'ปารีณา' แนะ 'ทักษิณ' ควรไปฟังคำสั่งอัยการคดี ม.112 เลี่ยงถูกสังคมตั้งข้อครหา

30 พ.ค.2567 - ที่ศาลฎีกา สนามหลวง น.ส.ปารีณา ไกรคุปต์ อดีต สส.ราชบุรี พรรคพลังประชารัฐ กล่าวถึงกรณีที่อัยการสูงสุดมีคำสั่งฟ้องนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ในความผิดมาตรา 112 ว่า คดีมาตรา 112 เป็นคดีที่ตีความยาก ดังนั้นอัยการสูงสุดเป็นผู้เดียวที่จะสามารถสั่งฟ้องได้ ถือเป็นคดีละเอียดอ่อน ซึ่งนายทักษิณ สามารถไปสู้คดีต่อได้ในชั้นศาล โดยหากเทียบเคียงกับคดีของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา อดีตนายกรัฐมนตรี ที่เคยดำเนินคดีกับนายจตุพร พรหมพันธ์ุ วิทยากรคณะหลอมรวมประชาชน ซึ่งอัยการสูงสุดก็มีคำสั่งฟ้องเช่นเดียวกัน แต่มีการยกฟ้องในชั้นศาล ซึ่งในเรื่องดังกล่าวนี้ตนได้เห็นรายละเอียดเล็กน้อย ไม่ครบถ้วน และตนไม่ได้มีความรู้ในเรื่องกฎหมายมากเท่าไหร่

ดังนั้นจึงอยากให้นายทักษิณ เข้าสู่กระบวนการยุติธรรม พร้อมกับอยากให้ไปรับทราบคำสั่งอัยการสูงสุด ซึ่งตนเชื่อมั่นว่าศาลจะให้ความยุติธรรม เช่นเดียวกันกับที่ได้ให้ความยุติธรรมกับตนเอง แต่การไม่ไปรับทราบคำสั่งอัยการจะทำให้สังคมตั้งคำถาม และจะถูกต่อว่า

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'ทักษิณ' หลุดปาก 'ยิ่งลักษณ์' จะกลับบ้าน แสดงถึงอาการร้อนรนในสถานการณ์ 22 พ.ย.

'จตุพร' แทงสวน อสส.ส่งความเห็นหลังปล่อยอำนาจหลุดมือ เชื่อ 22 พ.ย. ศาลรธน. มติเอกฉันท์ รับคำร้อง โต้สีอื่นไม่เคยตกใส่เสื้อแดง มีแต่สีคนตระบัดสัตย์ไม่ซื่อตรงปชช. ชี้ 'ทักษิณ' หลุดปาก 'ยิ่งลักษณ์' จะกลับบ้าน แสดงถึงอาการร้อนรนในสถานการณ์ เตือนหลายฝ่ายทนไม่ไหว คดีทุจริตไม่ติดคุกสักวัน หวั่นเหตุการณ์ซ้ำรอย

เข้าทาง! ผู้ร้องคดี 'ทักษิณ-เพื่อไทย' ล้มล้างการปกครอง ฟันธงศาลรธน. รับคำร้องแน่นอน

จากกรณีที่มีข่าวว่านายไพรัช พรสมบูรณ์ศิริ อัยการสูงสุด ได้ส่งหนังสือความเห็นถึงศาลรธน.ในคำร้องคดีที่นายธีรยุทธ สุวรรณเกษร ร้องว่า นายทักษิณ ชินวัตร ผู้ถูกร้องที่หนึ่งและพรรคเพื่อไทย ผู้ถูกร้องที่สอง

ตามคาด! อสส.ไม่รับดำเนินการคดี 'ทักษิณ-เพื่อไทย' ล้มล้างการปกครอง

อัยการสูงสุดไม่รับดำเนินการคดีทักษิณ-เพื่อไทย ล้มล้างการปกครอง ส่งความเห็นไปยังศาลรัฐธรรมนูญเเล้วพร้อมผลการสอบถ้อ

'อสส.' ตอบความคืบหน้าคดี ทักษิณ-เพื่อไทย ล้มล้างปกครองฯ ต่อศาลรธน.เเล้ว

รายงานข่าวจากสำนักงานอัยการสูงสุด ความคืบหน้ากรณี เมื่อวันที่ 22 ต.ค.2567 สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญมีเผยแพร่เอกสาร การพิจารณาคำร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา