คณะอนุฯกมธ.นิรโทษกรรม แจงไม่ปัดตกฉบับล้างผิดคดี 112 หลังแพ้โหวตเว็บรัฐสภา

ประธาน คณะอนุ กมธ.นิรโทษกรรม มอง ประธาน คกก.นิรโทษฯ ควรเป็นบทบาทฝ่ายนิติบัญญัติ รอ กมธ.วิสามัญฯ เคาะวันนี้ แจงไม่ปัดตก พ.ร.บ.ฉบับประชาชน โยน เป็นเอกสิทธิ์สภา

13 มิ.ย.2567 - ที่รัฐสภา รศ.ดร.ยุทธพร อิสรชัย อาจารย์ประจำสาขาวิชารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ในฐานะประธานคณะอนุกรรมาธิการ (กมธ.) ศึกษาและจำแนกการกระทำเพื่อประกอบการพิจารณาแนวทางการตราพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) นิรโทษกรรม ให้สัมภาษณ์ก่อนการประชุม กมธ.วิสามัญพิจารณาศึกษาแนวทางการตรา พ.ร.บ.นิรโทษกรรม สภาผู้แทนราษฎร ถึงความเห็นของ คณะอนุ กมธ.ฯ ที่ต้องการให้คณะการนิรโทษกรรมควรเป็นบทบาทของฝ่ายนิติบัญญัติ ว่า เราเคยได้เสนอเป็นตัวแบบสองทางเลือก คือ 1.ให้เป็นอำนาจของฝ่ายบริหาร โดยให้นายกรัฐมนตรีเป็นประธานคณะกรรมการฯ 2.ให้ประธานสภาผู้แทนเป็นประธานคณะกรรมการฯ และประธานวุฒิสภาเป็นรองประธานคณะกรรมการฯ

แต่ กมธ.วิสามัญฯ ก็มีความเห็นที่หลากหลาย ท้ายที่สุด เราจึงมีการปรับเปลี่ยน และให้น้ำหนักยังคงเป็นของฝ่ายนิติบัญญัติเป็นหลักในการมีบทบาทนำ โดยให้ประธานสภาเป็นประธานคณะกรรมการฯ และนายกรัฐมนตรีหรือรองนายกรัฐมนตรีที่ได้รับมอบหมายเป็นรองประธานคณะกรรมการฯ

โดยมีเหตุผล 3 ประการ คือ 1.ฝ่ายนิติบัญญัติถือว่าเป็นอำนาจที่ใกล้ชิดประชาชนมากที่สุด เพราะมาจากการเลือกตั้ง 2.อำนาจนิติบัญญัติ ประกอบไปด้วยพรรคการเมืองที่หลากหลายในสภา จึงมีความเป็นกลางและได้รับการยอมรับจากสังคมมากกว่าฝ่ายบริหาร

และ 3.กลไกตรวจสอบและติดตามกระบวนการทำงานของ กมธ.วิสามัญฯ ซึ่งเราได้เสนอไป 2 กลไก คือ กลไกตรวจสอบเชิงประสิทธิภาพ ซึ่งเสนอให้คณะกรรมการฯ ต้องมีเป้าหมายในการทำงาน ทุก 6 เดือน และเสนอต่อสภา เพื่อพิจารณา ซึ่งเมื่อมีการรายงานแล้ว ไม่บรรลุเป้าหมายที่วางไว้ จะต้องมีการจัดทำรายงานชี้แจงต่อสภา และมีการเปิดเผยต่อสาธารณะด้วย และกลไกตรวจสอบความโปร่งใส เสนอให้ สส.ไม่น้อยกว่า 1 ใน 10 หรือประชาชน ไม่น้อยกว่า 1,000 คน สามารถเข้าชื่อได้ หากพบว่ามีความไม่โปร่งใสเกิดขึ้น และจะต้องมีการจัดทำรายงานสอบสวนสืบสวนข้อเท็จจริงโดยสภา เพื่อเปิดเผยต่อสาธารณะ จึงต้องอาศัยกลไกของฝ่ายนิติบัญญัติในการตรวจสอบคณะกรรมการฯ ชุดนี้

