'ดร.ไชยณรงค์' อยากให้คิดเรื่องการอนุรักษ์!

11 ก.ค.2567 - ผศ.ดร.ไชยณรงค์ เศรษฐเชื้อ อาจารย์คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม โพสต์เฟซบูกในหัวข้อ “อยากให้คิด” ระบุว่า เอาเข้าจริง เมือง-ชานเมืองล้วนเคยเป็นพื้นที่ที่มีความหลากหลายทางชีวภาพมาก่อนทั้งนั้น ชานกรุงแต่ก่อนช้างเขาใหญ่ก็เคยลงมาหากิน สนามบินสุวรรณภูมิแต่ก่อนก็คือพื้นที่ชุ่มน้ำ ทุ่งรังสิตแต่ก่อนก็มีสมัน ริมฝั่งเจ้าพระยาก็มีป่าที่เป็นสังคมพืชริมน้ำ

เมืองใหญ่อื่นๆ แม้แต่บ้านและที่ดินของเราจำนวนมาก หากสืบสาวกลับไปก็เป็นเช่นนั้น

แต่ทำไมพอพูดถึงการอนุรักษ์ กลับผลักภาระให้กับชาวนาชาวไร่ คนยากคนจน คนชายขอบ กลุ่มชาติพันธุ์ จนพวกเขาตกอยู่ในวงจรอุบาทว์ ทั้งถูกแย่งยึดที่ดินโดยประกาศพื้นที่อนุรักษ์ทับ ทั้งถูกจับกุมดำเนินคดีแม้ว่าจะเก็บเห็ดมากิน ทั้งบังคับให้อพยพ จะคืนสิทธิในที่ดินให้ก็ไม่ได้ กลัวจะขายให้นายทุน จะใช้ประโยชน์จากป่าตามวิถีชีวิตดั้งเดิมก็ไม่ได้ กลัวผลกระทบต่อความหลากหลายทางชึวภาพ แม้ว่าชีวิตจริง ชนชั้นนำและชนชั้นกลางแต่ละคนก็เสวยสุขจากการใช้ทรัพยากรและความหลากหลายทางชีวภาพ หรือทำลายสิ่งแวดล้อม ไม่ทางตรงก็ทางอ้อม บางคนสุขสบายจนถึงขั้นเกินกว่าความจำเป็นมากก็มี

คำตอบประการหนึ่งก็คือ เรารับแนวคิดนิเวศวิทยากระแสหลักจากตะวันตกที่แยกมนุษย์ออกจากธรรมชาติมาปฏิบัติ ทำให้เกิดความคิดว่าธรรมชาติห้ามแตะต้อง คนจะอยู่กับพื้นที่อนุรักษ์ไม่ได้ ต้องเอาออก ไม่เอาออกก็ต้องแช่แข็งไว้อย่างนั้น

คำตอบอีกประการหนึ่งก็คือ การที่ชนชั้นนำและรวมถึงชนชั้นกลางเปลี่ยนทัศนะที่มองว่าป่าคือป่าเถื่อน ส่วนเมืองคือพื้นที่ทีมีอารยะ มาเป็นทัศนะที่ว่าป่าคืออารยะและป่าก็ถูกรวมเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของอารยธรรมเมือง ป่าจึงเป็นหัวใจของการอนุรักษ์ และเราก็จะรักป่ามาก ส่วนพื้นที่ชุ่มน้ำ ป่าริมน้ำ ท้องทุ่ง จะถม จะสร้างโรงงาน จะสร้างเมือง จะถูกทำลายก็ช่างหัวมัน

ขณะที่เราปฏิเสธไม่ได้ว่าสังคมไทยเป็นสังคมที่มีชนชั้น และชนชั้นนำรวมถึงชนขั้นกลางก็มีเสียงที่ดังกว่าและมีอำนาจมากกว่าคนจน ชาวนาชาวไร่ คนชายขอบ กลุ่มชาติพันธุ์

