เมื่อ One Map ไม่ตรงกับแนวเขตอุทยานฯ #Saveทับลาน จึงเกิด

10 ก.ค. 2567 - นายเสกสม แจ้งจิต ผอ.ส่วนปฏิบัติการพิเศษ สำนักประชาสัมพันธ์เขต 7จันทบุรี โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊กส่วนตัว ว่า

เมื่อ One Map ไม่ตรงกับแนวเขตอุทยานฯ #Saveทับลาน จึงเกิด !

ไม่มีกระแสใดแรงเท่า #Saveทับลาน อันเป็นผลมาจากพื้นที่ป่าอุทยานแห่งชาติทับลาน กำลังจะถูกกำหนดเป็นแนวเขตควบคุมอุทยานแห่งชาติทับลาน (2543) แทนแนวเขตอุทยานแห่งชาติทับลาน (2524)

ข้อมูลจากเจ้าหน้าที่น่าสนใจ เพราะแนวแผนที่ที่มีการเผยแพร่กัน พบว่า แนวเขตเดิม (2524) สีแดง และแนวเขตใหม่ (2543) สีน้ำเงิน ทับซ้อนกัน บางพื้นที่หด บางพื้นที่เพิ่ม

พื้นที่สีเหลือง (1) คือ พื้นที่ทับซ้อนแท้จริง ประมาณ 58,000 ไร่ ต้องดำเนินการโดยกฏหมายอุทยานฯ ที่มีอยู่ตามเงื่อนไข

พื้นที่สีน้ำเงิน(2) เป็นพื้นที่ที่หน่วยงานความมั่นคง นำชาวบ้านเข้ามาอยู่ให้ที่ทำกิน เนื่องจากสมัยก่อนพื้นที่แห่งนี้เป็นที่หลบพักของกลุ่มคอมมิวนิสต์ ประมาณ 80,000 ไร่ (ฝั่ง อ.เสิงสาง จ.นครราชสีมา) พื้นที่นี้ถูกจัดการเป็นพื้นที่ คชก. และมาเป็น สปก. ส่วนฝั่ง อ.นาดี จ.ปราจีนบุรี คือที่ทำการอุทยานฯ ฝั่งอำเภอนาดีใกล้เคียงกับที่ทำการอุทยานเป็นการจัดให้ชาวบ้านอยู่แบบหมู่บ้านป่าไม้โดยมีโครงการพระราชดำริรองรับ

พื้นที่สีเทา (3) เป็นพื้นที่ที่ถูกระบุว่า มีการออกเอกสารสิทธิ์ (นส.3 ก.) ซึ่งเป็นการเดินสำรวจ โดยชาวบ้าน อ้างว่า อุทยานฯ ออกแนวเขตทับที่ บริเวณพื้นที่สีเทาไม่ใช่ สค.1 /นส.3 หรือ นส.4
ที่เป็นประเด็นตอนนี้จนเกิดกระแส #Saveทับลาน คือ

พื้นที่สีเทา ตรงวังน้ำเขียว ประมาณ 20,000 ไร่ มีการออกเอกสารสิทธิ์ สปก. ข้ามเขต ในจำนวนนี้มีชาวบ้านอยู่จริง ในจำนวน 20,000 ไร่ มีพื้นที่ที่มีการถือครองทำธุรกิจที่พัก รีสอร์ท และมีการแจ้งความดำเนินคดี ตั้งแต่ปี 2554 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน รวมเกือบ 400 คดี

ความเป็นห่วงของนักอนุรักษ์ที่เป็นราชการ และภาคประชาสังคม เห็นพ้องตรงกัน หากใช้แนวเขตใหม่ ปี 2543 เป็นเขต One Map จะทำให้พื้นที่ป่าอนุรักษ์เดิมหายไป และคดีที่เกิดขึ้นอาจจะถูกใช้เป็นข้ออ้างทำให้คนถูกดำเนินคดีไม่ถูกดำเนินคดีก็เป็นได้ เพราะถือว่าเป็นแนวเขตที่เป็นที่ยอมรับกัน

