'ผอ.iLaw' คิดผิด ที่เคยคิดว่าระบบเลือกสว.ทำให้การจัดตั้งจาก 'บ้านใหญ่' ไม่ง่าย

21 มิ.ย. 2567 - นายยิ่งชีพ อัชฌานนท์ ผู้อำนวยการ iLaw หรือ โครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน โพสต์เฟซบุ๊ก ระบุว่า

เคยคิดว่าระบบการเลือก #สว67 ทำให้การจัดตั้งจากบ้านใหญ่นั้นไม่ได้ง่ายขนาดนั้น แต่วันนี้คิดว่าคิดผิด

ตามระบบที่มีอยู่ คือ ต้องเลือกอำเภอ จังหวัด ประเทศ ต้องจับสลากแบ่งสาย ด้วยความเข้าใจเดิมก็คือ การจัดตั้งโดยผู้มีอิทธิพลสามารถทำได้เพียงแค่ระดับอำเภอเท่านั้น เพราะถ้า "จ้าง" Voter ไปลงสมัครในอำเภออื่นเพื่อจะให้เข้ารอบมาโหวตกันระดับจังหวัด คนถูกจ้างไม่ได้ตั้งใจหาคะแนนก็น่าจะไม่ผ่านระดับอำเภอมาได้ง่าย แต่ในความเป็นจริง คือ คนสมัครน้อยมาก ในอำเภอเล็กๆ ใครสมัครก็แทบจะเข้ารอบได้หมดเลย ถ้าคนมีอิทธิพลลงสมัครอำเภอเมือง แล้วจ้างคนไปสมัครอำเภออื่นๆ อำเภอละ 20 คน พวกเขาก็เลือกกันเองในคนเหล่านี้แหละ และเมื่อคู่แข่งน้อยมากก็แทบจะเข้ารอบมาได้อำเภอละ 15 คน เมื่อมารวมกันระดับจังหวัดก็สบายเลย

ความเข้าใจเดิม คือ บ้านใหญ่แต่ละบ้านก็ส่งคนลงสมัครและเข้ารอบมาได้จำนวนหนึ่ง และอย่างมากก็นอนมาในระดับจังหวัด แต่พอไประดับประเทศก็ต้องไปตัดกันกับบ้านใหญ่อื่นๆ อยู่ดี ไม่สามารถรับประกันได้ว่าจะได้เป็นสว. หรือเปล่า แต่ในความเป็นจริงบ้านใหญ่ใช้วิธี "เหมาจังหวัด" กล่าวคือ เวลาส่งคนไปลงตามอำเภอต่างๆ ไม่ได้มีเป้าหมายให้มาเลือกตัวเองคนเดียว หรือสองคน แต่มีเป้าหมายให้มาเลือกทีมตัวเองทั้ง 40 คน แล้วเดินเข้าจากบ้านเดียวกันทั้งจังหวัด

ความเข้าใจเดิม คือ บ้านใหญ่แต่ละจังหวัดจะมีคนของตัวเองมาจากจังหวัด แต่พอมาถึงระดับประเทศแล้วคุมเสียงไม่ได้ แต่ในความเป็นจริง คือ เมื่อเหมา 40 คนทั้งจังหวัดได้แล้ว ก็ไปจับมือกันกับบ้านใหญ่บ้านอื่นที่เหมาจังหวัดของตัวเองมา ถ้าสัก 5 บ้านจาก 5 จังหวัดจับมือกันได้ ก็ได้อย่างน้อย 200 เสียงในมือ คราวนี้ก็ง่ายมากที่เขาจะไล่โทรไปหาผู้สมัครอิสระอื่นๆ แล้ว "ขู่" ให้มาเป็นพวกตัวเองเพราะมีแล้ว 200 เสียงในมือ ถ้าไม่มาก็ไม่มีทางได้คะแนน แต่ต้องมาร่วมมือกันเท่านั้นถึงยังมีโอกาสรอดในสนามระดับประเทศ ถ้าเริ่มขู่ใครได้ กลุ่มเสียงในมือก็จะโตขึ้นๆๆ
และช่วงเวลา 4-5 วันนี้เขาก็จะไล่โทร ไล่ขู่ ไล่คุยไปเรื่อยๆ

