นักเศรษฐศาสตร์ เตือนเตรียมรับมือ 'วิกฤตฐานราก' ที่จะหนักกว่าวิกฤตต้มยำกุ้งปี 2540

12 ก.ค.2567 - ดร.สุวินัย ภรณวลัย อดีตอาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก มีเนื้อหาดังนี้

เตรียมรับมือ "วิกฤติฐานราก" หรือวิกฤตคนจนและชนชั้นกลางระดับล่าง ที่จะหนักกว่าวิกฤติต้มยำกุ้งปี 2540

วิกฤติต้มยำกุ้งปี 2540 เป็นวิกฤติที่เกิดขึ้นเฉียบพลัน เป็นปัญหาที่ไทยกู้หนี้ต่างประเทศมากเกินไป โดยเฉพาะคนรวย ดังนั้นวิกฤติต้มยำกุ้งปี 2540 จึงเป็นวิกฤติของคนรวย ที่กระทบชาวบ้านด้วย แต่คนรวยลำบากรุนแรงที่สุด ...ในตอนนั้น NPL ขึ้นไปเป็น 42% ส่วนใหญ่มาจากบริษัทขนาดใหญ่ จากปัญหางบดุลและสินทรัพย์ที่มีปัญหาจากเศรษฐกิจตกต่ำทำให้ไม่สามารถชำระหนี้ได้ วิกฤติปี 2540 จึงเป็นปัญหาของบริษัทขนาดใหญ่(สถาบันการเงิน) แบงค์ต้องเพิ่มทุน

แต่วิกฤติปัจจุบัน หรือวิกฤติปี 2567 คือวิกฤติของคนจนและชนชั้นกลางระดับล่าง (กลุ่ม ALICE) จำนวน 17 ล้านคน ซึ่งสวนทางกับวิกฤติต้มยำกุ้งปี 2540 ที่เป็นปัญหาหนี้ของคนรวยหรือหนี้ต่างประเทศ ... แต่วิกฤติรอบนี้เป็นปัญหา "หนี้ของชาวบ้านหรือครัวเรือน" ซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศ
มิหนำซ้ำวิกฤติรอบนี้เป็นวิกฤติแบบ "ต้มกบ" ที่ค่อยๆ ป่วยไปเรื่อยๆ ช้าๆ แบบเรื้อรัง ต่างกับวิกฤติปี 2540 ที่เป็นการป่วยแบบเฉียบพลัน

ปัจจุบัน ครัวเรือนส่วนใหญ่กำลังมีรายได้เสื่อมถอยลง ภายใต้บริบทสถานการณ์เศรษฐกิจถดถอย (Balance Sheet Recession) การหวังพึ่งการฟื้นตัวภายในคงทำได้ยาก ครั้นจะหวังให้เศรษฐกิจโลกฟื้นตัวแบบสมัยวิกฤติต้มยำกุ้งปี 2540 สถานการณ์โลกตอนนี้ก็ไม่เป็นใจเพราะมีประเด็นภูมิรัฐศาสตร์กับสงครามใหญ่เข้ามาเกี่ยวข้อง

จึงทำให้การแก้หนี้ของครัวเรือนให้ลดลง โดยช่องทางการเพิ่มรายได้ของครัวเรือนทำได้ยากขึ้น ครั้นครัวเรือนหันมาใช้ช่องทางลดรายจ่ายของครัวเรือน ก็จะไปเร่งวงจรอุบาทว์ของภาวะซบเซาทางเศรษฐกิจให้ยืดเยื้อยิ่งขึ้น ...จึงเป็นปัญหาที่จัดการได้ยากมาก เมื่อเทียบกับวิกฤติปี 2540 ที่เป็นปัญหาบริษัทใหญ่ๆ ไม่กี่สิบราย การจัดการปัญหาจึงง่ายกว่าปัญหาหนี้ครัวเรือน ซึ่งเป็นปัญหาของคนกว่า 30 ล้านคน

