‘ปลอดประสพ’ อธิบาย 7 เหตุผลสำคัญ ทำไมปลาหมอคางดำ อยู่เมืองไทยซ่าส์นัก

21 ก.ค.2567-นายปลอดประสพ สุรัสวดี อดีตรองนายกรัฐมนตรี อดีตปลัดกระทรวงกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โพสต์เฟซบุ๊กเรื่อง “ปลาหมอคางดำ อยู่เมืองไทยทำไมซ่าส์นัก” ระบุว่า มีคนคะยั้นคะยอให้อธิบายว่า เหตุใดปลาหมอคางดำตอนอยู่ถิ่นเดิมที่กานา แอฟริกาตะวันตกจึงไม่ดุร้ายขยายพันธุ์ได้รวดเร็วเหมือนอยู่ในเมืองไทยขณะนี้

จึงขอตอบแบบเดาๆแต่อิงวิชาการ ดังนี้

1. ที่กานาเขาเกิดมาแต่โบราณนับหมื่นปีแล้ว มีสถานะเป็นปลาประจำถิ่น จึงไม่ต้องขวนขวายต่อสู้เพื่อการอยู่รอดอะไรอีก

2. ที่กานาคงมีศัตรูตัวร้ายอยู่แน่นอน ทำให้เขาซ่าส์ไม่ได้ เห็นได้ชัดว่า พวกเขาอยู่เป็นฝูงใหญ่เพื่อลดหรือเฉลี่ยอันตราย แถมหากินเวลากลางคืนอีกด้วย เพื่อหลีกหนีศัตรูในเวลากลางวัน

3. เมื่อมาอยู่ในเมืองไทย 13 ปีที่แล้ว จิตสำนึกของการอยู่รอดจะสั่งให้เขากินจุ ออกลูกเยอะและกระจายไปในพื้นที่ต่างๆเพื่อเสาะหาที่ที่เหมาะสมที่สุด เขาถึงกระจายไปทั้งน้ำจืด น้ำกร่อยและทะเล ขบวนการทั้งหมดนี้คือ ส่วนหนึ่งของวิวัฒนาการ (evaluation)

4. เชื่อว่า อีกสักพักหนึ่ง (3-5 ปี) พวกเขาจะกลายเป็นสัญชาติไทย (endemic) เหมือน COVID ที่ตอนนี้ฤทธิ์ลดลง

5. การต่อสู้ของมนุษยชาติ (คนไทย) ก็ต้องอดทน ต้องทำต่อเนื่อง และใช้เงินมาก ซึ่งรัฐบาลต้องเข้าใจ ส่วนเอกชนที่มีส่วนเกี่ยวข้องก็ต้องร่วมรับผิดชอบ (ไม่งั้นท่านอาจถูกแอนตี้ไม่ซื้อของนะ)

6. มาตราการที่กรมประมงออกมานั้นก็ดีแล้ว แต่ให้ระวังเรื่องปลากระพงสักนิด เพราะปลานี้เป็นปลาเลี้ยงที่กินอาหารเม็ดทุกมื้อ จะให้มันไปไล่จับไล่กินลูกปลาหมอคางดำโดยไม่ฝึกอาจจะไม่ได้

7. สุดท้ายของสุดท้ายคือ เราอย่าไปยอมให้มันกลายเป็นปลาหลักของประเทศไทย (Dominant Species) เป็นอันขาด เพราะว่า กานาพบว่า 97%ของปลาธรรมชาติเป็นเจ้าคางดำทั้งนั้น

เรื่องนี้อย่าให้เป็นการเมือง ขอให้เป็นการบ้านเพื่อความปลอดภัยของระบบนิเวศน์และการรักษาความหลากหลายทางชีวภาพของน่านน้ำไทย ซึ่งก็คือ แหล่งอาหารของคนไทยและอาชีพชาวประมง

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ความน่าสะพรึงของ'เอเลียนสปีชีส์'บุกน่านน้ำไทย

ปลาหมอคางดำ เอเลียนสปีชีส์ที่กำลังแพร่พันธุ์มหาศาลในประเทศไทยเวลานี้ ถือเป็นภัยทำลายล้างระบบนิเวศและสัตว์น้ำท้องถิ่น มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์(มก.) เปิดเวทีเสวนาวิชาการเรื่อง”จบปัญหา…การรุกรานแหล่งน้ำไทย…จากปลาหมอคางดำ”

'ปลาหมอคางดำ'ต้องเป็นศูนย์ ก่อนนิเวศย่อยยับ

จากสถานการณ์ปลาหมอคางดำที่กำลังระบาดไปในแหล่งน้ำธรรมชาติและพื้นที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในประเทศไทย   ซึ่งปลาหมอคางดำมีต้นกำเนิดอยู่ในทวีปแอฟริกา ประเทศไทยเองมีบริษัทเอกชนนำเข้ามาเมื่อปี 2553  ซึ่งวงจรปลาหมอคางดำขยายพันธุ์รวดเร็ว ทุกๆ 22 วัน

'อนาคตไกล' รับซื้อ 'ปลาหมอคางดำ' 20 ตันเพื่อกำจัด อัด 'พิธา' ตรรกะวิบัติอ้างคนจะเพาะเลี้ยงมากขึ้น

“พรรคอนาคตไกล” บรรเทาความเดือดร้อนพี่น้องเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำและชาวประมง รับซื้อปลาหมอคางดำ 20 ตันเพื่อกำจัด อัด "พิธา-ก้าวไกล ตรรกะวิบัติ" อ้างคนจะเพาะเลี้ยงมากขึ้น

เรียนรู้วิธีการกำจัดปลาหมอคางดำ จากกรณีศึกษาในต่างประเทศ

ต้นตอการระบาดปลาหมอคางดำมาจากนำมาเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม ชี้ทุกภาคส่วนต้องร่วมกันเดินไปข้างหน้าเพื่อกำจัดปลาหมอคางดำในไทยอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน