'วิรุตม์' ชี้ผลสอบความขัดแย้ง 'ต่อ-โจ๊ก' เสียเวลาประชาชน ต้นเหตุ 'กฤษฎีกา' เข้าใจผิด

'วิรุตม์' บอก ผลสอบความขัดแย้ง 'ต่อ- โจ๊ก' เป็นไปตามคาด เสียเวลาประชาชน ชี้ปัญหาเกิดจากความเข้าใจผิดของกฤษฎีกา ตั้งข้อสังเกตคำสั่งให้ 'สุรเชษฐ์' ออกราชการต้องรอกก.สอบสวนวินัย ยันเป็นไปตาม ม. 131การอ้างม.120 ไม่ถูกต้อง

21 มิ.ย. 2567 - พ.ต.อ.วิรุตม์ ศิริสวัสดิบุตร เลขาธิการสถาบันเพื่อการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม (สป.ยธ.) กล่าวถึงกรณีนายวิษณุ เครืองาม ที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรี แถลงผลการสอบสวนของคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายกรณีปรากฏเป็นข่าวต่อสาธารณะเกี่ยวกับความขัดแย้งในเรื่องคดีของบุคลากรภายในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ(ตร.) ระหว่างพล.ต.อ.ศักดิ์ สุขวิมล กับ พล.ต.ท.สุรเชษฐ์ หักพาล สรุปว่า มีความขัดแย้งกันจริงในหลายระดับมานาน และนายกรัฐมนตรี ได้ส่งตัวพล.ต.อ.ต่อศักดิ์ กลับไปปฏิบัติหน้าที่ ผบ.ตร.ตามเดิม เพราะไม่มีอะไรจะสอบสวนต่อแล้วนั้น ว่า การสรุปผลการสอบสวนดังกล่าวเหมือนใช้กำปั้นทุบดิน เพราะที่ไหนที่ไหนก็มีความขัดแย้งกันทั้งนั้น ถ้าสรุปแค่นี้ก็ไม่จำเป็นต้องตั้งกรรมการสอบข้อเท็จจริงให้เสียเวลา และไม่สามารถตอบคำถามประชาชนได้ว่า นายกฯ ตั้งขึ้นมาทำไม ถ้าต้องการคำตอบเพียงเท่านี้ เสียสมอง เสียเวลาประชาชน

พ.ต.อ.วิรุตม์ กล่าวว่า ปัญหาทั้งปวงเกิดจากความเข้าใจผิดของคณะกรรมกฤษฎีกาในการไปตั้งข้อสังเกตเรื่องการที่ รรท.ผบ.ตร.สั่งให้ พล.ต.ท.สุรเชษฐ์ ออกจากราชการไว้ก่อน ว่ากระบวนการยังไม่สมบูรณ์ในการนำขึ้นทูลเกล้าฯ เพราะจะต้องรอให้คณะกรรมการสอบสวนทางวินัยเสนอความเห็นก่อน

"แต่แท้จริง การสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อนกรณีดังกล่าว เนื่องจาก พล.ต.ท.สุรเชษฐ์ ตกเป็นผู้ต้องหาคดีอาญาร้ายแรง เป็นไปตาม พ.ร.บ.ตำรวจ มาตรา 131 และมีตำรวจอีก 4 คนที่ถูกสั่งให้ออกไว้ก่อนไปแล้วในคำสั่งเดียวกันที่ผู้บังคับบัญชาสามารถสั่งได้ ถือเป็นกระบวนการทางปกครองเพื่อป้องกันมิให้เกิดความเสียหายต่อทางราชการระหว่างรอผลการสอบสวนความผิดทางวินัยที่จะต้องสั่งลงโทษไล่ออกหรือปลดออก"

พ.ต.อ.วิรุตม์ กล่าวอีกว่า การอ้างมาตรา 120 ว่าจะต้องให้คณะกรรมการสอบสวนเสนอความเห็นก่อนและจะกระทำการใดที่กระทบสิทธิประโยชน์ของผู้ถูกสอบสวน เป็นเรื่องไม่ถูกต้อง เพราะนั่นเป็นกรณีทำผิดวินัยร้ายแรงโดยไม่ได้ตกเป็นผู้ต้องหาคดีอาญาอะไร เช่นท้าตีท้าต่อยผู้บังคับบัญชา หรือว่าทำให้ทรัพย์สินราชการเสียหายร้ายแรง ฯลฯ จะต้องตั้งกรรมการสอบสวนทางวินัยเสนอความเห็นก่อน

ส่วนกรณีตำรวจกระทำความผิดทางอาญาร้ายแรงจนถึงขั้นถูกแจ้งข้อหาหรือศาลออกหมายจับ ถือว่าผ่านการสอบสวนตาม ป.วิ อาญา และมีพยานหลักฐานน่าเชื่อว่ากระทำความผิดระดับหนึ่งแล้ว มาตรา 131 จึงบัญญัติไว้ให้ผู้บังคับบัญชาแต่ละระดับมีอำนาจสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อนได้ เพื่อป้องกันมิให้เกิดความเสียหายต่อราชการ หรือมีการใช้อำนาจในตำแหน่งหน้าที่ไปในทางมิชอบเป็นการชั่วคราวระหว่างรอผลการสอบสวนทางวินัยสั่งไล่ออก หรือปลดออกจากราชการ

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'วิษณุ' แถลงผลสอบศึกสีกากีให้คืนเก้าอี้ 'บิ๊กต่อ' เผย 'บิ๊กโจ๊ก' มีสิทธิ์คั่ว ผบ.ตร.

'วิษณุ' แถลงผลสอบ 2 บิ๊กตำรวจ ส่ง 'ต่อศักดิ์' กลับ สตช. ชี้คำสั่งเขี่ย 'บิ๊กโจ๊ก' ออกจากราชการไม่ถูกต้อง ขณะนี้ยังไม่ได้นำขึ้นทูลเกล้าฯ ชี้ศึกกรมปทุมวันสงบลงแต่ไม่ร้อยเปอร์เซ็นต์ เชื่อหลัง 'บิ๊กต่อ' เกษียณทุกอย่างเบาลง

อึ้ง! เศรษฐาบอกหลังแถลงผลสอบ 2 บิ๊กตำรวจยังไม่แน่ใจศึกสีกากีจบ

นายกฯรับไม่แน่ใจปัญหาศึกสีกากีจบหรือไม่ หลังแถลงผลสอบ 2 บิ๊กตำรวจ ไม่ขอคอมเมนต์หลังเอกสารผลสอบหลุด พลิ้วยังไม่ได้ลงนาม

'เฉลิม อยู่วิทยา' ฟ้องเรียก 50 ล้าน 'วิรุตม์' กับพวกกล่าวหาจ่าย 300 ล้านวิ่งเต้นคดีบอส

นายอำพล แก้วปาน ทนายความผู้รับมอบอำนาจ นายเฉลิม อยู่วิทยา นักธุรกิจชาวไทย เจ้าของธุรกิจกระทิงแดง และผู้ร่วมก่อตั้งเรดบูล เดินทางมา เป็นโจทก์ยื่นฟ้อง บริษัท สืบจากข่าว จำกัด ,นายอภิภู พัฒนจันท์ นายสุวิทย์ บุตรพริ้ง