ปปง. เปิดให้ผู้เสียหายเหยื่อแก๊งคอลเซ็นเตอร์ ลงทะเบียน รับเงินคืน ผ่าน 3 ช่องทาง

'คารม' เผย ปปง. เปิดให้ผู้เสียหายเหยื่อแก๊งคอลเซ็นเตอร์ ลงทะเบียนคุ้มครองสิทธิเพื่อรับเงินคืน ผ่าน 3 ช่องทาง ย้ำเตือนประชาชนอย่าหลงกลโอนเงินให้มิจฉาชีพ ระบุมูลค่าความเสียหายเดือน มิ.ย. กว่าสามพันล้านบาท

5 ก.ค.2567- นายคารม พลพรกลาง รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ตามที่มิจฉาชีพแก๊งคอลเซ็นเตอร์ หลอกลวงประชาชนคนไทยโอนเงินมูลค่าเสียหายนับแสนล้านบาทนั้น ล่าสุดจากข้อมูล พบว่าคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) ได้ยึดทรัพย์เป็นของกลางแล้ว ดังนี้ เงินสดรวมได้ประมาณ 6,000,000,000 บาท อสังหาริมทรัพย์อีกจำนวนหนึ่งประมาณ 4,000,000,000 บาท รวมกันแล้วประมาณ 10,000,000,000 บาท สำหรับทรัพย์สินยึดจากแก๊งคอลเซ็นเตอร์ ต้องเฉลี่ยทรัพย์คืนให้ประชาชนที่ได้รับความเสียหาย หลังจาก ปปง. ยึดทรัพย์มาแล้ว โดยจะประกาศในราชกิจจานุเบกษาเกี่ยวกับการยึดทรัพย์ภายใน 90 วัน เพื่อให้ประชาชนมายื่นคําร้องขอรับการคุ้มครองสิทธิ ซึ่งผู้เสียหายจะได้รับเงินชดใช้คืนเมื่อศาลมีคําสั่งหรือคําพิพากษาถึงที่สุดให้ผู้เสียหายได้รับเงินชดใช้คืนแทนการสั่งให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดิน

นายคารม กล่าวว่า สำหรับผู้เสียหายที่ตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพแก๊งคอลเซ็นเตอร์ สามารถยื่นคําร้องขอคุ้มครองสิทธิ ผ่าน 3 ช่องทาง ดังนี้ 1. ยื่นด้วยตนเอง ณ สํานักงาน ปปง. 2.ยื่นทางไปรษณีย์ลงทะเบียนส่งถึง สำนักงานป้องกันและปราบการฟอกเงิน เลขที่ 422 ถนนพญาไท แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330 โดยวงเล็บ 2 มุมซองด้านบนว่า “ส่งแบบคําร้องขอ คุ้มครองสิทธิรายคดี....” และ 3 ยื่นทางอิเล็กทรอนิกส์ผ่านทาง https://khumkrongsit.amlo.go.th สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมโทร 02-219-3600 หรือ โทร 1710

นายคารม เปิดเผยต่อว่า ตั้งแต่วันที่ 1 – 30 มิถุนายน 2567 ผลการแจ้งความออนไลน์ ผ่าน https://www.thaipoliceonline.com รวม 35,379 เรื่อง มูลค่าความเสียหายรวม 3,437,689,020 บาท เฉลี่ย 114,589,643 บาทต่อวัน ผลการอายัดบัญชี จำนวน 10,713 บัญชี ยอดขออายัด จำนวน 1,404,539,300 บาท ยอดอายัดได้ จำนวน 719,057,785 บาท สำหรับประเภทคดีออนไลน์ที่มีการแจ้งความมากที่สุด 5 อันดับแรก ดังนี้ 1. หลอกลวงซื้อขายสินค้าหรือบริการ (ไม่เป็นขบวนการ) มูลค่าความเสียหาย 160,929,368 บาท 2. หลอกให้โอนเงินเพื่อทำงานหารายได้พิเศษ มูลค่าความเสียหาย 583,012,851 บาท 3.หลอกให้กู้เงิน มูลค่าความเสียหาย 145,768,931 บาท 4.หลอกให้ลงทุนผ่านระบบคอมพิวเตอร์ มูลค่าความเสียหาย 1,427,157,157 บาท และ 5. หลอกให้โอนเงินเพื่อรับรางวัลหรือวัตถุประสงค์อื่น มูลค่าความเสียหาย 235,952,533 บาท ทั้งนี้ จากรายงานข้อมูลดังข้างต้น ยังมีประชาชนหลงกลตกเป็นเหยื่อมิจฉาชีพ ขอประชาชนระมัดระวังอย่าหลงเชื่อมิจฉาชีพ ที่เชิญชวน ชักชวนโดยวิธีการต่างๆ หากถูกหลอก สามารถแจ้งความออนไลน์ที่ https://www.thaipoliceonline.com หรือสอบถามที่เบอร์ 1441 หรือ 081-866-3000

