อดีตหัวหน้า ศรภ. เตือน 'อย่าดึงฟ้าต่ำ'

11 ก.ค.2567 - พลโท นันทเดช เมฆสวัสดิ์ อดีตหัวหน้าศูนย์ปฏิบัติการพิเศษ ศูนย์รักษาความปลอดภัยแห่งชาติ (ศรภ.) โพสต์เฟซบุ๊ก ว่าอย่าดึงฟ้าต่ำ

การถวายคืนพระราชอำนาจ ตามที่มีผู้พยายามปั่นข่าวนั้น ถือว่า เป็นความคิดของคนหลงยุค เพราะถึงจะถวาย แต่ในหลวงท่านก็ไม่ทรงรับแน่นอน เนื่องจากขอบเขตในรัฐธรรมนูญนั้น ท่านมีพระราชอำนาจที่เหมาะสมของพระองค์ท่านอยู่แล้ว

ส่วนความขัดแย้งทางอุดมการณ์การเมืองในประเทศไทยนั้น ย่อมมีขึ้นตามปกติของระบอบประชาธิปไตย ใครผิด ใครถูก ในยุคนี้ ประชาชนจะเป็นฝ่ายตัดสินกันเอง ว่าจะทำอย่างไร อย่านำพระองค์เข้าไปเกี่ยวข้องด้วย เพราะทุกคู่ขัดแย้งก็ล้วนเป็น “ประชาชนของพระองค์เหมือนกัน"

ฝ่ายไหนจะดีหรือไม่ดี ควรปล่อยให้ประชาชนจะตัดสินใจเอง

ดีกว่าไหม? เพราะทุกวันนี้ประชาชนไม่ได้โง่ นะครับ

นอกจากนั้น เมื่อดูจากสถานการณ์ทางการเมืองในปัจจุบันแล้ว จะเห็นได้ว่า “ไม่ได้เลวร้ายถึงขนาดที่ต้องให้ประชาชนลงไปจัดการเอง” แม้จะมีเงาของการทุจริตเกิดขึ้นบ้าง แต่ก็ยังไม่ชัดเจน ผมเชื่อว่า กติกาของกฏหมายยังพอที่จะปกป้องคุ้มครองและสามารถเอาผิดต่อผู้คิดร้ายต่อประเทศชาติได้อยู่ แม้จะช้าหน่อยแต่ไปไม่รอดแน่ครับ ยิ่งดิ้นรน ยิ่งมัดตัวเอง

ไม่ว่าอย่างไร อย่า "ดึงฟ้าต่ำ” เพียงเพราะหงุดหงิดต่อปัญหาที่คนบ้างคนก่อ แล้วพวกเราแก้กันไม่ได้ หรือแก้ได้แต่ไม่ทันใจ หรือหนักกว่านั้น คือการคาดหวังอะไรบางอย่าง เพื่อผลประโยชน์ของตัวเอง

“ทำใจร่มๆดีกว่าครับ”

 

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'ดร.ณัฏฐ์' นักกฎหมายมหาชน ฟันธงตัวแปรรัฐบาลชิงยุบสภา ยังไม่เกิด

ดร.ณัฐวุฒิ วงศ์เนียม หรือ “ดร.ณัฏฐ์” นักกฎหมายมหาชน กล่าวถึงกระแสข่าวฐบาลมีโอกาสชิงยุบสภา จะเกิดขึ้นก่อนที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย

ประเทศ 'โง่ซ้ำซาก'?

วันนี้ คุยเรื่อง "เกาะกูด" ซักหน่อย จะคุยให้อร่อย ก็ต้องเริ่มจากวันที่.... "นักโทษเด็ดขาดชายทักษิณ" ได้รับพักโทษ ออกจากโรงพยาบาล มาครองสำนัก "จันทร์ส่องหล้า" ปุ๊บ

ยุบสภา ใครว่า "ไม่ดี"?

"ลมหนาว" มาปุ๊บ... ข่าวลือ "ยุบสภา" ตามมาปั๊บ! "จริง-ไม่จริง" ไม่ใช่ประเด็น แต่ประเด็นมันอยู่ตรง "ความจริง" ที่ว่า

ที่ปรึกษาของนายกฯ โผล่ทำเนียบฯ สแกนแล้ว​ไม่มีม็อบการเมือง มีแต่ม็อบปากท้อง

นายณัฐวุฒิ​ ใสยเกื้อ​ ที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ว่า ความจริงได้มีโอกาสเข้ามาที่ทำเนียบฯหลายครั้งเพื่อมาพูดคุยกับทีมงาน แต่ยัง

ความเป็นมาของรัฐธรรมนูญฉบับที่ 4 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 (ตอนที่ 33): ‘กรมขุนชัยนาทนเรนทร’ ทรงตกเป็นเหยื่อการเมืองของหลวงพิบูลสงคราม”

รัฐธรรมนูญฉบับที่ 4 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 ประกาศใช้เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490