.ร.บ.ประมง มาตรา 69 ว่า
ชาวประมงพื้นบ้านสงขลา ออกคราดหอยเสียบ สร้างรายได้งามช่วงฤดูมรสุม
ชาวประมงพื้นบ้านในชุมชนเก้าเส้ง ประกอบอาชีพคราดหอยเสียบขายรายได้ดีเลี้ยงครอบครัวได้ เป็นอิสระในช่วงฤดูมรสุมลมตะวันออกเฉียงเหนือ คลื่นลมเริ่มมีกำลังแรงหอยเสียบตัวโต น้ำหนักดี สร้างรายได้เพิ่มขึ้นให้กับครอบครัว
ประมงพื้นบ้านสงขลา อาศัยช่วงคลื่นลมไม่รุนแรง ออกจับปูม้ากำลังชุกชุม ขายได้ราคาดี
ที่ชายหาดบ้านบ่ออิฐ ต.เกาะแต้ว อ.เมือง จ.สงขลา ชาวประมงพื้นบ้านในชุมชนบ้านบ่ออิฐนำเรือหลายลำออกไปทำการประมงอวนปูกลางทะเล เนื่องจากในช่วงนี้คลื่นลมไม่รุนแรงสามารถนำเรือออกไปทำการประมงได้
เกาะลิบงอ่วมหนักรอบ 30 ปี! คลื่นซัดเรือประมงล่ม 7 ลำ รีสอร์ทพัง ชาวบ้านเผยปีนี้ฝนมาเร็ว
ในพื้นที่เกาะลิบง หมู่ 5 บ้านหลังเขา ต.เกาะลิบง อ.กันตัง จ.ตรัง เกิดเหตุมีเรือประมงพื้นบ้านล่มจำนวน 7 ลำ หลังเกิดฝนตกและลมพายุในทะเลฝั่งอันดามัน โดยนายอ่าสาน ค
ดับฝันเบอร์หนึ่ง 'เจ้าสมุทร' ประมงไทยถดถอย ทำลายล้างทะเล
เครือข่ายองค์กรด้านประชากรข้ามชาติจับมือสมาคมสมาพันธ์ชาวประมงพื้นบ้านแห่งประเทศและภาคีเครือข่ายจัดเสวนาสะท้อนเสียงภาควิชาการและภาคประชาชน“สู่การดูแลทะเลร่วมกันอย่างเป็นธรรมและยั่งยืน” ต่อการแก้ไขกฎหมายการประมง ซัดเป็นกฎหมายที่ถดถอยทำลายความยั่งยืนทางทะเล และเสี่ยงกระทบกับเศรษฐกิจ