'ชัยธวัช' บอกสังคมอย่ามองไกล นิรโทษคดี 112 ขัดรัฐธรรมนูญ มาตรา 6

“ชัยธวัช” เผยกมธ.นิรโทษกรรม ให้กรรมการกลั่นกรองพิจารณาคดี112-คดีละเอียดอ่อน ยังรอเคาะโมเดล หลังมีข้อเสนอ 2 แนวทาง บอกมีการเสนอใช้ “แอมเนสตี้โปรแกรม” นิรโทษกรรมให้กับคดีบางประเภท ไม่เฉพาะม.112

6 มิ.ย.2567 - เมื่อเวลา 10.00 น. ที่รัฐสภา นายชัยธวัช ตุลาธน สส.บัญชีรายชื่อ และหัวหน้าพรรคก้าวไกล ในฐานะกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญพิจารณาศึกษาแนวทางการตราพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) นิรโทษกรรม สภาผู้แทนราษฎร ให้สัมภาษณ์ถึงการประชุมกมธ. ในช่วงบ่ายวันนี้ (6 มิ.ย.) ว่า กมธ.ฯจะพิจารณารายงานของคณะอนุกรรมาธิการฯ ที่ศึกษาในประเด็นต่างๆ รวมถึงประเด็นข้อเสนอของคณะกรรมการกลั่นกรองคดีนิรโทษกรรม ที่มีข้อถกเถียง และความละเอียดอ่อน ทั้งนี้ในข้อเสนอขององค์ประกอบของกรรมการกลั่นกรองนั้น ขณะนี้มี 2 แนวทาง คือ แนวแรก เห็นว่ากรรมการกลั่นกรองควรมาจากสภาฯ ให้ประธานสภาฯ เป็นประธานกรรมการ และมีตัวแทนของฝ่ายค้าน ฝ่ายรัฐบาล ผู้เชี่ยวชาญ กรรมการสิทธิมนุษยชน บุคคลที่เกี่ยวข้องในกระบวนการยุติธรรม และแนวทางสอง กรรมการที่มาจากฝ่ายบริหาร ให้นายกฯหรือรมว.ยุติธรรมเป็นประธาน และมีตัวแทนจากผู้เชี่ยวชาญ ตัวแทนจากสภาร่วมมด้วย ทั้งนี้ในข้อเสนอให้มามาจากฝั่งบริหารเพื่อสะดวกต่อการใช้งบประมาณและการติดต่อประสานงานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งที่ประชุมจะพิจารณาหาข้อสรุปในเรื่องดังกล่าวเป็นหลัก

เมื่อถามถึงประเด็นที่มีการโต้แย้งในกรณีการนิรโทษกรรมมาตรา 112 ที่ขัดกับรัฐธรรมนูญ มาตรา 6 นายชัยธวัช กล่าวว่า กมธ.ไม่ได้พูดคุยเรื่องมาตรา 6 ทั้งนี้การนิรโทษกรรมมาตรา 112 นั้นเคยเกิดขึ้นมาแล้วในระบบกฎหมายไทย ทั้งนี้มีสิ่งที่เป็นประเด็นมากกว่า คือ เมื่อเกิดข้อถกเถียง จะมีข้อเสนออย่างไร เพื่อทำให้เกิดการกระบวนการยอมรับได้เรื่องนิรโทษกรรม

“มีการเสนอแอมเนสตี้โปรแกรม โครงการนิรโทษกรรมให้กับคดีบางประเภท ไม่เฉพาะ มาตรา112 เท่านั้น เพราะมีคดีอื่นๆ เช่น คดีทำผิดต่อชีวิตและร่างกาย ซึ่งปกติไม่ควรได้นิรโทษกรรม เพราะถือว่าละเมิดสิทธิมนุษยชนร้ายแรง เช่น กรณีปาระเบิดใส่กลุ่มกปปส. ที่เคยถามตัวแทนแกนนำกปปส.ว่ากรณีดังกล่าวยอมให้อภัยหรือไม่ ซึ่งเขาระบุว่ายอมให้ภัย ดังนั้นการจะได้นิรโทษกรรมอัตโนมัตินั้นไม่เหมาะสม ดังนั้นควรมีกระบวนการ อย่าคิดแต่เฉพาะ มาตรา 112 ซึ่งปฏิเสธไม่ได้ว่ามีข้อถกเถียงเยอะ แต่การนิรโทษกรรมมาตรา 112 เคยเกิดขึ้นในสังคมอย่ามองไกลว่าขัดมาตรา 6 เพราะเป็นคนละเรื่อง” นายชัยธวัช กล่าว

