'ลุงโชค' ย้อนยุคสงครามคอมมิวนิสต์ ถึงเขตป่าทับลาน ทับซ้อน 'หมู่บ้านไทยสามัคคี'

10 ก.ค.2567 - จากกรณี กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช เปิดรับฟังความเห็นในการเพิกถอนพื้นที่อุทยานแห่งชาติทับลานฝั่ง จ.นครราชสีมา และปราจีนบุรี 265,286.58 ไร่ ออกจากการเป็นพื้นที่ป่าอนุรักษ์ ตั้งแต่วันที่ 28 มิ.ย.-12 ก.ค. 2567 ทำให้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์ว่าจะเอื้อประโยชน์ให้นายทุน จนมีการติดแฮชแท็ก #Saveทับลาน ในโซเชียลมีเดียอย่างกว้างขวาง

นายโชคดี ปรโลกานนท์ หรือ ลุงโชค อดีตเจ้าหน้าที่มูลนิธิคุ้มครองสัตว์ป่าและพรรณพืชแห่งประเทศไทย ผู้ฟื้นผืนป่าเขาแผงม้า เจ้าของ ‘สวนลุงโชค’ บ้านคลองทุเรียน ตำบลวังน้ำเขียว อำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา

ผมไม่ได้เกิดที่วังน้ำเขียว..แต่มาอยู่วังน้ำเขียวปี 2526..และไม่ได้อยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติทับลาน..แต่เคยไปฟื้นฟูป่าในเขตอุทยานแห่งชาติทับลาน.FPT12.มูลหลงมูลสามง่าม,10000 ไร่.ร่วมกับพี่น้องชาวบ้านตำบลไทยสามัคคี..ดังนั้นขอนำเอาข้อมูลประวัติชุมชนและเหตุการณ์ที่สำคัญเกี่ยวข้องกับที่ดินทำกินการตั้งถิ่นฐานของชุมชน..ประมาณ 60,000 กว่าไร่..ให้สังคมได้มีข้อมูลในการตัดสินใจ..ย้อนกลับไปในปี 2516-2517 พื้นที่ป่าวังน้ำเขียว ป่าแก่งดินสอ และป่าเขาสะโตน ได้กลายเป็น ‘ป่าสงวนเสื่อมสภาพ’ จากการสัมปทาน

ประจวบกับในปี 2518-2522 เกิดสงครามกลางเมืองระหว่างรัฐกับคอมมิวนิสต์ ชาวบ้านต้องแตกฮืออพยพหลบลูกปืน

รัฐจึงจัดตั้งพื้นที่ที่หลักกิโลที่ 75-80 ซึ่งตรงกับพื้นที่ ‘ป่าสงวนเสื่อมสภาพ’ ดังกล่าวให้เป็นพื้นที่อพยพของชาวบ้านโดยตั้งเป็นโครงการชื่อว่า ‘หมู่บ้านตัวอย่างไทยสามัคคี’

รัฐเริ่มอพยพชาวบ้านเข้ามาในพื้นที่อย่างเป็นทางการในวันที่ 25 ธ.ค.2520 ใช้เวลาอพยพราษฎร 1 เดือน แต่ในระหว่างนั้นคอมมิวนิสต์ยังคงได้พยายามบุกเข้าโจมตีหมู่บ้านไทยสามัคคีอยู่เรื่อยมา รัฐจึงได้พยายามแก้ปัญหาด้วยการส่งเจ้าหน้าที่ตำรวจเข้าไปดูแล และสร้างความเข้มแข็งให้พื้นที่ด้วยการ ‘สร้างชุมชน’ มีการกำหนดที่ดินใหม่ จาก ‘ป่าสงวนเสื่อมสภาพ’ ให้กลายเป็น ‘เขตปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม’ เพื่อให้ชาวบ้านมีความเป็นชุมชนเกษตรกรที่เข้มแข็ง

