'ไอลอว์' ร้อง กมธ.ความมั่นคงฯ ตรวจสอบ 'เพกาซัสสปายแวร์' ละเมิดสิทธิประชาชน

'ไอลอว์' ร้อง กมธ.ความมั่นคงฯ ตรวจสอบ 'เพกาซัสสปายแวร์' ละเมิดสิทธิประชาชน หลังเคยยื่นในสภาชุดที่แล้ว แต่เรื่องเงียบ ด้าน 'โรม' จ่อบรรจุวาระเข้าที่ประชุม กมธ.-เชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องชี้แจง

17 ก.ค.2567- ที่รัฐสภา โครงการอินเตอร์เน็ต เพื่อกฎหมายประชาชน หรือ ไอลอว์ นำโดย นายยิ่งชีพ อัชฌานนท์ และเหยื่อที่เคยถูกหน่วยงานของรัฐไทยใช้เพกาซัสสปายแวร์ (Pegasus Spyware) เจาะระบบเพื่อเข้าถึงข้อมูลในโทรศัพท์มือถือ เข้ายื่นหนังสือต่อ นายรังสิมันต์ โรม สส.บัญชีรายชื่อ ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการ (กมธ.) ความมั่นคงแห่งรัฐ กิจการชายแดนไทย ยุทธศาสตร์ชาติและการปฏิรูปประเทศ ให้ช่วยตรวจสอบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีละเมิดสิทธิประชาชน

โดยนายยิ่งชีพ กล่าวว่า ในปี 2565 ไอลอว์พบว่า มีประชาชนไทย ทั้งนักศึกษา นักกิจกรรม เอ็นจีโอ นักวิชาการ และนักการเมืองรวม 35 คน ถูกเจาะระบบโทรศัพท์มือถือเพื่อขโมยข้อมูลโดยเทคโนโลยีที่เรียกว่า เพกาซัสสปายแวร์ (Pegasus Spyware) ซึ่งเป็นอาวุธไซเบอร์ที่ผลิตโดยบริษัท เอ็นเอสโอ จากประเทศอิสราเอล และมีขึ้นเพื่อขายให้กับรัฐบาลเท่านั้น ซึ่งยังมีรายงานจาก CitizenLab ถึงการตรวจสอบความเชื่อมโยงบนโลกอินเทอร์เน็ตว่า มีหน่วยงานของไทยชื่อว่า ISOC หรือกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) ที่มีกิจกรรมบนโลกอินเทอร์เน็ตเชื่อมโยงกับบริษัท เอ็นเอสโอ

ทั้งนี้ เพกาซัสสปายแวร์ เป็นอาวุธไซเบอร์ที่ร้ายแรงออกแบบมาเพื่อต่อต้านการก่อการร้ายและการค้ามนุษย์ มีความสามารถในการเจาะและล้วงข้อมูลในโทรศัพท์มือถือโดยเจ้าของเครื่องไม่รู้ตัว เมื่อถูกเพกาซัสแฝงตัวเข้ามาในเครื่องแล้ว ข้อมูลทั้งหมดในโทรศัพท์จะถูกเข้าถึงได้โดยผู้ควบคุมสปายแวร์ และโทรศัพท์จะถูกควบคุมกลายเป็นเครื่องดักฟังหรือเครื่องติดตามตัวได้ ซึ่งการใช้งานต่อประชาชนที่เห็นต่างทางการเมืองเป็นการละเมิดสิทธิความเป็นส่วนตัวขั้นร้ายแรง รัฐบาลหลายประเทศบนโลกถูกประชาชนฟ้องร้องฐานใช้งานสปายแวร์นี้เพื่อขโมยข้อมูล ละเมิดความเป็นส่วนตัว

สำหรับในประเทศไทย มีคดีที่ยื่นฟ้องหน่วยงานของรัฐไทยรวมทั้ง กอ.รมน. ต่อศาลปกครองแล้ว และยังอยู่ระหว่างรอคำสั่ง รับฟ้องจากศาล ส่วนคดีที่นักกิจกรรมไทยยื่นฟ้องบริษัท เอ็นเอสโอ จากอิสราเอลเป็นคดีแพ่ง ศาลแพ่งนัดสืบพยานวันที่ 3-6 และ 10 ก.ย. 2567

