19 มิ.ย.2567 - นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา อดีตหัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย โพสต์เฟซบุ๊กระบุว่า เชิญทุกท่านมาร่วมกับคุณหมออรรถพล สุคนธาภิรมย์ ณ พัทลุง ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา และ นพ.มนตรี เศรษฐบุตร ยื่นหนังสือถึง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขฯพณฯท่าน สมศักดิ์ เทพสุทิน วันพุธที่ 19 มิถุนายน 2567 ณ รัฐสภา ศาลาแก้ว ชั้น 1 จุดรับยื่นหนังสือ เจอกัน 9.30 น. พร้อมยื่นหนังสือ 10.00 น. ใส่ชุดสุภาพ
รวมพลังรวมใจไปด้วยกันกับกลุ่มแพทย์และจิตอาสาคนไทยพิทักษ์สิทธิ์ ผู้ป่วย และญาติของผู้ที่ได้รับผลกระทบจากวัคซีน รวมทั้งเครือข่ายพันธมิตร สมาพันธ์เครือข่ายชาวนาแห่งประเทศไทย, ตัวแทนสภาทนายความแห่งประเทศไทย, ตัวแทนสมาคมแพทย์ทางร่วมนานาชาติ และสมาคมแพทย์แผนไทย นำยื่นหนังสือ เรื่อง ขอให้สอบสวนการกระทำผิดสัญญาของบริษัทไฟเซอร์
สิ่งที่ส่งมาด้วย ตามรายละเอียดในเอกสารแนบท้าย
ตามที่มีการระบาดของโรคโควิด 19 ขึ้นในประเทศไทยและประเทศต่างๆทั่วโลก หนึ่งในมาตรการแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดของโรค คือ การรณรงค์ให้ฉีดวัคซีนป้องกันโรคดังกล่าว อย่างไรก็ดีจากความเร่งรีบในการจัดหาวัคซีนทำให้บริษัทยามีอำนาจในการต่อรองมากกว่ารัฐบาลต่างๆทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทย โดยหนึ่งในเงื่อนไขสำคัญที่บริษัทไฟเซอร์เรียกร้อง คือ การยกเว้นไม่ให้บริษัทต้องรับผิดชอบใดๆ หากผู้ที่ฉีดวัคซีนเกิดผลข้างเคียงขึ้น เงื่อนไขดังกล่าวส่งผลให้บางประเทศอาทิ อินเดีย ไม่ยินดีที่จะทำสัญญากับบริษัทไฟเซอร์ อย่างไรก็ดีภายหลังจากการรณรงค์ฉีดวัคซีนไฟเซอร์เป็นจำนวนมากได้ก่อให้เกิดผลข้างเคียงมากมาย โดยพบการเสียชีวิตที่เพิ่มขึ้นอย่างผิดปกติภายหลังการฉีด จนก่อให้เกิดการฟ้องร้องให้มีการเปิดเผยเอกสารการวิจัยเพื่อทดสอบประสิทธิภาพและความปลอดภัยของวัคซีนไฟเซอร์ ตลอดจนเอกสารสัญญาที่บริษัทไฟเซอร์ทำไว้กับรัฐบาลต่างๆ จนปรากฏข้อเท็จจริงว่า บริษัทไฟเซอร์ จงใจให้ข้อมูลเท็จในการขออนุญาตผลิตภัณฑ์วัคซีนของตน การให้ข้อมูลเท็จดังกล่าวเป็นผลให้รัฐบาลที่เป็นคู่สัญญาสามารถฟ้องร้องเอาผิดกับบริษัทได้
