31พ.ค.2567- นายอัษฎางค์ ยมนาค หรือ เอ็ดดี้ นักวิชาการอิสระ โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊กถึงเรื่องสติกเกอร์“กรุงเทพฯ Bangkok” ที่ติดอยู่บริเวณบนคานรถไฟฟ้า BTS เพื่อสร้าง City Branding หรือ Citi Identity ว่า
ชัชชาติ กับการพัฒนากรุงเทพฯ ด้วยงานโยธาที่ถนัดยังสอบตก แล้วงานสร้างแบรนด์จะเหลืออะไร!
City Identity ของเมืองต้องมีภาพลักษณ์ที่ชัดเจนและเป็นที่จดจำที่สามารถสื่อสารคุณค่าและวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์ของตนเองได้อย่างชัดเจนและน่าสนใจ
อัตลักษณ์ที่ชัดเจนของเมืองในการทำ City Branding คือการกำหนดและสื่อสารถึงลักษณะเด่นเฉพาะตัวของเมืองที่ทำให้เมืองนั้นแตกต่างจากเมืองอื่นๆ และสร้างความจำจดให้กับผู้คน
การสร้างภาพลักษณ์ที่ชัดเจนและน่าจดจำจะช่วยให้เมืองดึงดูดนักท่องเที่ยว นักลงทุน และผู้คนที่สนใจมาเยี่ยมชมและใช้บริการต่าง ๆ ในเมือง ซึ่งส่งผลดีต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของเมืองในระยะยาว
City Identity ของกรุงเทพฯ คืออะไร
อัตลักษณ์ของกรุงเทพฯ ที่ทำให้เมืองนี้มีความโดดเด่นและน่าจดจำในระดับโลก ประกอบด้วยลักษณะและจุดเด่นดังนี้:
• วัดและศาสนสถานที่งดงาม
• อาหารและสตรีทฟู้ด
• วิถีชีวิตและความหลากหลายทางวัฒนธรรม
• ศูนย์กลางการช็อปปิ้ง
• สถานบันเทิงและชีวิตกลางคืน
• การเดินทางทางน้ำและคลอง
• สถาปัตยกรรมสมัยใหม่และดั้งเดิม
• การต้อนรับและความเป็นมิตรของคนท้องถิ่น
การสื่อสารและโปรโมทกรุงเทพฯ โดยเน้นที่อัตลักษณ์เหล่านี้ จะช่วยสร้างภาพลักษณ์ที่แข็งแกร่งและดึงดูดนักท่องเที่ยวและนักลงทุนจากทั่วโลก
ดังนั้น โลโก้ กรุงเทพฯ สำหรับการสร้างอัตลักษณ์เมือง (City Identity) ควรสะท้อนถึงความเป็นเอกลักษณ์ของเมืองที่ได้กล่าวถึงไปข้างต้น
เช่น ตัวอักษร การใช้ฟอนต์ที่มีความเป็นไทยผสมผสานกับความทันสมัย จะช่วยเน้นความเป็นเอกลักษณ์ของกรุงเทพฯ มีองค์ประกอบทางวัฒนธรรม เช่น ลวดลายที่สะท้อนถึงศิลปะไทย เช่น ลายไทย ลายกนก ฯลฯ ใช้ฟอนต์ที่มีความเป็นเอกลักษณ์ไทย แต่ยังคงความเรียบง่ายและทันสมัย ตัวอักษร "Bangkok" ใช้ฟอนต์ที่ผสมผสานระหว่างความเป็นไทยและความทันสมัย
…………………………………………………………………………
ย้อนกลับไปศึกษาความสำเร็จของ อภิรักษ์ โกษะโยธิน
อดีตผู้ว่าฯ กทม. ผู้สร้างแบรนด์ดิ้งกรุงเทพฯ ที่อยู่ยั้งยืนยงมากกว่าที่หลายคนคาด ด้วยหลักฐานทางประวัติศาสตร์เดียวที่หลงเหลือเหนือหัวพวกเราบนท้องถนนมาจนถูกถอดออกไปโดยผู้ว่าฯ ชัชชาติคนปัจจุบัน
แคมเปญของอดีตผู้ว่าฯอภิรักษ์ คือ “กรุงเทพฯ…ชีวิตดี ๆ ที่ลงตัว“ (Bangkok…City of Life) เปิดตัวที่ศูนย์การค้าสยามพารากอน เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2549
ด้วย Branding ที่ใช้ในการสื่อสารแคมเปญผ่านโลโก้ที่เป็นไอค่อนรูปร่างตัดทอนจาก ‘ลายประจำยาม’ ซึ่งเป็นลายไทยประเภทหนึ่ง ที่มีรูปร่างสี่เหลี่ยมจัตุรัสตะแคง ลักษณะคล้ายดอกไม้ ซึ่งดัดแปลงมาจากดอกไม้ชนิดหนึ่งที่เรียกว่า ‘ดอกสี่ทิศ’ ความสำคัญของลายไทยลายนี้คือเป็นลายแม่แบบหลักของศิลปะไทย
ตัวโลโก้ประกอบไปด้วย 4 สี บนกลีบดอกไม้ทั้ง 4 กลีบ ที่มีจุดร่วมตรงกลาง แสดงความเป็นดุลยภาพ สื่อถึงความสมดุลในการเติบโต และสื่อถึงการก้าวไปสู่เป้าหมายหลักพร้อม ๆ กัน
ไอคอนนี้ถูกใช้ประกอบกับคำว่า “Bangkok City of Life”
…………………………………………………………………………
อภิรักษ์ โกษะโยธิน อดีตผู้ว่าฯ กทม. ผู้สร้างตำนาน Bangkok Brand ซึ่งเป็น City Branding หรือ Citi Identity ที่ประสบความสำเร็จ
เรียนจบ MBA การตลาดที่ นิด้า และประกาศนียบัตรชั้นสูงทางการบริหาร จากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด มีประสบการณ์และประสบความสำเร็จอย่างสูงจากสายงานการโฆษณาและการตลาด
