อัด 'ชัชชาติ' ถนัดงานโยธายังสอบตก แล้วงานสร้างแบรนด์จะเหลืออะไร!

31 พ.ค 2567 - นายอัษฎางค์ ยมนาค โพสต์ในเฟซบุ๊ก "เอ็ดดี้ อัษฎางค์ ยมนาค" วิจารณ์นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่ารากชการกรุงเทพมหานคร ว่า ชัชชาติ กับการพัฒนากรุงเทพฯ ด้วยงานโยธาที่ถนัดยังสอบตก แล้วงานสร้างแบรนด์จะเหลืออะไร!

City Identity ของเมืองต้องมีภาพลักษณ์ที่ชัดเจนและเป็นที่จดจำที่สามารถสื่อสารคุณค่าและวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์ของตนเองได้อย่างชัดเจนและน่าสนใจ

อัตลักษณ์ที่ชัดเจนของเมืองในการทำ City Branding คือการกำหนดและสื่อสารถึงลักษณะเด่นเฉพาะตัวของเมืองที่ทำให้เมืองนั้นแตกต่างจากเมืองอื่นๆ และสร้างความจำจดให้กับผู้คน

การสร้างภาพลักษณ์ที่ชัดเจนและน่าจดจำจะช่วยให้เมืองดึงดูดนักท่องเที่ยว นักลงทุน และผู้คนที่สนใจมาเยี่ยมชมและใช้บริการต่าง ๆ ในเมือง ซึ่งส่งผลดีต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของเมืองในระยะยาว

City Identity ของกรุงเทพฯ คืออะไร

อัตลักษณ์ของกรุงเทพฯ ที่ทำให้เมืองนี้มีความโดดเด่นและน่าจดจำในระดับโลก ประกอบด้วยลักษณะและจุดเด่นดังนี้:

• วัดและศาสนสถานที่งดงาม
• อาหารและสตรีทฟู้ด
• วิถีชีวิตและความหลากหลายทางวัฒนธรรม
• ศูนย์กลางการช็อปปิ้ง
• สถานบันเทิงและชีวิตกลางคืน
• การเดินทางทางน้ำและคลอง
• สถาปัตยกรรมสมัยใหม่และดั้งเดิม
• การต้อนรับและความเป็นมิตรของคนท้องถิ่น

การสื่อสารและโปรโมทกรุงเทพฯ โดยเน้นที่อัตลักษณ์เหล่านี้ จะช่วยสร้างภาพลักษณ์ที่แข็งแกร่งและดึงดูดนักท่องเที่ยวและนักลงทุนจากทั่วโลก

ดังนั้น โลโก้ กรุงเทพฯ สำหรับการสร้างอัตลักษณ์เมือง (City Identity) ควรสะท้อนถึงความเป็นเอกลักษณ์ของเมืองที่ได้กล่าวถึงไปข้างต้น

เช่น ตัวอักษร การใช้ฟอนต์ที่มีความเป็นไทยผสมผสานกับความทันสมัย จะช่วยเน้นความเป็นเอกลักษณ์ของกรุงเทพฯ มีองค์ประกอบทางวัฒนธรรม เช่น ลวดลายที่สะท้อนถึงศิลปะไทย เช่น ลายไทย ลายกนก ฯลฯ ใช้ฟอนต์ที่มีความเป็นเอกลักษณ์ไทย แต่ยังคงความเรียบง่ายและทันสมัย ตัวอักษร "Bangkok" ใช้ฟอนต์ที่ผสมผสานระหว่างความเป็นไทยและความทันสมัย
……………………………………………………
ย้อนกลับไปศึกษาความสำเร็จของ อภิรักษ์ โกษะโยธิน

อดีตผู้ว่าฯ กทม. ผู้สร้างแบรนด์ดิ้งกรุงเทพฯ ที่อยู่ยั้งยืนยงมากกว่าที่หลายคนคาด ด้วยหลักฐานทางประวัติศาสตร์เดียวที่หลงเหลือเหนือหัวพวกเราบนท้องถนนมาจนถูกถอดออกไปโดยผู้ว่าฯ ชัชชาติคนปัจจุบัน

แคมเปญของอดีตผู้ว่าฯอภิรักษ์ คือ “กรุงเทพฯ…ชีวิตดี ๆ ที่ลงตัว“ (Bangkok…City of Life) เปิดตัวที่ศูนย์การค้าสยามพารากอน เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2549

