ป.ป.ช. ฟัน 'ทวีป บุตรโพธิ์' รองอธิบดี พช. รับนาฬิกาหรู ผิดวินัยร้ายแรง

6 มิ.ย.2567 - นายนิวัติไชย เกษมมงคล เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ในฐานะโฆษกสำนักงาน ป.ป.ช. แถลงถึงกรณีคณะกรรมการ ป.ป.ช. มอบหมายคณะไต่สวนเบื้องต้นเพื่อดำเนินการไต่สวนกรณีกล่าวหานายทวีป บุตรโพธิ์ เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งรองอธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน รับนาฬิกายี่ห้อ TAG HEUER ราคาประมาณ 85,500 บาท จากบุคคลอื่นซึ่งมิใช่ญาติและมีมูลค่าในการรับจากแต่ละบุคคลแต่ละโอกาสเกินสามพันบาท ว่า ข้อเท็จจริงจากการไต่สวนปรากฏว่าเมื่อวันที่ 1 ต.ค.58 ซึ่งเป็นวันที่นายทวีป เข้ารับตำแหน่งรองอธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน นายทวีป ได้รับนาฬิกายี่ห้อ TAG HEUER รุ่น WAY 2113, BA0910SERIED RZE9871 ราคาประมาณ 85,500 บาท จากบุคคลที่มาแสดงความยินดีในโอกาสเข้ารับตำแหน่งใหม่ ซึ่งเป็นการรับทรัพย์สินจากบุคคลอื่นซึ่งมิใช่ญาติและมีราคาหรือมูลค่าในการรับจากแต่ละบุคคลแต่ละโอกาสเกินสามพันบาทและหลังจากรับนาฬิกาดังกล่าวมาแล้ว ได้นำกลับไปเก็บไว้ที่บ้านของตนเองโดยมิได้แจ้งรายละเอียดข้อเท็จจริงและเหตุผลความจำเป็นในการรับทรัพย์สินไว้เป็นสิทธิของตนต่อผู้บังคับบัญชา

จนกระทั่งมีการร้องเรียนกรณีดังกล่าวมายังสำนักงาน ป.ป.ช. นายทวีป จึงได้มีหนังสือลงวันที่ 25 ก.ย.62 รายงานข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการรับทรัพย์สินต่อผู้บังคับบัญชาและส่งมอบนาฬิกาคืนให้แก่กรมการพัฒนาชุมชนซึ่งเป็นการส่งมอบคืนภายหลังได้รับทรัพย์สินดังกล่าวมาเป็นระยะเวลา 3 ปี 11 เดือน

นายนิวัติไชย กล่าวว่า คณะกรรมการ ป.ป.ช. พิจารณาแล้วมีมติว่า การกระทำของนายทวีป มีมูลความผิดทางอาญา ฐานเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดจากบุคคล นอกเหนือจากทรัพย์สินหรือประโยชน์อันควรได้ตามกฎหมาย หรือกฎ ข้อบังคับที่ออกโดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา103 ประกอบมาตรา 122ประกอบประกาศคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เรื่องหลักเกณฑ์การรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นโดยธรรมจรรยาของเจ้าหน้าที่ของรัฐ พ.ศ. 2543(ปัจจุบันเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 มาตรา 128 ประกอบมาตรา 169) และมีมูลความผิดทางวินัยอย่างร้ายแรง

ให้ส่งรายงาน สำนวนการไต่สวน เอกสารหลักฐาน สำเนาอิเล็กทรอนิกส์ และคำวินิจฉัยไปยังอัยการสูงสุด เพื่อดำเนินคดีอาญาในศาล ซึ่งมีเขตอำนาจพิจารณาพิพากษาคดี และส่งรายงาน สำนวนการไต่สวน เอกสารหลักฐาน และคำวินิจฉัยไปยังผู้บังคับบัญชา เพื่อดำเนินการทางวินัย ตามฐานความผิดดังกล่าว ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 มาตรา 91 (1) (2) และมาตรา 98 แล้วแต่กรณีต่อไป

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

แฉอีโม่ง วิ่งเต้นล้มปมชั้น 14 เตือนหยุดทำเถอะ

นายจตุพร พรหมพันธุ์ วิทยากรคณะหลอมรวมประชาชน เฟซบุ๊คไลฟ์ว่า นับตั้งแต่ต้นปี 2568 ให้จับตาดูวันที่ 15 ม.ค.ที่แพทยสภาขีดเส้นตายให้แพทย์รักษาทักษิณ ชินวัตร ชั้น 14 ส่งรายงานการรักษามาตรวจสอบการเอื้อหนีติดคุก แล้วยังต้องติดตามผลตรวจสอบของ ป.ป.ช.กรณีชั้น

'ชัยชนะ' ลั่นทักษิณไม่ผิด แต่เป็นผู้ได้รับผลของการกระทำนำตัวไปรักษาชั้น 14

นายชัยชนะ เดชเดโช สส.นครศรีธรรมราชและรองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการการตำรวจ สภาผู้แทนราษฎร ให้สัมภาษณ์ถึง กรณีที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.)

'โรม' ชี้ ป.ป.ช. ทำคดีจนท.รัฐ เอื้อ 'ทักษิณ' นอนชั้น 14 หลักฐานเยอะไม่ต้องใช้เวลานาน

นายรังสิมันต์ โรม สส.บัญชีรายชื่อ รองหัวหน้าพรรคประชาชน ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.)รับพิจารณาคดีเจ้าที่รัฐเอื้อนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เข้ารักษาตัวชั้น 14 โรงพยาบาลตำรวจ