ในการประชุมวันนี้ จะมีการสรุปข้อเสนอทั้ง 7 ข้อที่คณะอนุ กมธ.ฯ เสนอไป แต่ใน กมธ.ชุดใหญ่ ต้องพิจารณาในประเด็นต่างๆ ว่าจะต้องเดินหน้าต่อไปอย่างไร เนื่องจากเมื่อสัปดาห์ที่แล้วมีการเห็นชอบไปเพียง 3 เรื่อง ส่วนตัวคิดว่า กมธ.ชุดใหญ่จะรับทั้งหมด แต่จะฟังทั้งหมดหรือไม่ ขึ้นอยู่กับ กมธ.วิสามัญฯ

สำหรับกรณีเว็บไซต์ของรัฐสภา เปิดรับฟังความคิดเห็นต่อร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมฉบับภาคประชาชน ซึ่งผลปรากฏว่ามีผู้ไม่เห็นด้วยมากกว่า ทาง กมธ. จะปัดตกร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้ หรือไม่ รศ.ดร.ยุทธพร กล่าวว่า ทั้งร่างของประชาชนและร่างของพรรคการเมือง เป็นเอกสิทธิ์ของสภา

ดังนั้น กมธ.วิสามัญฯ ไม่มีอำนาจไปปัดตกใดๆ ทั้งสิ้น แต่หาก กมธ.วิสามัญฯ มีข้อเสนอ ก็จะถูกหยิบจับไปเสนอต่อสภา ซึ่งสภาก็มีเอกสิทธิ์ที่จะฟังข้อเสนอหรือไม่ก็ได้ จะฟังทั้งหมด หรือจะฟังแค่เพียงบางส่วนไปใช้ เพื่อไปผนวกกับร่างกฎหมายก็ได้ โดยร่างทั้งหมดที่ถูกเสนอเข้าสภาขณะนี้ สภาก็มีเอกสิทธิ์ที่จะนำร่างทั้งหมดมารวมกันทั้งหมด หรือจะไม่เอาร่างกฎหมายใดมาเลย แล้วยกร่างทั้งฉบับก็ได้

ทั้งนี้ทั้งนั้น ตนเห็นว่าควรจะต้องมีการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนเห็นถึงความสำคัญของร่างกฎหมายฉบับนี้ และไม่ได้เป็นการช่วยเหลือผู้กระทำผิด เนื่องจากคนมักจะหยิบโยงไปเกี่ยวข้องกับเรื่องทางการเมืองว่า จะไปช่วยคนนั้นคนนี้เป็นพิเศษ หรือยกเว้นความผิด

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'โบว์ ณัฏฐา' ไขคำตอบ ทำไมคดี 112 ควรขอพระราชทานอภัยโทษ มากกว่านิรโทษกรรม

น.ส.ณัฏฐา มหัทธนา หรือ โบว์ พิธีกรรายการวิเคราะห์ข่าว และนักกิจกรรมเพื่อสิทธิมนุษยชน โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า ถาม: ทำไมคดี 112 จึงควรใช้ช่องทางการขอพระราชทานอภัยโทษ มากกว่านิรโทษกรรม?

'หมออ๋อง' พริ้ว! ไม่เคยพูดประชาชนเป็นไอโอ โหวตคว่ำนิรโทษคดี 112 อ้างเว็บไซต์ไม่สมบูรณ์

กลุ่มภาคีราชภักดี เดินทางมายื่นหนังสือ ต่อนายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาคนที่หนึ่ง เพื่อยืนยันตนเองว่า ในการดำเนินการรับฟังความคิดเห็นร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) นิรโทษกรรมประชาชน พ.ศ.

สำนักเลขาฯสภา แจงผลสอบโหวตคว่ำ ร่างพ.ร.บ.นิรโทษกรรมรวมคดี112

ว่าที่ร.ต.ยุทธนา สำเภาเงิน รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ในฐานะโฆษกประจำสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ชี้แจงผลการตรวสอบปัญหาการดำเนินการรับฟังความคิดเห็นร่างพ.ร.บ.นิรโทษกรรมประชาชน พ.ศ. ....ฉ

'อ๋องหมูทะ' ไม่ติดขัด ท้าล่าชื่อถอดพ้นรองประธานสภาฯ เชื่อไอโอโหวตคว่ำนิรโทษคดี 112

นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่ 1 ให้สัมภาษณ์ถึงความคืบหน้าในการตรวจสอบ IP Address กรณีการแสดงความคิดเห็นร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) นิรโทษกรรม