สำหรับประเทศไทยนั้นมีความพยายามกดดันให้รัฐบาลจัดหา “วัคซีนเทพ” โดยพบว่าเมื่อมีการรณรงค์ฉีดวัคซีนไฟเซอร์ โดยเฉพาะในเข็มบูสเตอร์ กลับไม่สามารถป้องกันการแพร่ระบาดของโรคได้ และก่อให้เกิดผลข้างเคียงทั้งในระยะสั้นและระยะยาวมากมาย ส่งผลให้รัฐบาลต้องรับภาระค่าใช้จ่ายในการจ่ายค่าชดเชย และค่าดูแลรักษาผลข้างเคียงดังกล่าวแทนบริษัทไฟเซอร์เป็นจำนวนมาก อีกทั้งยังก่อให้เกิดผลกระทบทางสังคมและเศรษฐกิจกับประชาชนผู้เดือดร้อนทั่วประเทศ
การสอบสวนการกระทำผิดสัญญาของบริษัทไฟเซอร์ในการจัดหาวัคซีนโควิด 19 ให้กับรัฐบาลไทย จึงเป็นการดำเนินการที่ทำให้บริษัทไฟเซอร์รับผิดชอบในผลกระทบจากวัคซีนของบริษัทและลดภาระงบประมาณของรัฐบาลลง อีกทั้งยังเป็นการช่วยเหลือให้ประชาชนผู้บริโภคที่เดือดร้อนจากผลข้างเคียงดังกล่าวได้รับการดูแลแก้ไขปัญหาอย่างเป็นรูปธรรมด้วย
จึงเรียนมาเพื่อขอให้ท่านพิจารณาดำเนินการสอบสวนการกระทำผิดสัญญาของบริษัทไฟเซอร์ด้วยจักเป็นพระคุณ
อนึ่งทางกลุ่มแพทย์และจิตอาสาคนไทยพิทักษ์สิทธิ์ยินดีที่จะให้ข้อเท็จจริง เอกสารวิชาการ ตลอดจนหลักฐานต่างๆ ทั้งจากแหล่งข้อมูลภายในประเทศ และจากภายนอกประเทศเพื่อประกอบการสอบสวนดังกล่าว
กลุ่มแพทย์และจิตอาสาคนไทยพิทักษ์สิทธิ์
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'สมศักดิ์' เสียใจผู้ป่วยเสียชีวิตใน รพ. กันทรลักษ์
'สมศักดิ์' เสียใจปมผู้ป่วยเสียชีวิตใน รพ.กันทรลักษ์ ยอมรับ จนท.ดูแลผู้ป่วยจิตเวชขาดทักษะ-ไม่เพียงพอพร้อมสั่ง สธ.ชดเชยค่าเสียหาย
โควิดรายสัปดาห์ ป่วยนอนโรงพยาบาล 557 ราย ไม่มีผู้เสียชีวิต
ยอดผู้ติดเชื้อโควิด-19 รายสัปดาห์ ระหว่างวันที่ 1 - 7 ธันวาคม 2567 ผู้ป่วยรักษาตัวในโรงพยาบาล (รายสัปดาห์)
'สมศักดิ์' ชวนสักการะพระเขี้ยวแก้วเพื่อความรุ่งเรือง
'สมศักดิ์' ชวนประชาชนสักการะพระเขี้ยวแก้วเพื่อความรุ่งเรือง พร้อมรณรงค์ กินลดคาร์บป้องกันโรค NCDs เดินตามแนวพระพุทธเจ้า
'หมอยง' ช้ำถูกวิกิพีเดียใส่ข้อมูลเท็จซ้ำเข้าไปแก้ไขไม่ได้
ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ ราชบัณฑิต สำนักวิทยาศาสตร์ ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยา
‘หมอยง’ สะท้อนความรู้สึกโควิด-19 ปีที่ 2 'ยุ่งเหยิง-ดราม่าวัคซีน-เซียนคีย์บอร์ด'
หลังการระบาดใหญ่ทั่วโลก ในปีแรก ทุกคนมุ่งหวัง ที่จะยุติการระบาดด้วยวัคซีน จึงมีการผลิตคิดค้นวัคซีนกันมากมาย มากกว่า 10 platform
'หมอยง' หวนระลึกโควิด19 ปีที่สองของการระบาด!
ศ.นพ.ยง ภู่รวรรณ ราชบัณฑิต สำนักวิทยาศาสตร์