06 มิ.ย.2567 - ศูนย์สำรวจความคิดเห็นนิด้าโพล สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (สำนักงาน ป.ป.ส.) เปิดเผยผลการสำรวจของประชาชน เรื่อง “การทำงานด้านยาเสพติดของรัฐบาล ในรอบ 6 เดือน” ซึ่งสำรวจระหว่างวันที่ 5-29 เมษายน 2567 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป ที่พักอาศัยอยู่ในพื้นที่สำนักงาน ป.ป.ส. ภาค 1-9 และสำนักงาน ป.ป.ส. กรุงเทพมหานคร เกี่ยวกับการทำงานด้านยาเสพติดของรัฐบาล ในรอบ 6 เดือน
โดยการสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่างโดยใช้ความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของนิด้าโพล สุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่น ร้อยละ 97.0
จากการสำรวจเมื่อถามถึงสถานการณ์ปัญหายาเสพติดในชุมชนจากการทำงานด้านยาเสพติดของรัฐบาล พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 44.93 ระบุว่า เพิ่มขึ้น รองลงมา ร้อยละ 41.50 ระบุว่า เหมือนเดิม ร้อยละ 12.65 ระบุว่า ลดลง และร้อยละ 0.92 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ
ด้านความเชื่อมั่นของประชาชนต่อการทำงานด้านยาเสพติดของหน่วยงานราชการ พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 46.75 ระบุว่า เชื่อมั่น รองลงมา ร้อยละ 36.79 ระบุว่า เชื่อมั่นน้อย ร้อยละ 15.74 ระบุว่า ไม่เชื่อมั่น และร้อยละ 0.72 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ
สำหรับความพึงพอใจของประชาชนต่อการทำงานด้านยาเสพติดของรัฐบาล พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 51.46 ระบุว่า พึงพอใจ รองลงมา ร้อยละ 32.89 ระบุว่า พึงพอใจน้อย ร้อยละ 15.19 ระบุว่า ไม่พึงพอใจ และร้อยละ 0.46 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ
ท้ายที่สุดเมื่อถามถึงข้อเสนอแนะในการดำเนินงานป้องกัน ปราบปราม และแก้ไขปัญหายาเสพติด พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 41.43 ระบุว่า หน่วยงานทุกภาคส่วน ควรมีส่วนร่วมในการปราบปรามยาเสพติดอย่างจริงจรัง รองลงมา ร้อยละ 24.28 ระบุว่า แก้ไขกฎหมายเรื่องการครอบครองยาเสพติด เช่น ยกเลิกนโยบายถือครองยาบ้า 5 เม็ด และกำหนดการใช้หรือจำหน่ายพืชกระท่อมและกัญชาให้ใช้ทางการแพทย์เท่านั้น ร้อยละ 9.64 ระบุว่า เพิ่มบทลงโทษหรือมาตรการลงโทษผู้ที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติดขั้นเด็ดขาด ร้อยละ 6.83 ระบุว่า จัดกิจกรรมเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับยาเสพติดให้กับเด็ก เยาวชนและคนในชุมชน เพื่อป้องกันการเกิดผู้เสพรายใหม่ ร้อยละ 5.61 ระบุว่า บังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มงวดและจริงจังร้อยละ 5.24 ระบุว่า หน่วยงานหรือเจ้าหน้าที่ควรเข้ามาช่วยดูแลสอดส่อง ตั้งจุดตรวจหรือจุดสกัดเพื่อเฝ้าระวังในชุมชน/หมู่บ้าน ร้อยละ 2.81 ระบุว่า หน่วยงานหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐปฏิบัติหน้าที่อย่างตรงไปตรงมา โปร่งใส สามารถตรวจสอบได้ ร้อยละ 1.82 ระบุว่า มีสถานที่บำบัดแบบครบวงจรและมีการสร้างอาชีพหรืองานรองรับผู้ที่ผ่านการบำบัดมาแล้ว เพื่อที่จะไม่กลับไปยุ่ง
กับยาเสพติดอีก และร้อยละ 2.34 ระบุอื่น ๆ
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
โพลชี้ ปี 67 คนเหนื่อยหน่าย ‘รายได้ต่ำ-เศรษฐกิจตก’
ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ หรือ นิด้า เปิดเผยผลการสำรวจ ของประชาชน เรื่อง “เหนื่อยหน่ายกับอะไรบ้าง ในปี 2567 ที่ผ่านมา”
'ดร.อานนท์' ยกนิ้วชม 'ลุงป้อม' สมกับเป็นทหาร!
ผศ.ดร.อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์ สาขาวิชาสถิติศาสตร์ สาขาวิชาพลเมืองวิทยาการข้อมูล
คน กทม. เกินครึ่งไม่เห็นด้วยมาตรการเก็บค่าธรรมเนียมรถติด
นย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลการสำรวจ ของประชาชน เรื่อง “สองมาตรการใหม่ คน กทม. จะเอาไง” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 27-29 พฤศจิกายน 2567 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร กระจายระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ รวมจำนวนทั้งสิ้น 1,310 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับความคิดเห็นของคนกรุงเทพมหานคร หากมีการใช้มาตรการจัดเก็บค่าธรรมเนียมการเก็บขยะและค่าธรรมเนียมรถติด
ผลโพลสูสี คนอยากแก้ กับ ไม่อยากแก้ 'รธน.' มีใกล้เคียงกัน
ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลการสำรวจของประชาชน เรื่อง “ประชามติและการแก้ไขรัฐธรรมนูญ” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 2-3 ธันวาคม 2567 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ ทั่วประเทศ
‘เทพไท’ สะท้อนประสบการณ์ตรง ‘ยุบพรรค-ตัดสิทธิ์การเมือง’ ทำได้แค่ไหน
ในฐานะผู้มีประสบการณ์ตรง และถูกศาลอาญาพิพากษาตัดสิทธิ์ทางการเมือง 10 ปี จนถูกคณะกรรมการเลือกตั้ง(กกต.) ห้ามใช้สิทธิ์ลงคะแนนเลือกตั้งในทุกกรณี
'นิด้าโพล' ชี้ประชาชน กว่า 61% ไม่เห็นด้วยกับโทษยุบพรรค ในคดีล้มล้างการปกครอง
ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลการสำรวจของประชาชน เรื่อง “ยุบพรรค ตัดสิทธิทางการเมือง” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 25-26 พฤศจิกายน 2567 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ ทั่วประเทศ