14 มิ.ย.2567 - นายสมชัย ศรีสุทธิยากร อดีตกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.)ผู้ผ่านการเลือกส.ว.ระดับอำเภอ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า
กลเกมของการล่าหาคะแนน
โค้งสุดท้ายก่อนวันเลือกระดับจังหวัด สารพัดวิชาถูกงัดออกมาใช้ ดังตัวอย่างต่อไปนี้
1. ด้อยค่า : เริ่มต้นด้วยคำพูดว่า คุณมาสมัครคนเดียวแบบนี้ ไปไม่ถึงไหนหรอก ต้องมีกลุ่มมีพวก
2. ชวนร่วม : มาร่วมเป็นกลุ่มกับเราไหม ตอนนี้ เรามีจำนวน …. คนแล้ว ช่วยให้ถึงฝั่งฝันได้
3. ชี้เป้า : อีกฝ่ายเขามาแรงมาก พวกเราบางคนต้องโหวตแบบเสียสละ ส่งเสริมให้คนที่มีโอกาสไป ดีกว่าตายหมู่
4. เสนองาน : ไม่ต้องห่วงหรอก ถ้า…..ได้เป็น สว. ไม่ลืมพวกเราแน่ มีตำแหน่งที่ปรึกษา ตำแหน่งผู้ช่วย สว. มีเงินเดือนให้
5. เสนอประโยชน์ : กลุ่มเรามีท่าน ……. เป็นสปอนเซอร์ วันนี้ยังช่วยสนับสนุนออกหน้าไม่ได้ เดี๋ยว กกต. เล่นงาน ช่วยกันโหวตให้ ….. ก่อน หลังเลือก เรามีสมนาคุณ
เจอแบบนี้ รับปากส่งเดชไปได้เลย เพราะ กกต.เพิ่งเปลี่ยนรูปแบบการนับคะแนน ในรอบเลือกไขว้ โดยเทบัตรรวมทุกหีบในสายเป็นหีบเดียวก่อนนับคะแนน พี่แกไม่มีทางรู้หลอกว่าเราเลือกแกหรือเปล่า
แสบมา ก็แสบกลับ เลือกอย่างเป็นอิสระ มีเหตุผล ให้ได้ สว. ที่ไม่ขายตัวหรือเป็นกลุ่มก๊วนของใคร
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
เชื่อแล้ว 'ทักษิณ' ป่วยจริง ปราศรัยจะส่งกำลังไปจัดการแก๊งคอลเซ็นเตอร์ในเมียนมา-กัมพูชา
นายสมชัย ศรีสุทธิยากร อดีตกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) โพสต์เฟซบุ๊ก ถึงกรณีนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ปราศรัยหาเสียงช่วยผู้สมัคร นายก อบจ.เชียงใหม่ พรรคเพื่อไทย ตอนหนึ่ง ว่า
วิเคราะห์การปราศรัยของ 'ทักษิณ' ต่ำกว่ามาตรฐาน อาจมีเรื่องอึดอัดใจมากเป็นพิเศษ
นายสมชัย ศรีสุทธิยากร อดีตกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) โพสต์เฟซบุ๊ก กรณีนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกฯ ปราศรัยหาเสียงช่วยผู้สมัคร นายก อบจ.เชียงใหม่ สังกัดพรรคเพื่อไทย ว่า
'สมชัย' บอกรู้ทันแจกเงินหมื่นชี้หมิ่นเหม่ตกเขียวเลือกตั้ง อบจ.
นายสมชัย ศรีสุทธิยากร อดีตคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.)
'สมชัย' วิเคราะห์ 5 ประเด็น MOU44ควรเดินหน้าต่อหรือไม่
นายสมชัย ศรีสุทธิยากร อดีตคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.)
'สมชัย' ข้องใจนายกฯ จบรัฐศาสตร์ จุฬาฯ จริงหรือหลังแถลงปม MOU 2544
นายสมชัย ศรีสุทธิยากร อดีตคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.)
สมชัย แนะ 5 ทางออก อย่ากลัวหาก ‘สว.’ จะแก้ กม.ประชามติ จากร่างเดิม ‘สส.’
ประเด็นที่หวาดหวั่นกันคือ การแก้กลับไปใช้เกณฑ์เสียงข้างมาก 2 ชั้น (double majority) สำหรับการทำประชามติเรื่องสำคัญ เช่น แก้รัฐธรรมนูญ ว่า ชั้นที่ 1 ต้องมีผู้มาใช้สิทธิเกินครึ่ง และชั้นที่สอง มติที่ชนะก็ต้องเกินครึ่งของผู้มาใช้สิทธิ