พื้นที่ที่หลักกิโลที่75-80 (ตำบลไทยสามัคคีและตำบลวังน้ำเขียวในปัจจุบัน) จึงกลายเป็นเขตปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมอย่างเป็นทางการ
18 ธ.ค.2524
3 ปี ให้หลังจากการจัดตั้งหมู่บ้านไทยสามัคคี ดำเนินการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม และชาวบ้านได้มีการลงหลักปักฐานและก่อร่างสร้างอาชีพแล้ว ได้มีการประกาศให้บริเวณที่ดินเป็นอุทยานแห่งชาติทับลานโดยไม่มีการสำรวจรังวัดและปักหลักแนวเขตก่อนที่จะประกาศ ส่งผลให้เกิดการทับซ้อนกับโครงการหมู่บ้านไทยสามัคคีขึ้น โดยที่โครงการก็ยังคงดำเนินต่อไปพร้อมกันด้วย
30 ธ.ค. 2528
4 ปีหลังการทับซ้อน รัฐจึงออกกฎกระทรวง (ฉบับที่1,145) มายกเลิกกฎกระทรวงเดิม (ฉบับที่505) เพื่อเพิกถอนพื้นที่ป่าสงวนวังน้ำเขียวจากความเป็น ‘ป่าสงวนเสื่อมสภาพ’ เนื้อที่ 101,093 ไร่ เพื่อให้สามารถเข้าไปดำเนินการปฏิรูปที่ดินเพื่อการเกษตรได้โดยสะดวก
29 มิ.ย.32
มีพระราชกฤษฎีกาให้เพิกถอนอุทยานแห่งชาติบางส่วนเพราะจำเป็นต้องสร้างอ่างเก็บน้ำมูลบนด้วย
2533
กรมป่าไม้พิจารณาการปรับปรุงแนวเขตอุทยานแห่งชาติทับลานให้สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงเพราะพื้นที่อุทยานทั้งหมดไม่ได้เขียวชอุ่ม แต่มีการทับซ้อนกับพื้นที่ป่าเสื่อมโทรมในโครงการปฏิรูปที่ดินเสื่อมโทรมเพื่อเกษตรกรรม
โดยแต่งตั้งคณะปฏิบัติงานสำเร็จเมื่อวันที่ 23 พ.ค. 34
2535
2 ปีให้หลังจากการแต่งตั้งคณะปฏิบัติงานสำเร็จ คณะปฏิบัติงานปรับปรุงแนวเขตด้วยการใช้ภาพถ่ายทางอากาศในปี 2526 ร่วมกับ ภาพถ่ายในปี 2535 รังวัด ปรับปรุงแนวเขตจนเป็นที่ยอมรับในระดับพื้นที่ของทุกฝ่าย
2537
เมื่อวันที่ 17 ก.ย.37 มีมติเห็นชอบจากคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติให้ดำเนินการปรับปรุงแนวเขตให้ชัดเจน (One map) โดยมีการกันพื้นที่ โครงการหมู่บ้านไทยสามัคคี, มั่นคงรอยต่อ, ราษฎรยากไร้ ทั้งหมดสามโครงการออกจากเขตอุทยานแห่งชาติทับลานด้วย
2543 One map สำเร็จ
จะเห็นได้ว่าพื้นที่บริเวณที่เป็นปัญหา มีสภาพเป็นหมู่บ้านอย่างชอบธรรมมาตั้งนานแล้ว และก็ไม่ใช่ด้วยการบุกรุกพื้นที่ป่าเขียวชอุ่ม แต่คือได้รับพื้นที่ป่าเสื่อมสภาพมาด้วยการจัดสรรจากรัฐ
2554..
สุวิทย์ คุณกิตติ..รัฐมนตรีทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม..มีคำสั่งให้ยกเลิกแนวเขตปี 2543 แล้วให้ไปยึดแนวเขตปี.2524
2555
กรมอุทยานแห่งชาติ เริ่มดำเนินคดีจับกุม ตรวจยึด ทุบ ทำลายทรัพย์สินสิ่งปลูกสร้างของราษฎรทั้งที่อยู่เดิมและเข้ามาอยู่ใหม่โดยอ้างว่าบุกรุกเขตอุทยานแห่งชาติทับลาน?

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'ลุงโชค' ผู้พลิกฟื้นผืนป่า โพสต์ขอโทษ รู้สึกผิด สิ่งที่ทำในอดีตจะกลับมาทิ่มแทงตัวเอง

กรณีอุทยานแห่งชาติทับลาน โดยสำนักอุทยานแห่งชาติ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช ได้เปิดการรับฟังความคิดเห็นกรณีที่จะนำพื้นที่ป่าทับลาน จำนวน 265,286.58 ไร่ จากพื้นที่ 1.4 ล้านไร่ของพื้นที่อุทยานแห่งชาติทับลานให้เป็นพื้นที่ ส.ป.ก. โ

ถูกทั้งสองฝ่าย 'นักวิชาการ' แนะกรณีทับลาน Save ทั้งคนและป่า การพัฒนาจึงจะยั่งยืน

รศ.ดร.เพิ่มศักดิ์ มกราภิรมย์ อดีตอาจารย์ประจำสถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก ว่า

'ชัยวัฒน์ ' เปิดภาพ จนท.เหยียบกับระเบิดขาขาด หลังปะทะขบวนการตัดไม้

นายชัยวัฒน์ ลิ้มลิขิตอักษร ผู้อำนวยการสำนักอุทยาน กรมอุทยานสัตว์ป่าและพันธุ์พืช โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก Chaiwat Limlikhitaksorn ระบุว่าทับลาน ! ก่อนจะเป็นอุทยานแห่งชาติทับลาน

'ลุงโชค วังน้ำเขียว' เปิดใจแทนชาวบ้านโดนหลอกมา 43 ปี กลับถูกตราหน้าเป็นผู้บุกรุก

จากกรณี กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช เปิดรับฟังความเห็นในการเพิกถอนพื้นที่อุทยานแห่งชาติทับลานฝั่ง จ.นครราชสีมา และปราจีนบุรี 265,286.58 ไร่ ออกจากการเป็นพื้นที่ป่าอนุรักษ์ ตั้งแต่วันที่ 28 มิ.ย.-12 ก.ค. 2567 ทำให้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์ว่าจะเอื้อประโยชน์ให้นายทุน จนมีการติดแฮชแท็ก #Saveทับลาน ในโซเชียลมีเดียอย่างกว้างขวาง

'ดร.อานนท์' ต่อต้านการฮุบป่าของนายทุนตระกูลจึงรุ่งเรืองกิจ ถึงการปกป้องป่าทับลาน

ผศ.ดร.อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์ อาจารย์สาขาวิชาสถิติศาสตร์ สาขาวิชาพลเมืองวิทยาการข้อมูล สาขาวิชาวิทยาการประกันภัยและการบริหารความเสี่ยง คณะสถิติประยุกต์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ โพสต์เฟซบุ๊ก ระบุว่า