นายยิ่งชีพ กล่าวว่า ในปี 2565 ไอลอว์เคยยื่นหนังสือให้ กมธ.ของสภาผู้แทนราษฎรตรวจสอบข้อมูล และเคยตรวจพบเอกสารการซื้อขายเทคโนโลยีคล้ายเพกาซัสสปายแวร์ของกองบัญชาการปราบปรามยาเสพติดมาแล้ว แต่หลังจากมีการเลือกตั้งและมีรัฐบาลใหม่การตรวจสอบโดยสภาผู้แทนราษฎรหยุดชะงักลง ขณะที่การใช้เทคโนโลยีสอดแนมประชาชนยังไม่หมดไป ประชาชนผู้ตกเป็นเหยื่อของสปายแวร์นี้จึงยื่นเรื่องเพื่อขอให้ กมธ.ความมั่นคงฯ ทำงานเพื่อสืบสวนหาความจริงต่อว่าหน่วยงานด้านความมั่นคงของรัฐไทยยังคงใช้งานสปายแวร์นี้อยู่หรือไม่ใช้กับผู้ใด ใช้เพื่อสืบสวนหาข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องใด และเป็นการกระทำที่มีกฎหมายใดรองรับหรือไม่

นายรังสิมันต์ กล่าวว่า เรื่องนี้เป็นเรื่องหนึ่งที่ต้องให้สำคัญ ซึ่งเคยมีการอภิปรายอย่างกว้างขวางในสภาฯชุดที่แล้ว เบื้องต้นจะนำเรื่องมาบรรจุเข้าสู่วาระการประชุมในกมธ. รวมทั้งเชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาให้ข้อมูล แต่หากเรื่องนี้ไม่สามารถคลี่คลายได้โดยเร็วคงต้องคณะกรรมการขึ้นมาเพื่อศึกษาเรื่องดังกล่าว เครื่องมือทางการทหารเช่นนี้ไม่ควรที่จะถูกใช้กับ นักการเมือง นักกิจกรรมที่ต่อสู้ด้านประชาธิปไตย

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ทั่นโรมเตือนสติตำรวจอย่างรีบปิดคดี 6 ศพชาวเวียดนาม

'โรม' หวัง ผลสอบ 'พบศพชาวต่างชาติ' โปร่งใส เตือน 'ตำรวจ' พึงสังวรณ์หากรีบปิดคดีให้เรื่องเงียบ จะสูญเสียศรัทธาในกระบวนการยุติธรรม-ทำลายภาพลักษณ์ของประเทศอย่างป่นปี้

'รังสิมันต์' รับสภาพคงสู้คดียุบพรรคยากขึ้นหลังศาลรัฐธรรมนูญขีดเส้นตาย

'โรม' รับคงสู้คดียากขึ้น หลังศาล รธน.นัดชี้ขาดยุบก้าวไกล 7 ส.ค.นี้ ย้ำความสำคัญอยู่ที่กระบวนการ ยกพยานปากสำคัญควรได้ขึ้นไต่สวน ยันพรรคไม่ได้ล้มล้างการปกครอง

อย่าหนีสภา! ‘โรม’ ดักคอนายกฯ จะตั้งกระทู้ถาม แบก์ไทยถูกใช้หนุนสงครามในเมียนมา

'โรม' เตรียมตั้งกระทู้ถาม 'นายกฯ' ปมแบงก์ไทยถูกใช้หนุนสงครามในเมียนมา ขอให้มาตอบด้วยตัวเอง แสดงบทบาทนำแก้ปัญหา สร้างความยอมรับในระดับนานาชาติ

'ลุงสุทิน' ฟาด 'ก้าวไกล' ดูงานที่โปแลนด์ อยากให้ไทยรับผู้อพยพพม่า ทั้งที่บริบทสงครามต่างกันมาก

กรณีนายรังสิมันต์ โรม สส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล ประธานคณะกรรมาธิการความมั่นคงแห่งรัฐ กิจการชายแดนไทย ยุทธศาสตร์ชาติและการปฏิรูปประเทศ สภาผู้แทนราษฎร นำคณะกมธ.เดินทางไปดูงานแนวทางการรับมือผู้ลี้ภัยที่ประเทศโปแลนด์