เพจดังเปิดข้อมูลมัด 'จอมไฟเย็น' บิดเบือน 'ปลานิล-ปลาหมอคางดำ'

19 ก.ค.2567 - เพจเฟซบุ๊ก ฤๅ - Lue History โพสต์ข้อความว่า ปลานิล และปลาหมอคางดำ จากกรณีมีความพยายามบิดเบือนชื่อสายพันธุ์ เพื่อใส่ร้ายในหลวงร.9 ของ "จอม ไฟเย็น" บิดเบือนว่า ปลานิล กับปลาหมอคางดำเกี่ยวข้องกันด้วยการเรียกชื่อสามัญทางภาษาอังกฤษ โดยเรียกปลาหมอคางดำว่า Blackchin tilapia และ เรียกปลานิลว่า Nile Tilapia ที่ลงท้ายว่า Tilapia เหมือนกัน และแอบเปลี่ยนชื่อ ปลาหมอคางดำ เป็นปลานิลคางดำ ให้สอดคล้องกับภาษาอังกฤษ

เจตนาเพื่อให้คนเข้าใจผิดคิดว่า เป็นชื่อ” ทางวิทยาศาสตร์ “ของปลาทั้งสองชนิด เพื่อพาดพิงกล่าวหาว่าเป็นความผิดของในหลวง รัชกาลที่ 9 ที่ท่านทรงนำปลานิลเข้ามาเพื่อให้เป็นแหล่งอาหารสำคัญสำหรับคนไทยเมื่อ 60 กว่าปีก่อน ในสมัยที่คนไทยที่อยู่ตามชนบท ยังยากจน

มาดูกันว่า ชื่อทางวิทยาศาสตร์ ของปลาทั้งสองชนิดคืออะไร

ปลาหมอคางดำ Sarotherodon melanotheron Ruppell, 1852

ปลานิลมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Oreochromis niloticus Linnaeus, 1758

แม้มีชื่อสามัญเป็นภาษาอังกฤษว่า Blackchin tilapia ซึ่งดูคล้ายกับปลานิล Nile Tilapia
แต่ความจริงแล้วทั้งสองไม่ใช่ปลาในกลุ่มเดียวกันด้วยซ้ำ ซึ่งชื่อวิทยาศาสตร์นี้เป็นการระบุสายพันธุ์อย่างชัดเจน ว่าไม่ได้เกี่ยวข้องกันเลย

ความเหมือนกันอย่างเดียวของปลาทั้งสองชนิดนี้คือ เป็นปลา เท่านั้นเอง

จากปลานิล 50 ตัว ที่สมเด็จพระจักรพรรดิอะกิฮิโตะ ได้ทรงจัดส่งเข้ามาทูลเกล้าฯ ถวายแด่ในหลวงรัชกาลที่ 9 เมื่อวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2508

พระองค์ได้ทรงทดลองเพาะเลี้ยงในบ่อเลี้ยงสวนจิตรลดา กระทั่งประสบผลสำเร็จ และได้พระราชทานพันธุ์ปลานิลกว่า 1 หมื่นตัว แก่กรมประมง เพื่อนำไปให้สถานีประมงจังหวัดต่าง ๆ ทำการเพาะเลี้ยงขยายพันธุ์แจกจ่ายให้แก่ประชาชนต่อไป

อีกทั้งยังมีการปรับปรุงสายพันธุ์ปลานิล ให้มีคุณภาพดีขึ้น ตามแนวพระราชดำริด้วยวิธีธรรมชาติ จนกระทั่งปัจจุบัน ปลานิลกลายเป็นสัตว์น้ำเศรษฐกิจที่สำคัญของคนไทย ให้ผลผลิตเฉลี่ย 2.01 แสนตัน สร้างรายได้ให้แก่ผู้เพาะเลี้ยงกว่า 1 หมื่นล้านบาทต่อปี

แม้ว่าปลานิลจะไม่ใช่สัตว์น้ำประจำถิ่น แต่ก็ยังห่างไกลจากลักษณะของสัตว์ต่างถิ่นที่มีพฤติกรรมรุกรานสัตว์พื้นถิ่น (Alien Species) เพราะว่าแม้ปลานิลจะขยายพันธุ์ได้ดี แต่ปลานิลเป็นสัตว์เศรษฐกิจ ถึงจะมีปริมาณมากเพียงไร ก็ไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาดสัตว์น้ำอยู่ดี

ดังนั้นปลานิลจึงไม่ได้เข้าไปแย่งแหล่งอาหารปลาประจำถิ่นอย่างมีนัยสำคัญ เนื่องจากแหล่งน้ำแห่งใดที่มีปลานิลมาก ปลานิลในแหล่งน้ำนั้นก็จะถูกล่ามากเช่นกัน ต่างจากปลาดุกบิ๊กอุย ปลาช่อนอเมซอน ปลาซักเกอร์ กุ้งเครย์ฟิช หรือปลาหมอคางดำ เป็นต้น ซึ่งมีพฤติกรรมเข้าไปรุกรานสัตว์น้ำประจำถิ่น ถึงขนาดส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงของระบบนิเวศได้