นักอนุรักษ์ที่เป็นราชการ และภาคประชาสังคม แนะว่า มีเครื่องมือในการจัดการป่ากับชุมชน โดย พรบ.อุทยานฯ และ ป่าไม้ ซึ่ง คณะกรรมการที่ดินแห่งชาติ (คทช.) ควรพิจารณาใช้เครื่องมือเหล่านี้แก้ปัญหาให้ได้ก่อน เพราะจะทำให้ป่าอนุรักษ์ยังคงอยู่ แต่หากทำไม่สำเร็จ ค่อยเริ่มใช้เครื่องมือ ของ สปก. ในการแก้ปัญหา

#ตอบให้เคลียร์
#NBTConnext

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'ลุงโชค' ผู้พลิกฟื้นผืนป่า โพสต์ขอโทษ รู้สึกผิด สิ่งที่ทำในอดีตจะกลับมาทิ่มแทงตัวเอง

กรณีอุทยานแห่งชาติทับลาน โดยสำนักอุทยานแห่งชาติ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช ได้เปิดการรับฟังความคิดเห็นกรณีที่จะนำพื้นที่ป่าทับลาน จำนวน 265,286.58 ไร่ จากพื้นที่ 1.4 ล้านไร่ของพื้นที่อุทยานแห่งชาติทับลานให้เป็นพื้นที่ ส.ป.ก. โ

ถูกทั้งสองฝ่าย 'นักวิชาการ' แนะกรณีทับลาน Save ทั้งคนและป่า การพัฒนาจึงจะยั่งยืน

รศ.ดร.เพิ่มศักดิ์ มกราภิรมย์ อดีตอาจารย์ประจำสถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก ว่า

#saveทับลาน ระวังวิญญาณพวก 'กระทิงแดง' เข้าสิงสังคมไทย

นายวรา จันทร์มณี เลขาธิการเครือข่ายประชาชนพิทักษ์สิทธิเสรีภาพและความเป็นธรรม นักวิชาการอิสระด้านสังคมศาสตร์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก ว่า

'ชัยวัฒน์ ' เปิดภาพ จนท.เหยียบกับระเบิดขาขาด หลังปะทะขบวนการตัดไม้

นายชัยวัฒน์ ลิ้มลิขิตอักษร ผู้อำนวยการสำนักอุทยาน กรมอุทยานสัตว์ป่าและพันธุ์พืช โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก Chaiwat Limlikhitaksorn ระบุว่าทับลาน ! ก่อนจะเป็นอุทยานแห่งชาติทับลาน

'ลุงโชค วังน้ำเขียว' เปิดใจแทนชาวบ้านโดนหลอกมา 43 ปี กลับถูกตราหน้าเป็นผู้บุกรุก

จากกรณี กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช เปิดรับฟังความเห็นในการเพิกถอนพื้นที่อุทยานแห่งชาติทับลานฝั่ง จ.นครราชสีมา และปราจีนบุรี 265,286.58 ไร่ ออกจากการเป็นพื้นที่ป่าอนุรักษ์ ตั้งแต่วันที่ 28 มิ.ย.-12 ก.ค. 2567 ทำให้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์ว่าจะเอื้อประโยชน์ให้นายทุน จนมีการติดแฮชแท็ก #Saveทับลาน ในโซเชียลมีเดียอย่างกว้างขวาง

'ดร.อานนท์' ต่อต้านการฮุบป่าของนายทุนตระกูลจึงรุ่งเรืองกิจ ถึงการปกป้องป่าทับลาน

ผศ.ดร.อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์ อาจารย์สาขาวิชาสถิติศาสตร์ สาขาวิชาพลเมืองวิทยาการข้อมูล สาขาวิชาวิทยาการประกันภัยและการบริหารความเสี่ยง คณะสถิติประยุกต์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ โพสต์เฟซบุ๊ก ระบุว่า