ด้วย Branding ที่ใช้ในการสื่อสารแคมเปญผ่านโลโก้ที่เป็นไอค่อนรูปร่างตัดทอนจาก ‘ลายประจำยาม’ ซึ่งเป็นลายไทยประเภทหนึ่ง ที่มีรูปร่างสี่เหลี่ยมจัตุรัสตะแคง ลักษณะคล้ายดอกไม้ ซึ่งดัดแปลงมาจากดอกไม้ชนิดหนึ่งที่เรียกว่า ‘ดอกสี่ทิศ’ ความสำคัญของลายไทยลายนี้คือเป็นลายแม่แบบหลักของศิลปะไทย

ตัวโลโก้ประกอบไปด้วย 4 สี บนกลีบดอกไม้ทั้ง 4 กลีบ ที่มีจุดร่วมตรงกลาง แสดงความเป็นดุลยภาพ สื่อถึงความสมดุลในการเติบโต และสื่อถึงการก้าวไปสู่เป้าหมายหลักพร้อม ๆ กัน

ไอคอนนี้ถูกใช้ประกอบกับคำว่า “Bangkok City of Life”
………………………………………………
อภิรักษ์ โกษะโยธิน อดีตผู้ว่าฯ กทม. ผู้สร้างตำนาน Bangkok Brand ซึ่งเป็น City Branding หรือ Citi Identity ที่ประสบความสำเร็จ

เรียนจบ MBA การตลาดที่ นิด้า และประกาศนียบัตรชั้นสูงทางการบริหาร จากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด มีประสบการณ์และประสบความสำเร็จอย่างสูงจากสายงานการโฆษณาและการตลาด

จึงไม่มีอะไรน่าแปลกใจกับความสำเร็จของการทำ CI หรือ City Identity ของกรุงเทพฯ ที่ทำให้ตัวอักษรโลโก้คำว่า Bangkok เป็นจุดดึงดูดนักท่องเที่ยวทั่วโลก รวมไปถึงคนไทยด้วยกันเอง ใช้เป็นจุดถ่ายภาพเพื่อเผยแพร่อย่างแพร่หลายไปทั่วโลกตลอดเวลาเกือบ 2 ทศวรรษ

จนเป็นภาพจำที่ใครมาลบก็ต้องพบกับการเปรียบเทียบ ยิ่งทำได้ไม่ดีกว่าเก่าหรือดีเท่าเก่า ยิ่งทำให้ถูกเปรียบเทียบและวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนัก เหมือนอย่างที่ผู้ว่าฯ ชัชชาติ โดนอยู่ในขณะนี้
……………………………………………………
ผู้ว่าฯ ชัชชาติ สิทธิพันธุ์

ผู้ซึ่งมีแบล็คกราวเป็นวิศวกรโยธา

แต่งานโยธาที่ครอบคลุมถึงการพัฒนาและปรับปรุงกรุงเทพฯ ให้เป็นเมืองที่น่าอยู่อาศัย มีโครงสร้างพื้นฐานที่เพียงพอและปลอดภัย รวมถึงสามารถรองรับการเติบโตของประชากรและการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและเศรษฐกิจในอนาคต

เช่น การออกแบบ ก่อสร้าง และบำรุงรักษาโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ ที่จำเป็นสำหรับการทำงานและชีวิตประจำวันของประชาชนในเมืองใหญ่ เพื่อส่งเสริมการเดินทางที่มีประสิทธิภาพ

โดยเฉพาะเรื่องมลพิษ, การจัดการน้ำและระบบจัดการน้ำท่วม

แต่ดูเหมือนผู้ว่าฯ ชัชชาติ วิศวกรโยธาระดับรองศาสตราจารย์ด้านวิศวกรรมโยธา ยังสอบตก โดยไม่สามารถสร้างผลงานโดดเด่นใดๆ ชัดเจน

แล้วงานโฆษณาประชาสัมพันธ์ ด้วย City Identity จะเหลืออะไรให้ไม่โดนเปรียบเทียบและวิพากษ์วิจารณ์ยับเยิน
……………………

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คน กทม. เกินครึ่งไม่เห็นด้วยมาตรการเก็บค่าธรรมเนียมรถติด

นย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลการสำรวจ ของประชาชน เรื่อง “สองมาตรการใหม่ คน กทม. จะเอาไง” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 27-29 พฤศจิกายน 2567 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร กระจายระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ รวมจำนวนทั้งสิ้น 1,310 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับความคิดเห็นของคนกรุงเทพมหานคร หากมีการใช้มาตรการจัดเก็บค่าธรรมเนียมการเก็บขยะและค่าธรรมเนียมรถติด