"ก้าวไกล" ลุกทวงถามความคืบหน้าคดีบุ้ง ทะลุวัง เสียชีวิตในเรือนจำ ด้าน "ทวี" แจงเสียเพราะขาดสมดุลเกลือแร่ในเลือด-หัวใจโต ยันดำเนินการตามหลักสากล ย้ำต้องปฏิรูป ก.ยุติธรรม ให้นักโทษมีเงินเก็บก่อนออกมา-เปลี่ยนราชทัณฑ์เป็นสถานฟื้นฟู ลั่น พยายามดันกฎกระทรวงหากศาลเห็นด้วยสามารถคุมขังที่บ้านได้
4 ก.ค.2567 - เมื่อเวลา 11.00 น. ที่รัฐสภา ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร มีนายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่ 2 เป็นประธานการประชุม พิจารณาวาระกระทู้ถามสดด้วยวาจาของน.ส.ศศินันท์ ธรรมนิฐินันท์ สส.กทม. พรรคก้าวไกล (ก.ก.) เรื่องความคืบหน้ากรณีการเสียชีวิตของผู้ต้องขังในเรือนจำ ถามพ.ต.อ.ทวี สอดส่อง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ว่า เป็นเวลา 2 เดือนแล้วที่น.ส.เนติพร เสน่ห์สังคม หรือบุ้ง ทะลุวัง เสียชีวิตแต่เรื่องก็ยังคลุมเคลือและไม่มีความชัดเจนในเรื่องของการรักษาชีวิต ระหว่างการถูกฝากขังภายใต้กรมราชทัณฑ์ กระทรวงยุติธรรม อย่างไรก็ตาม การเสียชีวิตของน.ส.เนติพร สะท้อนให้เห็นว่ามาตราฐานการดูแลผู้ป่วยของราชทัณฑ์มีปัญหา ซึ่งตนก็ไม่แปลกใจกับการให้ประกันตัวของผู้ต้องขังโดยอ้างว่ามีปัญหาด้านสุขภาพ เพราะตอนแรกคิดว่าจะสามารถใช้ได้กับทุกคน แต่กรณีนี้กลับแตกต่างออกไป
น.ส.ศศินันท์ กล่าวต่อว่า อยากถามว่าสาเหตุการเสียชีวิตที่แท้จริงของน.ส.เนติพรคืออะไร เพราะเหตุใดจึงไม่มีการใช้เครื่องกระตุกหัวใจไฟฟ้าชนิดอัตโนมัติ (Automated External Defibrillator หรือ AED) เวลาที่เสียชีวิตคือเวลาใด กรมราชทัณฑ์จะมีการรับผิดชอบการเสียชีวิตนี้อย่างไร รวมถึงคณะกรรมการที่ตั้งขึ้นมานั้นสอบสวนข้อเท็จจริงแล้วได้ผลอย่างไรท่านมีแนวคิดที่จะปรับปรุงกระบวนการ ขั้นตอนหรือวิธีการดูแลผู้ต้องขังในเรือนจำให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นหรือไม่ และท่านมีแนวคิดอย่างไรเกี่ยวกับนักโทษทางการเมือง ผู้ต้องขังทางความคิด
พ.ต.อ.ทวี ชี้แจงว่า การเสียชีวิตของน.ส.เนติพรเป็นการเสียชีวิตระหว่างการควบคุมของเจ้าพนักงาน ซึ่งเป็นเงื่อนไขหนึ่งที่ทำให้ต้องมีการทำสำนวนชันสูตรพลิกศพ ซึ่งสาเหตุการเสียชีวิตนั้น ทางนิติเวชโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติระบุว่า เกิดจากการเสียสมดุลเกลือแร่ในเลือดร่วมกับโรคหัวใจโต และกรมราชทัณฑ์ได้มีการตั้งคณะกรรมการขึ้นมาสอบสวนข้อเท็จจริงเรื่องดังกล่าวแล้ว อย่างไรก็ตาม การเสียชีวิตของน.ส.เนติพรไม่พบร่องรอยการทำร้ายร่างกายเพียงแต่อย่างใด