จึงไม่มีอะไรน่าแปลกใจกับความสำเร็จของการทำ CI หรือ City Identity ของกรุงเทพฯ ที่ทำให้ตัวอักษรโลโก้คำว่า Bangkok เป็นจุดดึงดูดนักท่องเที่ยวทั่วโลก รวมไปถึงคนไทยด้วยกันเอง ใช้เป็นจุดถ่ายภาพเพื่อเผยแพร่อย่างแพร่หลายไปทั่วโลกตลอดเวลาเกือบ 2 ทศวรรษ
จนเป็นภาพจำที่ใครมาลบก็ต้องพบกับการเปรียบเทียบ ยิ่งทำได้ไม่ดีกว่าเก่าหรือดีเท่าเก่า ยิ่งทำให้ถูกเปรียบเทียบและวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนัก เหมือนอย่างที่ผู้ว่าฯ ชัชชาติ โดนอยู่ในขณะนี้
…………………………………………………………………………
ผู้ว่าฯ ชัชชาติ สิทธิพันธุ์
ผู้ซึ่งมีแบล็คกราวเป็นวิศวกรโยธา
แต่งานโยธาที่ครอบคลุมถึงการพัฒนาและปรับปรุงกรุงเทพฯ ให้เป็นเมืองที่น่าอยู่อาศัย มีโครงสร้างพื้นฐานที่เพียงพอและปลอดภัย รวมถึงสามารถรองรับการเติบโตของประชากรและการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและเศรษฐกิจในอนาคต
เช่น การออกแบบ ก่อสร้าง และบำรุงรักษาโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ ที่จำเป็นสำหรับการทำงานและชีวิตประจำวันของประชาชนในเมืองใหญ่ เพื่อส่งเสริมการเดินทางที่มีประสิทธิภาพ
โดยเฉพาะเรื่องมลพิษ, การจัดการน้ำและระบบจัดการน้ำท่วม
แต่ดูเหมือนผู้ว่าฯ ชัชชาติ วิศวกรโยธาระดับรองศาสตราจารย์ด้านวิศวกรรมโยธา ยังสอบตก โดยไม่สามารถสร้างผลงานโดดเด่นใดๆ ชัดเจน
แล้วงานโฆษณาประชาสัมพันธ์ ด้วย City Identity จะเหลืออะไรให้ไม่โดนเปรียบเทียบและวิพากษ์วิจารณ์ยับเยิน
…………………………………………………………………………
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
‘อัษฎางค์’ ถาม ทำไมพรรคเพื่อไทย ใช้เด็กฝึกงานมาเป็นผู้นำประเทศ
การใช้ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เช่น iPad ในการเจรจาทางการทูต ไม่ได้แสดงถึงความทันสมัยและการเปิดรับเทคโนโลยี แต่เป็นภาพลักษณ์ที่อาจถูกตีความในเชิงลบ
คนกรุงเลิกกลุ้มไม่ท่วม เคลียร์เชียงรายจบต.ค.
"นายกฯ อิ๊งค์" ตรวจเข้มสถานการณ์น้ำ ยันคนกรุงไม่ต้องกลุ้มใจ
'ชัชชาติ' ดันศูนย์ BKK Food Bank ครบ 50 เขต แบ่งปันอาหาร 2 ล้านมื้อถึงกลุ่มเปราะบาง
นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เป็นประธานในพิธีเปิดธนาคารอาหาร หรือศูนย์ BKK Food Bank แห่งที่ 50 โดยมี นายพรพรหม วิกิตเศรษฐ์ ที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและผู้บริหารด้านความยั่งยืนของกรุงเทพมหานคร นางสาวมธุรส เบนท์ สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร เขตสะพานสูง ผู้บริหารกรุงเทพมหานคร สำนักพัฒนาสังคม สำนักงานเขตสะพานสูง
นายกฯ ตรวจศูนย์ป้องกันน้ำท่วม กทม. เล็งลงพื้นที่ชุมชนเปราะบาง ยันไปตรวจสอบไม่ใช่จับผิด
นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมเตรียมความพร้อมการป้องกันและรับมือน้ำท่วม โดยนายกรัฐมนตรี กล่าวมอบนโยบายตอนหนึ่งว่า จริงๆแล้ววันนี้มาให้กำลังใจ เพราะเข้าสู่ฤดูฝนแล้ว และหน้าฝนปีนี้มาเร็ว
ชัชชาติ ลุยกินเมนูปลาหมอคางดำ แนะคนกรุงจับมาทำอาหาร สั่งห้ามเลี้ยง
นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ไลฟ์ผ่านเพจเฟซบุ๊ก โดยเขียนแคปชั่นระบุว่า “เมนู ปลาหมอคางดำ” เผยภาพครัวที่กำลังทำอาหารเมนูปลาหมอคางดำ
นายกฯ ควงผู้ว่าฯกทม. ตรวจคลองโอ่งอ่าง ชุมชนวอนช่วยกระตุ้นท่องเที่ยวให้คึกคักอีกครั้ง
นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี พร้อมคณะ อาทิ นายจักรพงษ์ แสงมณี รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร นายวิศณุ ทรัพย์สมพล รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร นางวันทนีย์ วัฒนะ