23 มิ.ย.2567-ที่อนุสรณ์สถาน 14 ตุลา ถ.ราชดำเนิน กรุงเทพฯ คณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตย (ครป,) และเครือข่ายภาคประชาชน ได้จัดเวทีแถลงข่าวข้อสังเกตการณ์เลือก สว. 67 ในหัวข้อ “วุฒิสภา-ประชามติ-รัฐธรรมนูญ” นำแถลงโดย นายสมชัย ศรีสุทธิยากร อดีต กกต. นายวีระ สมความคิด ประธานเครือข่ายประชาชนต้านคอรัปชัน และนายเมธา มาสขาว ที่ปรึกษาและรักษาการเลขาธิการคณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตย (ครป.) ร่วมด้วยผู้สมัคร สว.กลุ่มต่างๆ ในระดับจังหวัด
นายเมธากล่าวว่า ประเด็นที่ 1 หลักการได้มาของ สว.ตามรัฐธรรมนูญ 60 กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญและระเบียบที่ กกต.ออกมาไม่สอดคล้องกัน และการเขียนให้ สว.เป็นผู้แทนกลุ่มสาขาอาชีพต่างๆ 20 กลุ่มไม่สามารถหาผู้แทนแต่ละกลุ่มได้อย่างชอบธรรมเพราะเป็นการเลือกไขว้จากสาขาอาชีพอื่น แม้ศาลพิจารณาประเด็นกฎหมายไม่ขัดแต่ระเบียบหลายข้อที่ กกต.ออกมานั้นไม่สอดคล้องกันอย่างชัดเจน ซึ่งกำลังมีการร้องเรียนกันอยู่
ประเด็นที่สอง การเลือก สว.ครั้งนี้ มีการฮั้วกันอย่างชัดเจน โดยกลุ่มแรกคือพรรคการเมืองใหญ่ทางเหนือ ส่งคนลงเพื่อเป็นประธานวุฒิสภา และให้ สส.ระดมกำลังส่งหัวคะแนนลงทุกกลุ่มทุกอำเภอ กลุ่มสองพรรคการเมืองใหญ่ทางอิสานก็ส่งหัวคะแนนลงแทบทุกอำเภอทุกจังหวัด ที่มี สส.อยู่ ซึ่งหลายคนมีประสบการณ์ไม่ตรงกับสาขาอาชีพที่ลง เป็นการส่งคนสมัครโดยขาดเจตจำนงและประสบการณ์ นอกจากนี้ยังพบกว่า กมีการจ่ายเงินให้ลงสมัคร ซึ่งหากต้องส่งคนลงทุกกลุ่มๆ ละ 3 คนๆ ละ 5,000 บาทก็จะใช้เงินเพียงแค่ 3 แสนบาท ถ้าจังหวัดหนึ่งมี 10 อำเภอก็ใช้เงินเพียง 3 ล้านบาทเท่านั้น รวมถึงมีการใช้กลไกมหาดไทย และ อสม.สนับสนุนการเลือก สว.ครั้งนี้ให้เป็นไปตามแผน ดังนั้น ตนเชื่อว่ามีการลงทุนทางการเมืองเพื่อให้ได้มาซึ่ง สว. กลุ่มที่สามคือพรรคทางใต้ มีข้อกล่าวหาว่ามีการพยายามลงทุนจังหวัดละ 8 ล้านบาท ส่วนกลุ่มที่สี่คือกลุ่มอำนาจเก่า และกลุ่มที่ห้าคือกลุ่มอิสระและภาคประชาชนในแต่ละสาขาอาชีพ ซึ่งส่วนใหญ่ถูกปัดตกเพราะไม่มีคะแนนจัดตั้ง
ประเด็นที่สาม ด้วยปัญหาที่กล่าวว่า ปัจจุบันจึงมีการฟ้องร้องดำเนินคดีจำนวนมาก ทั้งร้องต่อ กกต. ร้องต่อผู้ตรวจการแผ่นดิน และฟ้องศาลฎีกาแผนกคดีการเลือกตั้ง ซึ่งเรื่องยังค้างอยู่เพื่อการพิจารณาหลายเคส และสะท้อนความหละหลวมของ กกต. ที่จัดการเลือกที่ขาดประสิทธิภาพ และสะท้อนให้เห็นข้อผิดพลาดของรัฐธรรมนูญ 60 อย่างชัดเจน
