ศาลปกครองสูงสุด พิพากษายัน รฟม.ดำเนินการประมูลโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์ – มีนบุรี ครั้งที่ 2 ชอบด้วยกฎหมายแล้ว จบมหากาพย์คดีประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้ม
12 มิ.ย.2567 - เวลา 13.15 น. ศาลปกครองสูงสุดอ่านคำพิพากษายืนตามศาลปกครองกลางพิพากษายกฟ้องในคดี บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) (บีทีเอส) ยื่นฟ้องคณะกรรมการคัดเลือกตามมาตรา 36 แห่งพระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562 โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์ - มีนบุรี (สุวินทวงศ์) และ และ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) กรณีออกประกาศเชิญชวนการร่วมลงทุนโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์ - มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ลงวันที่ 24 พ.ค. 2565 (ครั้งที่ 2) และออกเอกสารสำหรับการคัดเลือกเอกชน โดยเปลี่ยนแปลงคุณสมบัติและหลักเกณฑ์คัดเลือกเอกชนให้แตกต่างจากหลักเกณฑ์เดิม ตามประกาศเชิญชวนฯ ฉบับเดือน ก.ค. 2563 ไม่ชอบด้วยกฎหมายเป็นให้ บีทีเอส เสียหาย
โดยศาลให้เหตุผลว่า จากการพิเคราะห์แล้วเห็นว่า ประกาศเชิญชวนการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชนโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์ - มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ลงวันที่ 24 พ.ค.2565 ได้ดำเนินการรับฟังความคิดเห็นของภาคเอกชนก่อนดำเนินการคัดเลือกเอกชนเข้าร่วมลงทุนถูกต้องตามรูปแบบ ขั้นตอน และวิธีการที่พระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562 และประกาศคณะกรรมการนโยบายการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้อง กำหนดไว้แล้ว และไม่มีเหตุผลที่จะรับฟังว่าไม่ชอบด้วยกฎหมายในลักษณะใด
อีกทั้ง มติของคณะกรรมการคัดเลือกฯ โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม และ รฟม. เมื่อวันที่ 3 ก.พ.2564 ที่เห็นชอบให้ยกเลิกประกาศเชิญชวนการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชนโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์ - มีนบุรี (สุวินทวงศ์) และการยกเลิกคัดเลือกเอกชนตามประกาศเชิญชวนฯดังกล่าว และเพิกถอนประกาศการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เรื่อง ยกเลิกประกาศเชิญชวนการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชนโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์ - มีนบุรี (สุวินทวงศ์) และการยกเลิกคัดเลือกเอกชนตามประกาศเชิญชวนฯดังกล่าว ลงวันที่ 3 ก.พ. 2564 ทั้งนี้ ให้มีผลตั้งแต่วันที่คณะกรรมการคัดเลือกฯ และ รฟม.มีประกาศดังกล่าว นั้น หรือมติของคณะกรรมการคัดเลือกฯ โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม และ รฟม. ในการประชุมแต่ละครั้ง เพื่อพิจารณากำหนดหลักเกณฑ์ คุณสมบัติ ในการคัดเลือกเอกชน เห็นชอบร่างประกาศเชิญชวน และร่างเอกสารสำหรับการคัดเลือกเอกชน เป็นเพียงขั้นตอนการเตรียมการและดำเนินการ ภายในของเจ้าหน้าที่เพื่อจัดให้มีคำสั่งทางปกครองทั่วไป คือ ประกาศเชิญชวนฉบับที่พิพาทในคดีนี้ ซึ่งไม่มีผลกระทบต่อสิทธิหรือหน้าที่ของ บีทีเอส ที่จะเป็นผู้ได้รับความเดือดร้อนหรือเสียหายจากมติของคณะกรรมการคัดเลือกฯ โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม และ รฟม. ที่เกี่ยวข้องเพื่อออกประกาศเชิญชวนที่จะมีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลปกครอง จึงพิพากษายืน เนื่องจากประกาศดังกล่าวชอบด้วยกฎหมายแล้ว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดในวันนี้ จะทำให้ รฟม.สามารถเซ็นสัญญากับ บมจ.ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ (บีอีเอ็ม) ในฐานะผู้เสนอผลตอบแทนสูงสุดให้กับภาครัฐได้ภายในปีนี้
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
มาแล้ว! ศาลปกครอง ร่อนเอกสารชี้แจงปม 'บิ๊กโจ๊ก' ยังไม่มีคำพิพากษาใดๆ
ศาลปกครอง เผยแพร่เอกสารชี้แจง กรณีที่มีสื่อมวลชนนำเสนอผลการพิจารณาคดีของศาลปกครองสูงสุด ในคดีที่พลตำรวจเอก สุรเชษฐ์ หักพาล ยื่นฟ้องขอเพิกถอนคำสั่งสำนักงานตำรวจแห่งชาติที่ให้ผู้ฟ้องคดีออกจากราชการไว้ก่อน นั้น
โปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง ขรก.ฝ่ายศาลปกครอง ให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ 3 ราย
ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีเรื่อง แต่งตั้งข้าราชการฝ่ายศาลปกครอง
ชาวบ้านเกาะเต่า ร้องผู้ตรวจฯ ชงศาลปค. เพิกถอนกฎกระทรวงห้ามออกโฉนดบนเกาะ
นายอนันต์ชัย ไชยเดช ประธานมูลนิธิทนายกองทัพธรรม พร้อมด้วยชาวบ้านเกาะเต่า อ.เกาะพะงัน จ.สุราษฎร์ธานี เข้ายื่นคำร้องต่อผู้ตรวจการแผ่นดินขอให้ตรวจสอบและมีความเห็นเสนอต่
ชาวบ่อทอง ชลบุรี เฮ!ศาลปกครองสูงสุดสั่งเพิกถอนใบอนุญาตโรงงานยางพาราแล้ว
ที่ศาลปกครองสูงสุด ถ.แจ้งวัฒนะ นายศรีสุวรรณ จรรยา นายกสมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อน เปิดเผยว่า ตามที่ชาวบ้านบ้านหนองใหญ่-ทับสูง ตำบลบ่อทอง อำเภอบ่อทอง จังหวัดชลบุรี
ผบ.ตร. ไม่ขอก้าวล่วง ศาลปกครองสูงสุด ชี้ขาด 'บิ๊กโจ๊ก' ขอคุ้มครองชั่วคราว
พล.ต.อ.กิตติรัฐ พันธุ์เพ็ชร์ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.) เปิดเผยถึงกรณีที่ศาลปกครองยกคำร้องคุ้มครองชั่วคำสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อนของ พล.ต.อ.สุรเชชษฐ์ หักพาล ว่า ตนขอให้ความเห็นแบบกว้าง ๆ
ศาลปกครองสูงสุด ปิดเงียบผลชี้ขาดคดีบิ๊กโจ๊ก สั่งเก็บหลักฐานฟันสื่อละเมิดอำนาจศาล
นายประสิทธิ์ศักดิ์ มีลาภ ประธานศาลปกครองสูงสุด เป็นประธานการประชุมใหญ่ตุลาการศาลปกครองสูงสุด