อย่างไรก็ตาม กรมประมงก็ไม่แนะนำให้มีการแพร่พันธุ์ปลานิลเข้าสู่แหล่งน้ำธรรมชาติเพิ่มเติม
แม้ว่าปลานิลจะปรับตัวเข้ากับระบบนิเวศมานานแล้วก็ตาม เนื่องจากสัตว์น้ำประจำถิ่นอันเป็นพันธุ์ปลาดั้งเดิมมีปริมาณที่น้อยลงกว่าในอดีตมาก

ดังนั้นกรมประมงจึงส่งเสริมให้มีการปล่อยพันธุ์ปลาท้องถิ่นลงแหล่งน้ำธรรมชาติมากกว่า ปัจจุบันปลานิลเพาะเลี้ยงยังได้รับการปรับปรุงสายพันธุ์ให้ดีขึ้นอีกด้วย เช่น ปลาทับทิบ ที่เป็นการปรับปรุงสายพันธุ์ปลานิลของบริษัทเอกชน ตามแนวพระราชดำริจากวิธีธรรมชาติ ไม่ใช่การตัดแต่งพันธุกรรม

ด้วยการนำปลานิลแดงมาพัฒนาต่อ จนเกิดเป็นสายพันธุ์ที่มีคุณภาพ มีความต้านทานโรคสูง และมีรสชาติที่ดีขึ้น

ในส่วนของมูลค่าทางเศรษฐกิจ ช่วง 10 ปีที่ผ่านมา การประมงและการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำของประเทศไทย มีผลผลิตเฉลี่ย 2.6 ล้านตันต่อปี สร้างมูลค่ากว่า 1.6 แสนล้านบาท โดยแบ่งเป็นผลผลิตที่ได้จากการทำประมงเฉลี่ย 1.62 ล้านตันต่อปี มูลค่า 6.6 หมื่นล้านบาท และผลผลิตที่ได้จากการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำเฉลี่ย 9.86 แสนตันต่อปี มูลค่า 9.32 หมื่นล้านบาท

โดยที่ ปลานิล มีผลผลิตเฉลี่ย 2.01 แสนตัน สร้างรายได้ให้แก่ผู้เพาะเลี้ยงกว่า 1 หมื่นล้านบาทต่อปี มีผลผลิตคิดเป็นสัดส่วน 1/5 ของผลผลิตสัตว์น้ำที่ได้จากการเพาะเลี้ยง และคิดเป็นสัดส่วน 1/10 ของปริมาณเฉลี่ยผลผลิตสัตว์น้ำทั้งหมดของประเทศไทย

จะเห็นได้ว่า การเพาะเลี้ยงปลานิล เริ่มต้นมาจากโครงการพระราชดำริแรกเริ่มของในหลวงรัชกาลที่ 9 ที่ทรงมีความห่วงใยในโภชนาการของคนไทย และต้องการให้ประชาชนเข้าถึงแหล่งอาหารโปรตีนได้ในราคาย่อมเยาว์ จนเกิดเป็นการเพาะเลี้ยง ขยายพันธุ์ ตลอดจนพระราชทานพันธุ์ปลานิลให้แก่ประชาชน รวมถึงมีการพัฒนาสายพันธุ์ให้ดียิ่งขึ้น จนกระทั่ง “ปลานิล” กลายมาเป็นสัตว์น้ำเศรษฐกิจที่สำคัญ ก่อเกิดอาชีพและสร้างรายได้ให้แก่ประชาชนมาจนถึงปัจจุบัน

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'เฉลิมชัย' เข้มสั่ง ทส. จัดการ 'ปลาหมอคางดำ' ต่อเนื่อง

“เฉลิมชัย” สั่งกำชับ ทส.แก้ปัญหา “ปลาหมอคางดำ”เข้มข้น ย้ำทำมาต่อเนื่อง ให้ประสานประมง-ท้องถิ่น เร่งแผนควบคุม-กำจัด พร้อมติดตามประเมินผลใกล้ชิด

ประมงนครฯ และสุราษฎร์ฯ ยันปลาหมอคางดำเบาบางลง หลังมาตรการได้ผล เดินหน้าต่อ จับมือ CPF ปล่อยปลาผู้ล่าลดปริมาณปลาในระยาว

ประมงจังหวัดนครศรีธรรมราช และประมงจังหวัดสุราษฎร์ธานี โชว์มาตรการปราบปลาหมอคางดำได้ผลดีทั้งสองจังหวัด หลังสำรวจพบปลาหมอคางดำเบาบางลง พร้อมเดินหน้ามาตรการต่อเนื่องทันที ด้านบริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ หนุนอีก 3

เอาแล้ว! เลขาฯไบโอไทย เจอหมายเรียกปมปลาหมอคางดำ

เฟซบุ๊กเพจ BIOTHAI ของมูลนิธิชีววิถีโพสต์ข้อความ ระบุว่าหมายเรียกจากสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ที่บริษัทเอกชนแห่งหนึ่งแจ้งความดำเนินคดี นายวิฑูรย์ เลี่ยนจำรูญ