ความเข้าใจเดิม คือ มันไม่ได้ทำง่ายขนาดนั้น แต่เมื่อจำนวนบ้านใหญ่ที่ลงสนามนี้มีไม่มาก อาจจะเพราะไม่เห็นความสำคัญและจำนวนผู้สมัครอิสระมีกระจุกตัวในเมือง มีน้อยเกินไปในอำเภอขนาดเล็ก การพยายามใช้อิทธิพลเข้าแทรกแซงการเลือกสว. ในระดับประเทศ ก็จึงกลายเป็นเรื่อง "ไม่ได้ยากขนาดนั้น" ระบบที่มีชัยวางไว้เพื่อป้องกันการเมืองบ้านใหญ่กำลังจะพังให้เห็น

แต่วันนี้ยังประเมินไม่ออกว่าบ้านหลังไหนจับมือกันได้บ้าง เพราะสุดท้ายมันจะมีคนได้เป็นสว. แค่ 200 คนเท่านั้น ถ้าบ้านหลายหลังตกลงโควต้าสุดท้ายกันไม่ได้ ก็ยังไม่มีความแน่นอน แต่จะรู้ผลกันอีกไม่นานในวันที่ 26 นี้เอง

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

‘ดิเรกฤทธิ์’ เหนื่อยใจ ‘กกต.’ ทำมึนไม่ฟังเสียงทักท้วง ฮั้วเลือก สว.

กกต.ทำมึน มองไม่เห็นข้อบกพร่องตนเอง สุดท้ายตรวจอะไรไม่ได้ หาคนผิดไม่เจอ สามารถประกาศรายชื่อ สว.200 คน  ได้ตามเป้าหมายโดยสมบูรณ์

กกต.อย่าลอยตัว! 'กล้าณรงค์' แนะใช้ ม.59 จัดการ สว.ใหม่ ก่อนประกาศผล

นายกล้าณรงค์ จันทิก สว.ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการกิจการองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ วุฒิสภา ได้ทำหนังสือ เรื่องข้อเสนอแนะเพื่อประกอบการพิจารณาของคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.)

'อนุทิน' ปัดพัลวัน 'สว.สีน้ำเงิน' โอดโดนให้ร้าย 'บิ๊กเกรียง' แค่เพื่อน พี่เนวินยังตกรอบ

'อนุทิน' พ้อโดนให้ร้ายอยู่เรื่อย หลัง สว.หลายคนโยง 'ภูมิใจไทย' ยันพรรคการเมืองยุ่งเกี่ยวไม่ได้ รับ 'บิ๊กเกรียง' คือเพื่อน ยันไม่รู้จักคนขับรถ 'ปู่ชัย'

หัวหน้าก้าวไกล พูดเต็มปาก สว.ส่วนใหญ่เอี่ยวนักการเมือง แต่ยังไม่แน่ชัดใครฝ่ายประชาธิปไตย

นายชัยธวัช ตุลาธน สส.บัญชีรายชื่อ และหัวหน้าพรรคก้าวไกล กล่าวถึงรายชื่อ 200 สว. หลังจากการเลือกระดับประเทศวานนี้ (26 มิ.ย.) ว่า จากที่ติดตามมีข้อสังเกตว่าสว.ส่วนใหญ่อาจจะเข้าไปเชื่อมโยงกับนักการเมือง

'เศรษฐา' รีบปัดปมเลือก สว.บอกไม่รู้ขั้นตอน-ไม่ก้าวก่าย

นายกฯ ไม่ขอก้าวก่ายผลเลือก สว.หลังกลุ่มบ้านใหญ่ผ่านเพียบ บอกเป็นไปตามกลไกการตรวจสอบ หากมีการร้องเรียนในอนาคต - เชื่อระบบถูกคิดมาดีแล้ว

สายฮั้วหนาว! กกต. เก็บหลักฐานผู้สมัคร สว. รวมตัว 20 โรงแรม ส่อผิดกฎหมาย

นายแสวง บุญมี เลขาธิการคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ในฐานะผู้อำนวยการการเลือกสมาชิกวุฒิสภา (สว.) ระดับประเทศแถลงข่าวภายหลังจาการเลือกสว.รอบแรก แล้วเสร็จ