ผลจากการปฏิวัติ 24 มิ.ย. 2475 ทำให้ประเทศไทยไม่ก้าวหน้า

28 มิ.ย.2567 - พล.ท.นันทเดช เมฆสวัสดิ์ อดีตหัวหน้าศูนย์ปฏิบัติการพิเศษ ศูนย์รักษาความปลอดภัยแห่งชาติ (ศรภ.) โพสต์เฟซบุ๊กว่าผลจากการปฏิวัติ 24 มิ.ย. 2475 ทำให้ประเทศไทยไม่ก้าวหน้า (ตอนที่2)

1️.จากกรณีที่ในหลวงรัชกาลที่ 7 ทรงยอมชลอการพระราชทานรัฐธรรมนูญ ตามคำท้วงติงว่า “ประชาชนยังไม่พร้อม“ แต่คณะราษฏรได้ชิงตัดหน้าทำการปฏิวัติไปก่อน ทั้งที่ พ.อ.พระยาพหล หัวหน้าคณะราษฏร ก็ทราบดีอยู่แล้ว แต่ทำไมถึงไม่บอกให้สมาชิกคณะราษฏรรู้ด้วย ขอให้มาดูที่รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว ซึ่ง อ.ปรีดี เป็นผู้ร่างเองนั้นได้มีการตัดพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ออกไปทั้งหมด โดยระบุไว้ให้อำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชน แต่กลับมีที่มาของ ส.ส.ที่จะเข้ามาใช้อำนาจแทนประชาชนไม่ได้มาจากประชาชน โดยให้คณะราษฎรแต่งตั้งเองทั้งหมด และวาระการดำรงตำแหน่งก็ถูกขยายยาวไปถึง 10 ปี โดยแบ่งออกเป็น 3 ช่วงระยะเวลาดังนี้

ช่วงแรก คณะราษฎร ตั้ง ส.ส. เองทั้งหมด ตามเนื้อความใน รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวที่ระบุว่า “นับตั้งแต่วันใช้รัฐธรรมนูญ จนกว่าจะถึงเวลาที่สมาชิกในสมัยที่ 2จ ะเข้ารับตำแหน่ง ให้คณะราษฎร ซึ่งมีคณะผู้รักษาพระนคร ฝ่ายทหารเป็นผู้ใช้อำนาจแทน จัดตั้ง ส.ส.ชั่วคราวขึ้นมา 70 นาย"

ช่วงที่2 ภายใน 6 เดือน หรือจนกว่า “การจัดประเทศเป็นปกติเรียบร้อย” (92 ปีผ่านมาบ้านเมืองก็ยังไม่เรียบร้อย) สมาชิกสภาจะต้องมีบุคคล 2 ประเภท ทำกิจกรรมร่วมกัน คือ “ประเภทที่ 1" ให้ราษฎรเลือกผู้แทนขึ้นมาจังหวัดละ 1 คน (เกินแสนคนได้อีก 1 คน ) “ประเภทที่ 2“ ให้สมาชิกในช่วงแรกที่คณะราษฎรแต่งตั้งไว้ เลือกกันเองมีจำนวนเท่ากับ ส.ส.ประเภทที่ 1

ช่วงที่ 3 เมื่อราษฎรทั่วประเทศสอบไล่ได้ชั้นประถมศึกษาเกินครึ่ง และไม่เกิน 10 ปี ให้มีแต่ สส.ที่ราษฎรเลือกเข้ามาทั้งหมด

รัฐธรรมนูญที่ อ.ปรีดีเขียนนั้น เห็นได้ว่ามีเจตนาถ่วงเวลาที่ประชาชนจะต้องมีความรู้ไว้นานถึง 10 ปี ซึ่งก็แสดงว่าคณะราษฎรเอง ก็ทราบดีว่าถ้าประชาชนยังไม่พร้อม ประชาธิปไตยเละแน่ ซึ่งก็ตรงกับเหตุผลที่รัฐกาลที่ 7 ทรงยอมชลอการพระราชทานรัฐธรรมนูญไว้ก่อน แต่ในขณะเดียวกันรัฐธรรมนูญฉบับนี้ก็จะทำให้คณะราษฏร มี ส.ส.เสียงข้างมากอยู่ในสภาตลอดมา จึงอ้างอิงมติของสภา ทำอะไรก็ได้ทุกเรื่อง

อย่างไรก็ตาม อ.ปรีดี ได้พูดถึงเรื่องนี้ในรายงานสภาครั้งที่ 40/2475,ลง 27 พ.ย. 2475 เหมือนกัน ดังนี้ครับ