พ.ต.อ.ทวี กล่าวอีกว่า ทั้งนี้ หากอ้างอิงจากใบมรณบัตรและการตรวจพิสูจน์ของโรงพยาบาลธรรมศาสตร์ฯ ประกอบกับกล้องวงจรปิดในคืนเกิดเหตุพบว่าน.ส.เนติพรได้นอนหลับพักผ่อนเป็นปกติ ก่อนที่เวลา 06.12 น. น.ส.เนติพรจะได้ลุกขึ้นมานั่งที่เตียง ก่อนจะมีการคว่ำหน้าลงและชักกระตุก และในรายงานมีการระบุว่าการเสียชีวิตที่โรงพยาบาลธรรมศาสตร์ฯ แต่ระหว่างที่ช่วยยื้อชีวิตนั้นอาจจะเป็นปรากฏการณ์ที่เหมือนการเสียชีวิตแล้ว แต่ตนยืนยันว่าการดำเนินการของกรมราชทัณฑ์ เป็นไปตามวิชาชีพมาตรฐานสากล และหลักทางการแพทย์ ส่วนรายละเอียดอื่นขอให้รอศาลที่จะมีความเที่ยงธรรมมากกว่า
พ.ต.อ.ทวี กล่าวด้วยว่า ส่วนการดูแลเรื่องสุขภาพของผู้ต้องขังนั้น ตนไม่อยากให้มองว่าราชทัณฑ์มีวิธีการดูแลสุขภาพของผู้ต้องขังต่างจากที่อื่น ซึ่งใน 4-5 ปีผ่านมา เรามีผู้ต้องขังที่เสียชีวิต 1,000 กว่าคน แต่ในปี 2566 มีผู้ต้องขังที่เสียชีวิตลดลงเหลือเพียงแค่ 750 คน คิดเป็น 2% ขณะที่การเสียชีวิตด้านนอกกรมราชทัณฑ์นั้นอยู่ที่ 7.9% สรุปว่าอยู่ในเรือนจำ อยู่ในราชทัณฑ์เสียชีวิตน้อยกว่า ทั้งนี้ เมื่อตนเข้ามาเป็นรัฐมนตรีก็พยายามดูว่าจะปฏิรูปกระทรวงยุติธรรมได้อย่างไรบ้าง ซึ่งสิ่งที่ตนพยายามจะทำแม้ว่าใครจะขวางคือจะต้องมีเรือนจำระหว่างการพิจารณาคดี, ต้องแยกเรือนจำเด็ดขาด, ต้องมีเรือนจำเฉพาะทางเช่น ผู้ที่ไม่มีการศึกษาหรือมีการศึกษาต่ำกว่าขั้นพื้นฐาน เพื่อที่จะให้มีเรือนจำสำหรับเรียนและการฝึกอาชีพ
“วันนี้ผมจะท้าทายคือจะทำอย่างไรให้ราชทัณฑ์เป็นสถานที่ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด ซึ่งจะต้องเอางบ สปสช.มาช่วย รวมถึงจะขอให้ราชทัณฑ์เป็นสถานฟื้นฟูสภาพทางสังคม และต้องให้เขามีเวลาในการที่เตรียมสู้คดี เมื่อไปเรือนจำก็ไม่ควรที่จะต้องใส่ชุดนักโทษ หรือหากอะไรที่เป็นวัฒนธรรมเดิมแล้วเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน ก็ขอให้มาพูดคุยกัน ผมจึงพูดเสมอว่าดินแดนแห่งนี้เป็นดินแดนแห่งสร้างโอกาส เป็นการสร้างคนเพื่อไปสร้างชุมชนสร้างครอบครัว” พ.ต.อ.ทวี กล่าว
