ในหลวง รัชกาลที่ 9 ทรงริเริ่มโครงการเลี้ยงปลาบริเวณโครงการส่วนพระองค์ สวนจิตรลดา
18 ก.ค.2567 นายนิธิพัฒน์ พันธุ์ธุมจินดา นักธุรกิจฟาร์มปลาสวยงาม โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัว Nitipat Bhandhumachinda ว่า ในช่วงสามสี่วันมานี้ มีคนบางคนพยายามใช้กรณีปลาหมอคางดำ เพื่อนำมาแซะโครงการปลานิลจิตรลดาในพระราชดำริ ซึ่งก็ทำให้ผมต้องไปนั่งอ่านงานวิจัยที่มาที่ไปของโครงการดังกล่าว เพื่อจะใช้ในการโต้แย้งไม่ให้สังคมถูกชักจูงให้เชื่อในข้อมูลผิดๆ
ก็เลยทำให้พบว่า โครงการดังกล่าวของในหลวงรัชกาลที่เก้านั้น มีการวิจัย การวิเคราะห์ การพิถีพิถันในการเลือกสายพันธุ์ การจดบันทึก และการติดตามผล โดยมีข้อสงสัยอะไรตรงไหน ก็จะนำตัวอย่างส่งเพื่อการพิสูจน์ในสถาบันวิจัยต่างๆทั้งในและต่างประเทศ เพื่อให้มั่นใจว่าดำเนินการมาอย่างถูกต้องตามหลักวิทยาศาสตร์ที่สุด
ซึ่งตลอดการดำเนินงานของโครงการฯนั้นก็เน้นการผลิตปลานิลที่โตเร็วมีขนาดใหญ่เนื้อเยอะ ให้คุณประโยชน์ทางโภชนาการสูง เป็นแหล่งโปรตีนราคาถูกสำหรับประชาชนทั่วไป อีกทั้งเป็นแหล่งรายได้ให้กับเกษตรกร
และที่สำคัญคือเป็นสายพันธุ์ที่เพาะขึ้นโดยยึดหลักที่ว่า แม้จะเป็น"สัตว์ต่างถิ่น" แต่ก็สามารถอยู่ร่วมในระบบนิเวศของไทยได้อย่างค่อนข้างเหมาะสม ไม่ก้าวร้าวหรือรุกราน ทำร้ายธรรมชาติและสัตว์ต่างๆในพื้นที่อาศัยเดียวกันจนเข้าข่ายสายพันธุ์"สัตร์รุกราน"
การมีคนมาสร้างความเข้าใจที่ผิด ก็ทำให้ผมได้ศึกษาและยิ่งสร้างความประทับใจในพระปรีชาสามารถ ความมุมานะ อีกทั้งวิสัยทัศน์ของพระองค์ท่านอย่างที่สุด
จนอยากนำมาเล่าแบ่งปันให้เพื่อนๆฟังเช่นนี้ครับ
"น้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ"
ก่อนหน้านี้ นายนิธิพัฒน์ ได้โพสต์เฟซบุ๊กว่ามีผู้บิดเบือนข้อมูลในทำนองว่า ปลาหมอคางดำเป็นปลาที่นำเข้ามาเพื่อพัฒนาปลานิลจิตรลดา โดยมีการระบุด้วยว่าเป็นปลานิลจิตรลดารุ่นที่สาม เนื่องจากในรายงานนั้น ปลานิลจิตรลดารุ่นที่สาม มีการพัฒนาจากสายพันธุ์หลายชนิดรวมทั้งปลานิลจากประเทศกานา