“การที่มีสมาชิกผสมในสมัยที่ 2 นั้น ไม่ใช่ประสงค์ที่จะหวงอำนาจ ความข้อนี้มีผู้เข้าใจไปต่างๆ สุดแต่เขาจะกล่าวหาว่า ประสงค์จะเป็นดิกเตเตอร์(เผด็จการ) บ้าง อะไรบ้าง ความจริงไม่ใช่เป็นเช่นนั้นเลย การที่เราจำเป็นต้องมีสมาชิกประเภทที่ 2ไว้กึ่งหนึ่ง ก็เพื่อช่วยเหลือ สส.ในขณะนั้นที่เพิ่งเริ่มมีการปกครองแบบรัฐธรรมนูญ เราย่อมทราบอยู่แล้วว่า มีราษฎรอีกเป็นจำนวนมากที่ยังไม่ได้รับการศึกษาเพียงพอที่จะจัดการปกครองป้องกันผลประโยชน์ของตนเองได้บริบูรณ์ ถ้าขืนปล่อยมือให้ราษฎรเลือกผู้แทนโดยลำพังในเวลานี้แล้ว ผลร้ายก็จะตกอยู่กับราษฎรเอง…”

หลังการปฏิวัติ คณะราษฎรไม่ได้รับการยอมรับจากประชาชนมากนัก จึงพยายามหาทางประนีประนอม กับสถาบันฯ ซึ่งคาดเดาได้ 2 ทาง (1)ในทางที่ดี คณะราษฎรเห็นพ้องกับในหลวงรัชกาลที่ 7ว่าประชาชนยังไม่พร้อมจริง ซึ่งกรณีนี้ เป็นแนวคิดของคณะราษฎรสายทหารเกือบทั้งหมด รวมทั้ง อ.ปรีดีด้วย และ (2)ในทางไม่ดี คณะราษฎรเห็นว่าอำนาจของฝ่ายตน ยังไม่มั่นคง เพราะคณะราษฏรในสายทหารส่วนหนึ่งหันกลับมาสนับสนุนการคืนบทบาทใหัพระมหากษัตริย์จึงควรหาทางประนีประนอมชลอเวลาไว้ก่อน

ดังนั้น รัฐธรรมนูญฉบับถาวร จึงมีการประนีประนอม ถวายพระเกียรติแก่องค์พระมหากษัตริย์เพิ่มขึ้น เช่น มีการทำพิธีขอพระราชทานอภัยโทษ ของคณะราษฎรอย่างเต็มรูปแบบขึ้น , รัฐธรรมนูณชั่วคราวของคณะราษฎร ใช้คำว่า “กษัตริย์” เฉยๆแต่ฉบับถาวรใช้คำว่า “พระมหากษัตริย์”, การให้สิทธิคัดค้านของพระมหากษัตริย์ (สิทธิVETO) ถ้าพระองค์ไม่เห็นด้วยกับ พระราชบัญญัติ และ เมื่อครบ 10 ปีแล้ว จะมีการเลือกตั้ง ส.ส.ใหม่ทั้งหมด โดยแบ่ง ส.ส.ออกเป็น 2 ประเภท คือ (1) ส.ส.ประเภทที่ 1 มาจากการเลือกตั้งของราษฎร และ (2) ส.ส.ประเภทที่ 2 มาจากการแต่งตั้งของพระมหากษัตริย์

สรุป การปฎิวัติของคณะราษฎร จึงเป็นการกระทำที่นักวิชาการหลายคนเรียกว่า “ชิงสุกก่อนห่าม” เมื่อประชาชนไม่มีความรู้เกี่ยวกับเรื่องการเมือง ความสับสนวุ่นวายจึงเกิดขึ้นเกือบทุกปี จนกลายเป็นเรื่องที่ผลักดันให้ คณะราษฎร แตกแยกกันอย่างรุนแรง จนต้องแก้ไขปัญหา โดยการ “ใช้อำนาจจากกระบอกปืนแทนอำนาจตามระบอบประชาธิปไตย” เป็นวงล้อหมุนเวียนกันไปมาตลอด 25 ปี ที่สมาชิกคณะราษฎร ครอบครองอำนาจอยู่