“อยากเรียกร้องให้ทุกพรรคการเมืองเร่งผลักดันแก้ไขรัฐธรรมนูญ 60 ให้แล้วเสร็จเพื่อให้ได้ สสร.มาจากการเลือกตั้งเพื่อยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ เพราะประเด็นเรื่อง สว.ได้สะท้อนกับดักอำนาจนิยมที่ถูกเขียนขึ้น และไม่สามารถแก้ปัญหาวัฎจักรการเมืองแบบเก่าได้ และไม่สามารถพัฒนาประชาธิปไตยต่อไปได้ นอกจากนี้การมีเรื่องร้องเรียนจำนวนมากอาจทำให้การเลือก สว.ครั้งนี้เป็นโมฆะได้”
ส่วนนายวีระ กล่าวว่า เจตนารมณ์การเลือก สว.ต้องสุจริต เที่ยงธรรม แต่ กกต.ไม่ได้ทำให้เกิดขึ้นจริงตามนั้น จนเหมือนการเลือก สว.ครั้งนี้ มีธงอยู่แล้วว่าจะจัดการอย่างไร และที่ผ่านมาหลายปีตนคิดว่าพรรคการเมืองเตรียมส่งผู้สมัคร สว. ทุกพรรค เพราะเงื่อนไขต่างๆ เอื้อประโยชน์ให้กับพรรคการเมืองและบ้านใหญ่ ที่ต้องใช้เงินในการส่งผู้สมัคร ดังนั้น โดยภาพรวมแก้ปัญหายากเพราะเขามีธงหมดแล้วและเตรียมการมานาน ผู้สมัครอิสระทั้งหลายจึงถูกหมายหัวและไม่ถูกเลือกเข้าสภาอย่างแน่นอน
ปัญหาที่ร้องเรียนได้มีเพียงแค่เรื่องคนที่มาลงขาดคุณสมบัติร้องได้ และปัญหาการทุจริตที่พบเห็นเป็นรายประเด็น แต่ภาพใหญ่ที่เราพบว่ามีการเตรียมพร้อมส่งคนลงนั้นก็แก้ปัญหายาก และภาคประชาชนเห็นภาพนี้มาตั้งนานแล้ว ขอฝากกกต.ด้วย อยากให้ประชาชนไปดูว่า กกต.ทำตามธงของใครหรือไม่ ตนเชื่อว่ามีธงแน่นอน ธงบอกว่าวันที่ 2 กรกฎาคมนี้ต้องจบ เพื่อยกเลิก สว.ชุดป่ารอยต่อ โดยการส่งอดีตนายกฯ ลดชั้นลงมาเพื่อสมัคร สว. เรื่องนี้ชัดเจน เพื่อกินรวบ สว.ชุดใหม่ทั้งหมด ตัวอย่างที่ชัดเจนคือ การปล่อยให้ตำรวจเลวทำหน้าที่อยู่เพื่อรักษาอำนาจและเพื่อรับใช้อำนาจรัฐบาล ดังนั้น เขาไม่ปล่อยให้พวกเราเข้าไปเป็น สว.เด็ดขาด แต่เราอย่าปล่อยให้ประเทศย่ำเท้าอยู่กับที่
ด้านสมชัย กล่าวว่า เวทีวันนี้เป็นเวทีแถลงข้อเท็จจริงที่ค้นพบระหว่างการเลือกตั้ง เสียดายที่ อ.มีชัย ไม่มาลงสมัครเลือก สว. จะได้รู้ปัญหาข้อเท็จจริงเป็นอย่างไร และไม่ตรงกับเจตนารมณ์ที่ท่านร่างมา ผมมีข้อเสนอ 10 ข้อ
1.วัตถุประสงค์ให้มี สว.แบบนี้ เป็นผู้แทน สว.ตามสาขาอาชีพ 20 กลุ่ม แต่การแบ่งกลุ่ม ไม่ได้สะท้อนสัดส่วนประชากรในประเทศและความสำคัญของกลุ่มอาชีพอย่างแท้จริง
2.การกำหนดเงื่อนไขการรับสมัครอาชีพนั้น ทำโดยระเบียบ กกต.ทำไปโดยอนุโลมและหละหลวม จนเกิดปัญหาในปัจจุบัน เพราะมีการลงสมัครไม่ตรงตามสาขาอาชีพจำนวนมาก และผ่านการเลือกตั้งไป 2 รอบแล้ว บางคนขาดคุณสมบัติมีการตรวจสอบและตกไปแต่ กกต.ยังไม่มีมาตรการเยียวยาการถูกตัดสิทธิ์ดังกล่าว เพราะเสียโอกาสไปแล้ว
3.มีการจ้างคนมาสมัคร เกณฑ์คนมาสมัคร ทุกกลุ่มทั้งระดับอำเภอ และระดับจังหวัด มีการขนคน มีคนเห็นกันทั้งประเทศ แต่ กกต.ไม่เห็น
4.การเลือกในรอบกลุ่มอาชีพเห็นชัดเจนว่ามีการล็อคสเป็คเพื่อเข้ารอบไปในระดับอำเภอ และระดับจังหวัด ในรอบนี้ฮั้วกันได้ ใช้เงินได้ นี่คือปัญหา วันนี้ สว.เลวกว่าทุกระบบแล้ว บัตรใบเดียวมี 2 ช่องตรวจสอบการลงคะแนนได้