ก็เลยอยากจะเรียนให้ทราบว่า ปลานิลสายพันธุ์จิตรลดารุ่นที่สามนั้น เป็นผลผลิตของการนำปลาที่ได้รับการพัฒนาสายพันธุ์ปลานิลเพื่อการบริโภค ซึ่งเป็นผลงานการวิจัยที่ทำการทดลองกันที่ หน่วยงานวิจัย ICLARM ในประเทศฟิลิปปินส์ โดยการผสมชนิดปลานิลหลายๆสายพันธุ์(รวมทั้งสายพันธุ์จิตรลดารุ่นก่อนๆ)จนได้ลูกที่เรียกกันว่า GIFT (Genetic Improvement of Farmed Tilapia) รุ่นที่ ๕
และได้นำลูกปลาสายพันธุ์ผสมในรูปแบบสายพันธุ์ที่พัฒนามาแล้วรุ่นนี้จากหน่วยงานการวิจัยดังกล่าว เข้ามาในประเทศไทยเมื่อปี พศ. ๒๕๓๘ และก็มีการวิจัยพัฒนาต่อเนื่องจนสามารถนำออกมาจำหน่ายจ่ายแจกให้กับเกษตรกรในชื่อรุ่น "นิลจิตรลดารุ่นที่ ๓" ซึ่งแตกต่างอย่างมากจากการนำปลาชนิดใดชนิดหนึ่งซึ่งเป็นชนิดแท้ (ในกรณีนี้คือปลาหมอคางดำ) เข้ามาในประเทศแล้วหลุดรอดออกไปจนเกิดปัญหาการรุกรานดังที่เป็นข่าวอยู่ในขณะนี้นะครับ
จึงขอเรียนนำเสนอข้อเท็จจริงให้ทราบ เผื่อใครจะคิดว่าต้นเหตุปัญหาเกิดจากโครงการปลานิลจิตรลดาครับ
มีรายงานว่า หนึ่งในผู้ที่โพสต์ข้อมูลบิดเบือนเรื่องปลาหมอคางดำเพื่อหวังแซะสถาบันก็คือ นายนิธิวัต วรรณศิริ ผู้ต้องหาคดีมาตรา 112 ซึ่งหลบหนี้อยู่ในประเทศฝรั่งเศส เจ้าของเฟซบุ๊ก "จอมไฟเย็น ปฏิกษัตริย์นิยม" ได้โพสต์ข้อความว่า "ปลานิลคางดำ ถูกนำเข้ามาพัฒนาสายพันธุ์ปลานิลจิตรลดา จนได้สายพันธุ์นิลจิตรลดา 3"
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
รัฐบาลงัดเทคโนโลยีทำหมันปลา จัดการ 'หมอคางดำ'
เปิดมาตรการเชิงรุกขจัดปัญหา “ปลาหมอคางดำ” ระยะเร่งด่วน ตั้งเป้า 3 ล้าน กก. หนุนแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ ดึงงานวิจัยและนวัตกรรม “ชุดโครโมโซม 4N” ทำหมันปลา
'เฉลิมชัย' เข้มสั่ง ทส. จัดการ 'ปลาหมอคางดำ' ต่อเนื่อง
“เฉลิมชัย” สั่งกำชับ ทส.แก้ปัญหา “ปลาหมอคางดำ”เข้มข้น ย้ำทำมาต่อเนื่อง ให้ประสานประมง-ท้องถิ่น เร่งแผนควบคุม-กำจัด พร้อมติดตามประเมินผลใกล้ชิด
ประมงนครฯ และสุราษฎร์ฯ ยันปลาหมอคางดำเบาบางลง หลังมาตรการได้ผล เดินหน้าต่อ จับมือ CPF ปล่อยปลาผู้ล่าลดปริมาณปลาในระยาว
ประมงจังหวัดนครศรีธรรมราช และประมงจังหวัดสุราษฎร์ธานี โชว์มาตรการปราบปลาหมอคางดำได้ผลดีทั้งสองจังหวัด หลังสำรวจพบปลาหมอคางดำเบาบางลง พร้อมเดินหน้ามาตรการต่อเนื่องทันที ด้านบริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ หนุนอีก 3