ขณะที่ "หนี้ภาครัฐ" เองตอนนี้ก็อยู่ในระดับสูงกว่าสมัยวิกฤติปี 2540 เมื่อผนวกกับปัญหาหนี้ครัวเรือนที่สูงกว่า 90% ของ GDP ทำให้สถานการณ์ "ปัญหาหนี้" น่าเป็นห่วงมาก เนื่องจากคนไทย "เป็นหนี้เร็ว และเป็นหนี้เสียค่อนข้างมาก แถมมีเงินออมต่ำ" แสดงว่าภูมิคุ้มกันทางการเงินของครัวเรือนไทยอยู่ในระดับที่น่าเป็นห่วง

สิ่งที่จะเกิดขึ้นตามมาพร้อมกับวิกฤติปี 2567 คือ

"ไม่มีงานทำ - เงินเดือนไม่ขึ้น - ใช้เงินออมไปหมดแล้ว - มีการกู้หนี้นอกระบบ - ดอกเบี้ยสูง - แบกภาระดอกเบี้ยไม่ไหว - ยอดการปฏิเสธสินเชื่อสูงขึ้นมาก - ราคาที่ดินสูงขึ้น - ค่าครองชีพสูงขึ้น"

ด้วยความปรารถนาดี
~ สุวินัย ภรณวลัย
Suvinai Pornavalai

 

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'นักเศรษฐศาสตร์' เปิดสูตรคณิตศาสตร์แชร์ลูกโซ่ ทะลุหมื่นล้าน 'หัวหน้าบอส' ฮุบไป2พันล้าน

ดร.สุวินัย ภรณวลัย อดีตอาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก ว่า

'ต่อตระกูล' วิเคราะห์แนวโน้มเศรษฐกิจไทย เทียบประเทศอื่นในเอเชีย ในอีก 10 ปีข้างหน้า

นายต่อตระกูล ยมนาค อดีตนายกสมาคมวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ โพสต์เฟซบุ๊กเผยแพร่บทความเรื่อง "เศรษฐกิจไทย วันนี้ตกต่ำจริง แล้วยังมีอนาคตอยู่ไหม?

'ทักษิณ' ยืนอยู่บนทางสองแพร่งในช่วงบั้นปลายของชีวิต จะสู้หรือจะหนีดี

ดร.สุวินัย ภรณวลัย อดีตอาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก เรื่อง กูจะสู้หรือกูจะหนีดีวะ? มีเนื้อหาดังนี้

การสังเวยชีวิตตนเองให้กับความลุ่มหลงที่เจ้าตัวมองว่าสูงส่ง คือบทเรียนราคาแพง

ดร.สุวินัย ภรณวลัย อดีตอาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก เรื่อง การสังเวยชีวิตให้กับความลุ่มหลงของตัวเอง มีเนื้อหาดังนี้

’พิธา’ ไม่เห็นด้วย  ‘ทักษิณ’ ระบุไทยวิกฤตหนักกว่าต้มยำกุ้ง

’พิธา’ ไม่เห็นด้วย ‘ทักษิณ’ บอก ขณะนี้วิกฤตหนักกว่าต้มยำกุ้ง หวั่นรัฐบาลจ่ายยาผิด เตือนอย่ามองแค่ GDP จนละเลยความเหลื่อมล้ำ

'นักวิชาการ' ยกรายงานสศช.ชี้คนหลายสิบล้านที่เสพสื่ออินฟลู 2 ล้านคนคือเหยื่อที่ถูกล่า

ดร.สุวินัย ภรณวลัย ประธานยุทธศาสตร์วิชาการ สถาบันทิศทางไทย อดีตอาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก เรื่อง ผลกระทบของ "อินฟลูเอนเซอร์" 2 ล้านคนที่มีต่อสังคมไทย มีเนื้อหาดังนี้