ความรู้ดังกล่าวเมื่อบวกกับเสียงและอำนาจที่ไม่เท่ากัน คนบางกลุ่มหรือบางชนชั้นจึงสามารถกำหนดความจริงขึ้นมาได้ เช่น เราคือนักอนุรักษ์ โลกสวย เราจะยอมให้ใครทำลายธรรมชาติไม่ได้ ขณะที่สมองอีกด้านก็มองว่าพวกคนยากคนจน ชาวนาชาวไร่ คนชายขอบ กลุ่มชาติพันธุ์ คือตัวปัญหาของการอนุรักษ์ คนพวกนี้คือพวกทำลายสิ่งแวดล้อม คือพวกเห็นแก่ตัว จะคืนสิทธิในที่ดินเดี๋ยวมันก็เอาไปขายนายทุน ฯลฯ และผลิตวาทกรรมเหล่านี้ซ้ำแล้วซ้ำเล่าจนทำให้สังคมเชื่อว่าคนยากคนจน ชาวนาชาวไร่ คนชายขอบ กลุ่มชาติพันธุ์ ไม่ใช่พวกเดียวกับเราและเป็นปัญหาของการอนุรักษ์

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ชำแหละ 'เพื่อไทย' ครบรอบ 1 ปี เลือกตั้ง 66 ทำประเทศเสียหายมากมาย

ครบรอบหนึ่งปี เลือกตั้ง 66 'จตุพร' ซัดเพื่อไทยทำ ปท.เสียหายมากมาย ตั้งแต่ตระบัดสัตย์ ปล่อย'ทักษิณ' จุ้นจ้านสงครามพม่า แต่นายกฯ กลับเงียบ ไม่มีใครทำอะไรได้ จึงลำพองอำนาจ ลั่น 29 พ.ค.วันชี้ชะตาบ้านเมืองครั้งสำคัญ

บี้รับผิดชอบ! นายกฯ-รมต. รู้เห็นเป็นใจ 'นักโทษ' จุ้นจ้านเมียนมา

นายเทพไท เสนพงศ์ อดีต สส.นครศรีธรรมราช พรรคประชาธิปัตย์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า รัฐบาลเมียนมาตำหนิทักษิณทำสิ่งไม่เหมาะสม ระวังกระทบความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ

'บ้านแม่ปอคี' จ.ตาก เตรียมจัดงานสถาปนาพื้นที่คุ้มครองชุมชนกะเหรี่ยง

นายประหยัด เสือชูชีพ กลุ่มเยาวชนบ้านแม่ปอคี อ.ท่าสองยาง จ.ตาก เปิดเผยว่าในวันที่ 26 เมษายน 2567 ชุมชนบ้านแม่ปอคีจะจัดงานสถาปนาพื้นที่คุ้มครองวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์บ้านแม่ปอคี (ขุนแม่เหว่ย) เพื่อรักษาวิถีชีวิตดั้งเดิมของชุมชนไว้ โดยก่อนหน้านี้ได้มีการเก็บข้อมูลศึกษาวิจัย

มติเอกฉันท์ สภาฯรับหลักการร่าง พรบ.คุ้มครองกลุ่มชาติพันธุ์ ทั้ง 5 ฉบับ

ที่รัฐสภา ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร มีนายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาฯคนที่หนึ่ง ทำหน้าที่เป็นประธานการประชุม พิจารณา ร่างพระราชบัญญัติ(พ.ร.บ.)คุ้มครองและส่งเสริมวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ พ.ศ.…คณะรัฐมนตรี(ครม.) เป็นผู้เสนอ และร่างพ.ร.บ.สภาชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย

'ผู้เฒ่าไทลื้อ' สุดปลื้มได้บัตรประชาชนไทย เผยดีใจยิ่งกว่าถูกรางวัลที่ 1

นายณรงค์พล คิดอ่าน นายอำเภอแม่สาย เป็นประธานในพิธีมอบบัตรประจำตัวประชาชน “ผู้เฒ่าไร้สัญชาติ” ซึ่งได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาติให้แปลงสัญชาติเป็นไทยของคนต่างด้าวที่เป็นชนกลุ่มน้อย ทำให้บุคคลดังกล่าวเป็นบุคคลสัญชาติไทย