เมื่อถามย้ำว่า กรรมการกลั่นกรอง จะทำหน้าที่พิจารณานิรโทษกรรม คดีมาตรา 112 และคดีละเอียดอ่อนแทนกมธ.ใช่หรือไม่ นายชัยธวัช กล่าวว่า กรรมการจะเป็นองค์กรหลักพิจารณา เพราะสภาพข้อเท็จจริงที่กำหนดช่วงการนิรโทษกรรม ซึ่งกินเวลา 20 ปี มีความหลากหลายของคดีจำนวนมาก อีกทั้งความผิดบางฐาน เช่น ผิด พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ผิด พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ในรายละเอียดไม่มีเฉพาะเรื่องการเมืองเท่านั้น จึงต้องมีกรรมการกลั่นกรองเรื่องว่าเรื่องใดเกี่ยวกับการเมืองหรือไม่ ทั้งนี้กลไกของกรรมการต้องทำงานให้มีประสิทธิภาพ โปร่งใส ตรวจสอบได้

เมื่อถามว่าการศึกษาของกมธ. ในตอนท้ายสังคมจะยอมรับได้ใช่หรือไม่ นายชัยธวัช กล่าวว่า ต้องรอดูข้อสรุปว่าเป็นอย่างไร ทั้งนี้เป็นความพยายามแสวงหาความเห็นร่วมในสภาฯ ที่มาจากหลายพรรคการเมือง ทั้งนี้ในกระบวนการแอมเนสตี้โปรแกรม ที่อนุกรรมการเสนอ มีรายละเอียด เช่น กระบวนการยอมรับผิด เปิดเผยข้อเท็จจริง รวมถึงการฝ่าฝืนจะถูกยกเลิกสิทธินิรโทษกรรม เป็นต้น ซึ่งกมธ.ชุดใหญ่จะพิจารณาสรุปในรายละเอียดอีกครั้ง

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'พิธา' ปลื้มผลโพลนิด้า 'ก้าวไกล' เนื้อหอมสุด

'พิธา' ยกความดีความชอบให้ทุกคนในพรรค หลังผลโพลนิด้า 'ก้าวไกล' เนื้อหอมสุด พร้อมให้กำลังใจ 'นายกฯเศรษฐา' ได้คะแนนที่สาม บอกถ้าเป็นตัวเองคงไม่เสียกำลังใจ-ตั้งหน้าพิสูจน์ตัวเองอย่างหนัก

'โบว์' ชำแหละส้ม! ฮั้วไม่สำเร็จ ชี้นิ้วใส่คนอื่นเฉยเลย

น.ส.ณัฏฐา มหัทธนา หรือ โบว์ พิธีกรรายการวิเคราะห์ข่าว และนักกิจกรรมเพื่อสิทธิมนุษยชน โพสต์เฟซบุ๊กว่า เพิ่งรู้ตัวว่าแฉจนถูกเขา

ก๊วนหมิ่นสถาบัน โผล่สภาฯ ชงล้างผิดคดี 112 อ้างเฉยมีเหตุจูงใจการเมือง เห็นต่างคณะรัฐประหาร

"แก๊งหมิ่นสถาบัน" ยื่น "ชัยธวัช" ขอนิรโทษกรรมรวม 112 เพื่อฉลองวันมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 6 รอบ มองเป็นประโยชน์เดินหน้าก้าวข้ามความขัดแย้ง ด้านเจ้าตัว ชี้กำลังพิจารณาในเรื่องของอำนาจหน้าที่

หัวหน้าก้าวไกล พูดเต็มปาก สว.ส่วนใหญ่เอี่ยวนักการเมือง แต่ยังไม่แน่ชัดใครฝ่ายประชาธิปไตย

นายชัยธวัช ตุลาธน สส.บัญชีรายชื่อ และหัวหน้าพรรคก้าวไกล กล่าวถึงรายชื่อ 200 สว. หลังจากการเลือกระดับประเทศวานนี้ (26 มิ.ย.) ว่า จากที่ติดตามมีข้อสังเกตว่าสว.ส่วนใหญ่อาจจะเข้าไปเชื่อมโยงกับนักการเมือง