ตามข้อเท็จจริงแล้ว คณะราษฎรเป็นเพียงคนกลุ่มหนึ่ง ประมาณ 100 คน

ไม่ใช่องค์กรการต่อสู้เพื่อเรียกร้องอิสรภาพ แบบประเทศเพื่อนบ้านเพราะประเทศไทยเป็นเอกราชเจริญรุ่งเรืองคู่กันมากับญี่ปุ่น จึงทำให้คณะราษฎร มีฐานการสนับสนุนจากประชาชนอย่างจำกัดมาก การเร่งร้อนออกมาจัดตั้งสมาชิกของคณะราษฎรจึงล้มเหลว รวมไปถึงการโหมโฆษณาเรื่องความดีของรัฐธรรมนูญด้วย การเอารถถังไปวิ่งที่ ร.ร.สวนกุหลาบ หรือที่จุฬา การฟ้องร้องกลุ่มเจ้าฯยาวไปถึงองค์ในหลวงรัชกาลที่ 7 ฯลฯ ก็ไม่ได้ช่วยอะไรให้ดีขึ้น เพราะคนไทยชอบอยู่กันอย่างสงบๆสบายๆ ไม่ได้วิตกกังวลว่าจะปกครองระบอบอะไร และไม่ชอบให้ใครมาข่มขู่อีกด้วย ดังนั้นการสูญเสียเวลาไปเกือบ 25 ปีของคณะราษฎร ก็เท่ากับการชลอความก้าวหน้าของประเทศไทยไว้ด้วย

ผมอ่านประวัติศาสตร์ที่ อ.ชาญวิทย์ เขียนไว้ ตั้งแต่มียศร้อยเอก ก็นิยมชมชื่นว่า อ.เป็นนักวิชาการที่ทรงความรู้ แต่ปัจจุบัน เมื่อ 18 พ.ค. 67 นี้ไปอ่านเรื่องที่ อ.ชาญวิทย์ไปพูดไว้ที่ฝรั่งเศส พบว่า ก็อ่อมแอ่มพูดไป ข้ามข้อมูล ที่เป็นเรื่องสมควรจะนำมาพิจารณาในส่วนที่ดีไปแยะ น่าจะเป็น เพราะเกรงใจคนจัด (คุณธนาธร) เรื่องนี้ คงเก็บไว้เขียนถึงในตอนที่ 3 นะครับ ตอนนี้ขอให้ชวนกันไปดูภาพยนต์

“แอนิเมชั่น 2475 รุ่งอรุณแห่งการปฎิวัติ” ตามยูทูปต่างๆกันไปก่อนนะครับ เพื่อประกอบการทบทวนความจริงแบบย่อๆน่ะครับ

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ดร.เสรี ฟาดกีบหลอน! การศึกษาไทยขยายสู่ประชาชนเพราะคณะราษฎร

ดร.เสรี วงษ์มณฑา นักวิชาการด้านการตลาดและการสื่อสาร โพสต์เฟซบุ๊กว่า กีบถูกครอบงำจนหลอนว่าการศึกษาของไทยขยายสู่ประชาช

92 ปีที่ผ่านไป อะไรอะไรไม่เหมือนเดิม สิ่งดีงาม ไม่มีเพิ่ม ความเหิมเกริมคือของจริง

ดร.เสรี วงษ์มณฑา นักวิชาการด้านการตลาดและการสื่อสาร โพสต์เฟซบุ๊กเนื่องในวันครบ 92 ปีเปลี่ยนแปลงการปกครอง มีเนื้อหาดังนี้

'อนาคตไกล' ชี้รัฐประหารมีโอกาสเกิดขึ้นอีก หากบ้านเมืองยังมีนายกรัฐมนตรีหุ่นเชิด

ครบ 92 ปีเปลี่ยนแปลงการปกครองไทย 2475 การเมืองไทยยังวนลูปแย่งชิงอำนาจ “อนาคตไกล” ชี้รัฐประหารมีโอกาสเกิดขึ้นอีก หากบ้านเมืองยังมีนายกรัฐมนตรีหุ่นเชิด

ประเทศไทยจะไปได้ไกลกว่านี้มาก ถ้าไม่มีคณะราษฎร

พล.ท.นันทเดช เมฆสวัสดิ์ อดีตหัวหน้าศูนย์ปฏิบัติการพิเศษ ศูนย์รักษาความปลอดภัยแห่งชาติ (ศรภ.) โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊กเนื่องในวันครบ 92 ปีเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 โดยมีเนื้อหาดังนี้

5 เหตุผล 'เศรษฐา' รอดชั่วคราว

ทำไมคุณเศรษฐา ถึงรอดมาจากเงื้อมมือของศาลรัฐธรรมนูญได้ อย่างฉิวเฉียดขนาดนี้ (5:4) ซึ่งผมคิด แล้วก็เดาเอาเองว่ามันน่าจะมีสาเหตุมาจากหลายๆเรื่