พ.ต.อ.ทวี กล่าวอีกว่า สำหรับเรื่องคดีทางการเมืองนั้นเป็นเรื่องที่ตนให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง แต่ความหมายของคดีทางการเมืองอาจจะมีความหมายที่กว้าง แต่หากดูในราชทัณฑ์ ขณะนี้คดีที่มีการมาเรียกร้อง มาชุมนุมและอาจจะรวมถึงคดีเกี่ยวกับประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 มีอยู่ประมาณ 25 คน และช่วงหลังศาลก็ให้ประกันตัวแล้ว ขณะนี้เราพยายามที่จะทำตามหลักที่ว่าตราบใดที่ศาลยังไม่ตัดสินถือว่าเป็นผู้บริสุทธิ์ และพยายามที่จะผลักดันกฎกระทรวงส่วนหนึ่งในมาตรา 89/1 ซึ่งหากศาลเห็นด้วยก็อาจจะขอว่าไม่ต้องเข้ามาอยู่ในราชทัณฑ์ ให้อยู่บ้านได้ แล้วติดกำไรอีเอ็ม ตรงนี้ก็จะช่วยได้มาก ย้ำว่าตนพยายามที่จะผลักดันการปฏิรูปในเรื่องของการฝึกอาชีพ โดยให้ผู้ที่ออกจากราชทัณฑ์อย่างน้อยควรมีเงินเก็บสัก 10,000-100,000 บาท
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'ทนายแจม' ผิดหวังรัฐบาลเบี้ยวตอบกระทู้ จัดอบรมอาสาตำรวจจีน ส่ง กมธ.ตำรวจ สอบต่อ
นางสาวศศินันท์ ธรรมนิฐินันท์ สส.กทม.พรรคประชาชน ตั้งกระทู้ถามสดด้วยวาจาต่อรองนายกรัฐมนตรี ภูมิธรรม เวชยชัย กรณีการอบรมอาสาตำรวจชาวจีน ซึ่งรองนายกรัฐมนตรีได้แจ้งติดภารกิจ ส่งผลให้ต้องเลื่อนการตอบกระทู้ออกไปก่อน
'คุมขังนอกเรือนจำ'ความหวังใหม่ ระบบยุติธรรมหรือประตูสู่ความลำเอียง
ประเทศไทยกำลังเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญในระบบยุติธรรม โดยในปี 2568 กรมราชทัณฑ์จะเริ่มใช้ ระเบียบคุมขังนอกเรือนจำ ซึ่งเป็นนโยบายใหม่ที่ออกแบบมาเพื่อลดความแออัดในเรือนจำ
บันทึกไว้! 'ทวีไอพี' ยัน 'ยิ่งลักษณ์' ไม่เข้าเกณฑ์ขังนอกเรือนจำ
ที่ทำเนียบรัฐบาล พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง รมว.ยุติธรรม กล่าวถึงความคืบหน้าการจำคุกนอกเรือนจำ ที่กรมราชทัณฑ์เตรียมบังคับใช้ในเดือน ม.ค.นี้ ว่า ปั
3 วันอันตรายปีใหม่! สังเวยแล้ว 143 ศพ เจ็บ 841 คน เกิดอุบัติเหตุ 872 ครั้ง
3 วันอันตรายปีใหม่ เกิดอุบัติเหตุ 872 ครั้ง เสียชีวิต 143 ราย เจ็บ 841 คน ศปถ. ปรับแผนตั้งจุดตรวจคุมเข้มพื้นที่จัดงานปีใหม่ กวดขันดื่มแล้วขับ โดยเฉพาะเด็กและเยาวชน งัดบทลงโทษสูงสุด
‘ทวีไอพี’ปัดขังนอกคุกเอื้อปู
ยธ.ประเดิมใช้ระเบียบคุมขังนอกเรือนจำ หลัง ม.ค.68 อัตราโทษไม่เกิน 4 ปี
'ทวี' แจง 'ดีเจแมน-ใบเตย' ได้รับค่าเยียวยา แต่ต้องรอให้คดีถึงที่สุด
'ทวี' แจง 'ดีเจแมน-ใบเตย' ได้รับค่าเยียวยา วันละ 500 บาท หลังศาลชั้นต้นยกฟ้อง แต่ต้องรอให้คดีถึงที่สุด บอกหากไม่ได้รับความยุติธรรม สามารถฟ้องรัฐได้ ชงแก้กม.ถ้าอัยการสั่งไม่ฟ้องจะเข้าไปเยียวยา