5.การออกแบบให้มีการเลือกกันเองในกลุ่ม ทำให้เกิดเกมการเลือก เลือกอย่างไรไม่ให้คนชนะมาเป็นคู่แข่งในรอบไขว้
6.มีพฤติกรรมการแลกคะแนนทั้งจริงและเท็จ ผิดกฎหมายเพราะตีมูลค่าได้ และเป็นการสัญญาว่าจะให้
7.การเลือกในรอบไขว้ ไม่เปิดโอกาสให้มีการจัดวงแนะนำตัวได้ จึงเป็นการเลือกที่ขาดคุณภาพ
8.การไม่รวมหีบบัตรในแต่ละกลุ่มของหีบบัตรในรอบเลือกไขว้ ทำให้การเลือกไม่เป็นความลับ ทำให้ทราบว่าให้เลือกใครบ้าง
9.การร้องเรียนไม่มีผลในรอบต่อไป แต่ไม่มีคำตอบว่าการเลือกที่ผ่านมาที่ไม่ชอบธรรมจะแก้ปัญหาอย่างไร
10.กกต.ยังมีความสม่ำเสมอในการจัดการเลือกตั้งให้เสร็จ แต่ไม่ใช่การเลือกให้ดี กกต.ไม่คิดป้องกันการทุจริต ทั้งที่ใช้งบประมาณไม่น้อย
สุดท้าย มาตรา 107 ตามรัฐธรรมนูญ 60 กำหนดไม่ให้ผู้สมัครในแต่ละกลุ่มเลือกผู้สมัครในกลุ่มเดียวกัน หรือจะกำหนดให้มีการคัดกรองผู้สมัครรับเลือกด้วยวิธีอื่นใดก็ใดที่ผู้สมัครมีส่วนร่วมก็ได้ ในหลักการเหตุผลหมายความว่าการกำหนดในรัฐธรรมนูญบอกให้หาวิธีแก้ปัญหาการฮั้ว จึงต้องออกแบบให้ไม่ให้มีการเลือกกลุ่มเดียวกันที่เป็นปัญหาดังกล่าว แต่ กกต.ไม่ได้จัดการเพื่อแก้ปัญหานี้แต่อย่างใด
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'วรงค์' มึน 'กกต.' ปล่อยผู้ถูกตัดสิทธิ์ทางการเมือง มีบทบาทเหนือหัวหน้าพรรค
นพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม ประธานพรรคไทยภักดี โพสต์เฟซบุ๊กว่า “ผมรู้สึกมึนกับกกต. ที่ปล่อยให้ผู้ถูกตัดสิทธิ์ทา
'อิ๊งค์' ยัน ทักษิณ-เพื่อไทย หาเสียงเลือกตั้งอบจ. เป็นไปตามกฎหมาย
ที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตร.) น.ส. แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ในฐานะหัวหน้
ประธาน กกต. ไม่ฟังธง 'ทักษิณ' ช่วยหาเสียงชูนโยบายรัฐบาลเกินอำนาจ อบจ. ผิดหรือไม่
"อิทธิพร" เผยบัตรเลือกตั้งอบจ. เตรียมส่งถึงทั่วประเทศ เตือนผู้สมัคร หลีกเลี่ยงให้เงินแตะเอีย-สิ่งของในช่วงตรุษจีน
หนาว! คำร้องยุบพรรคเพื่อไทย อยู่ระหว่างรวบรวมข้อเท็จจริง
นายอิทธิพร บุญประคอง ประธานคณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.) กล่าวถึงคำร้องยุบ 6 พรรคการเมืองว่
ดร.เสรี ซูฮก ‘ทักษิณ’ ใหญ่จริงๆไม่มีใครกล้าทำอะไร
ดร.เสรี วงษ์มณฑา นักวิชาการด้านการตลาดและการสื่อสาร โพสต์เฟซบุ๊กว่าฟังปร
เลขาฯกกต. ลั่นสนามเลือกตั้ง อบจ. ไม่มีเจ้าพ่อ กติกาไม่ดีอย่าโทษกรรมการ ต้องไปแก้กฎหมาย
นายแสวง บุญมี เลขาธิการ กกต. กล่าวตอนหนึ่งของการเสวนา “ความสำคัญของการเลือกตั้งองค์การบริหารส่วนจังหวัด” ว่า กกต.มีหน้าที่ในการจัดการเลือดตั้งให้ออกมาดี