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'ศึกษิษฏ์' เชียร์ 'กาสิโน' ไม่ต้องกังวล 'ฟอกเงิน-ทุนสีเทา' เหตุบริษัทยักษ์ใหญ่มืออาชีพ กำกับโดยโลก

'ศึกษิษฏ์' บอก กม.เอ็นเตอร์เทนเมนต์คอมเพล็กซ์ ผ่านความเห็น ปชช.แล้ว แต่น้อมรับความเห็นต่าง ระบุ ไม่ต้องกังวล 'ฟอกเงิน-ทุนสีเทา' เหตุบริษัทยักษ์ใหญ่มืออาชีพ กำกับโดยโลก เผย ค่าเข้ากาสิโน รอ คกก.เคาะ ขี้นต่ำ ป้องกันกลุ่มเปราะบาง แจงออก พ.ร.บ.ใหม่ เหตุกฎหมายพนันไทยล้าหลัง

'เปิ้ล นาคร' ร้องตำรวจไซเบอร์ คนในครอบครัวถูกหลอกสูญกว่า 6 ล้าน

ที่กองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บช.สอท.) นายนาคร ศิลาชัย หรือ เปิ้ล นาคร นักแสดง พร้อมนายเอกภพ เหลืองประเสริฐ ผู้ก่อตั้งเพจสายไหมต้องรอด

'ครูหยุย' แนะรัฐบาลประกาศเจตนารมณ์ เป็นของขวัญวันเด็ก แทนให้คำขวัญ

'ครูหยุย' แนะรัฐบาลเปลี่ยนจากให้คำขวัญวันเด็ก เป็นมอบของขวัญที่มีค่า ประกาศเจตนารมณ์ 'ไม่โกง-ซื่อสัตย์สุจริต-ทลายแก๊งคอลเซ็นเตอร์ลวงเด็ก'

จับเครือข่ายแก๊งคอลเซ็นเตอร์ อ้างเป็นนักการเมืองดัง ลวงเหยื่อ 22 ล้าน

พล.ต.ต.ภูมิพัฒน์ ภัทรศรีวงษ์ชัย ผู้บังคับการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี 5 (ผบก.สอท.5) มอบหมายให้ พ.ต.อ.กฤษดา มานะวงศ์สกุล ผกก.1 บก.สอท.5 สืบสวนจับกุมผู้ต้องหาที่กระทำผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมออนไลน์

'ผู้การติ๊บ' ลุยคุมเข้มสกัดภัยคุกคามทุกรูปแบบ รักษาอธิปไตยไทย

พ.อ.ณัฐกร เรือนติ๊บ หรือ “ผู้การติ๊บ” ผู้บังคับหน่วยเฉพาะกิจราชมนู ซึ่งดูแลพื้นที่ชายแดนไทย-เมียนมา 5 อำเภอชายแดน จังหวัดตาก (แม่สอด-ท่าสองยาง-พบพระ-อุ้มผาง-แม่ระมาด)

'ชาล็อต' ให้ข้อมูล กมธ.ตำรวจปมถูกแก๊งคอลเซ็นเตอร์หลอกเงิน

'ชาล็อต ออสติน' เข้าให้ข้อมูล กมธ.ตำรวจ ปมถูกหลอกสูญเงิน 4 ล้าน 'ชัยชนะ' ยันตำรวจให้ความสำคัญทุกคดี ไม่เกี่ยวเป็นคนดังหรือไม่